:::

ชีพจรเศรษฐกิจ วันพฤหัสบดีที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖

  • 23 February, 2023
ชีพจรเศรษฐกิจ
ไต้หวัน-ไทย ลงนามบันทึกความเข้าใจกระชับร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างกัน ดันจำนวนนักท่องเที่ยวทุบสถิติหลังโควิด
ชีพจรเศรษฐกิจ
ชีพจรเศรษฐกิจ
ชีพจรเศรษฐกิจ
พิธีต้อนรับเทพเจ้าแห่งความผาสุกหรือ 迎王平安祭典 ที่ยิ่งใหญ่และมีชื่อเสียงไปทั่วโลกของเมืองผิงตง ไต้หวัน

๑. ไต้หวัน-ไทย กระชับร่วมมือด้านการท่องเที่ยว

          ไต้หวันกับไทยกระชับความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างกัน โดยเมื่อสุดสัปดาห์ที่แล้ว สมาคมท่องเที่ยวไต้หวันได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจกับ 2 สมาคมการท่องเที่ยวยักษ์ใหญ่ของไทย ได้แก่ สมาคมไทยบริการท่องเที่ยว หรือ TTAA และ สมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว หรือ ATTA เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างไต้หวันกับไทย 

          สมาคมการท่องเที่ยวไต้หวันเปิดเผยว่า นางเย่ จวี๋หลานนายกสมาคมฯ และนายหลินซิ่นเหยิน รองอธิบดีกรมการท่องเที่ยวไต้หวัน ได้นำผู้ประกอบการการท่องเที่ยวไต้หวัน 76 บริษัท เข้าร่วมมหกรรมการท่องเที่ยวฤดูใบไม้ผลิ 2023 ที่ไทย จำนวน 33 บูธ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของไต้หวัน 

สมาคมท่องเที่ยวไต้หวันจัดทำบันทึกความเข้าใจกับสมาคมท่องเที่ยวสำคัญของไทย 2 องค์กร 

         ทั้งนี้ สมาคมการท่องเที่ยวไต้หวันได้จัดทำบันทึกความเข้าใจกับ 2 ยักษ์ใหญ่สมาคมการท่องเที่ยวไทย ส่งเสริมการติดต่อแลกเปลี่ยนด้านการท่องเที่ยวระหว่างกัน เสริมคุณภาพการท่องเที่ยว เข้าร่วมมหกรรมการท่องเที่ยวของทั้งสองฝ่าย เพื่อเป้าหมายในการดึงดูดนักท่องเที่ยวของทั้งสองฝ่าย 

        การท่องเที่ยวไต้หวันเปิดเผยว่า ไต้หวันกับไทยมีการติดต่อแลกเปลี่ยนด้านการท่องเที่ยวอย่างใกล้ชิด โดยในปี 2019 ก่อนโควิด มีนักท่องเที่ยวของทั้งสองฝ่ายเยือนซึ่งกันและกันรวมถึง 1.25 ล้านคนครั้ง โดยนักท่องเที่ยวไทยมาเที่ยวไต้หวันรวม 413,926 คนครั้ง เป็นตลาดท่องเที่ยวในเอเชียที่เติบโตสูงสุดของไต้หวัน 

        ไต้หวันเข้าร่วมหกรรมการท่องเที่ยวฤดูใบไม้ผลิที่ไทยในครั้งนี้หลายหน่วยงาน ทั้งในส่วนของภาครัฐและภาคเอกชน อาทิ กรมบริหารอุทยานท่องเที่ยวอาลีซาน เทศบาลไถจง เทศบาลผิงตง ไชน่าแอร์ไน์ อีวีเอแอร์ สตาร์ลักซ์ และ 9 สมาคมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวของไต้หวัน บริษัทนำเที่ยวไต้หวัน 10 บริษัท โรงแรมชื่อดังไต้หวัน 4 โรงแรม สวนสนุก 1 แห่ง และผู้ประกอบการของฝากติดมือ 1 บริษัท 

         สมาคมการท่องเที่ยวไถจงเปิดเผยว่า เทศบาลไถจงได้ประชาสัมพันธ์โปรแกรมการท่องเที่ยวตามกลุ่มเป้าหมายทั้งทางด้านการท่องเที่ยวนิเวศ ดอกไม้ อาหารรสเด็ด และท่องเที่ยวแหล่งสำคัญทางประวัติศาสตร์ ส่วนอุทยานอาลีซันก็ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวชิมชา กาแฟ ชนพื้นเมือง ทางรถไฟเก่า ระบบนิเวศ และความโรแมนติกของการท่องเที่ยว ส่วนเทศบาลผิงตงก็ประชาสัมพันธ์พิธีต้อนรับเทพเจ้าแห่งความผาสุกหรือ 迎王平安祭典 ที่ยิ่งใหญ่และมีชื่อเสียงไปทั่วโลกของเมืองผิงตง ไต้หวัน ประวัติศาสตร์ และประสมประสานกับแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ๆ กับศิลปะอย่างหมู่บ้านดาวแห่งชัยชนะ หรือ  勝利星村

         สมาคมการท่องเที่ยวไต้หวันเปิดเผยอีกว่า นิตยสาร Global Travelerชื่อดังของสหรัฐฯ ได้ประกาศการมอบรางวัลแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนดีเด่นประจำปี 2022 และกรุงไทเป ของไต้หวันคว้ารางวัล “เป้าหมายแหล่งท่องเที่ยวดีที่สุดในเอเชีย” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 

๒. มนุษย์เงินเดือนไต้หวัน 12% ไม่เคยได้รับปรับเงินเดือนในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ส่วนอีก 66% ถูกลดเงินเดือนเมื่อปีที่แล้ว

           ธนาคารทรัพยากรมนุษย์ไต้หวันได้ประกาศผลการสำรวจล่าสุด พบว่า มนุษย์เงินเดือนกว่า 94% ไม่พอใจค่าตอบแทนที่ได้รับในปัจจุบัน ซึ่งสูงสุดในรอบ 10 ปี นอกจากนี้ ยังมีอีกถึง 66% บอกว่า นายจ้างใช้ข้ออ้างลดเงินเดือนของพวกตนโดยทางอ้อม และยังมีอีก 12% ที่บอกว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาไม่ได้รับการขึ้นเงินเดือนเลย

          yes123 เว็บไซต์จัดหางานชื่อดังไต้หวัน ได้รายงานผลการสำรวจที่ได้รับคืนแบบสอบถามกลับมา 1,336 ฉบับ พบว่า 94% ของมนุษย์เงินเดือน ไม่พอใจค่าตอบแทนของงานที่ทำอยู่ในปัจจุบัน ทุบสถิติในรอบ 10 ปี หากจะให้ค่าตอบแทนอยู่ในระดับที่น่าพอใจจะต้องปรับขึ้นเงินเดือนเฉลี่ยอีกเดือนละ5,831 เหรียญไต้หวัน 

          นอกจากนี้ การสำรวจดังกล่าวยังพบว่า มนุษย์เงินเดือนที่ไม่ได้รับการปรับขึ้นเงินเดือน 3 ปีขึ้นไป มีสัดส่วนสูงถึง 59% ในจำนวนนี้มีสูงถึง 12% ที่ไม่เคยได้รับการขึ้นเงินเดือนเลยนานถึง 10 ปี โดยเฉลี่ยแล้ว มนุษย์เงินเดือนถูกแช่แข็งเงินเดือนถึง 4.2 ปี สูงสุดในรอบ 10 ปีเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ ยังมีมนุษย์เงินเดือน 66% บอกว่า ปีที่แล้วยังถูกนายจ้างลดค่าจ้างโดยทางอ้อมด้วย ที่สำคัญคือ “ลดโบนัส” “ลดโอที” และ “ลดเงินปันผล”  

         คุณหยางจงปิน โฆษกเว็บไซต์จัดหางาน yes123 เห็นว่า มีบางสาขาอาชีพที่ดูเหมือนว่ารับเงินเดือนสูง อย่างอาชีพที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี การเงิน การขนส่ง แพทย์ พยาบาล แต่ผู้ทำงานประเภทเหล่านี้ต้องทำงานอย่างเหน็ดเหนื่อย ดังนั้น บางครั้งจึงไม่อาจดูเฉพาะเงินเดือนสูงหรือต่ำเท่านั้น แต่ยังต้องคำนึงถึงเวลาทำงาน และแรงกดดันในการทำงานด้วย 

        เขาแนะนำว่า หากต้องการเจรจาเรื่องเงินเดือน ขึ้นขั้นตำแหน่งงานกับนายจ้าง จะเจรจาโดยการระบายความรู้สึกอย่างเดียวไม่ได้ แต่ต้องนำผลงานการทำงานที่เห็นเป็นรูปธรรมให้นายจ้างพิจารณา โดยระบุว่า “การอาศัยเฉพาะตัวเลข KPIเพียงอย่างเดียวไม่ได้ แต่ต้องนำผลงานที่โดดเด่นแตกต่างจากเพื่อนร่วมงานของตนออกมาให้นายจ้างเห็น อย่างผลงานพิเศษ สามารถช่วยบริษัทประหยัดเงินได้เท่าไร หรือสามารถทำผลกำไรให้บริษัทได้มากน้อยแค่ไหน เป็นหลักฐานในการขอขึ้นเงินเดือนหรือเลื่อนขั้น” 

       เขาแนะนำอีกว่า การเจรจาเรื่องขึ้นเงินเดือน ต้องยึดหลัก “5G”ได้แก่ “ผลงานในหน้าที่” แสดงให้เห็นถึง “ความพยายามในการศึกษาเทคนิคใหม่ๆ” บวกกับ “ทำผลกำไรให้แก่บริษัท” และ “เลือกโอกาสที่จะเจรจากับนายจ้างที่เหมาะสม” ขณะเดียวกัน “สร้างโอกาสในการเสริมมนุษยสัมพันธ์ในที่ทำงาน” 

 

ผู้จัดรายการ

ความคิดเห็นที่เกี่ยวข้อง