:::

ชีพจรเศรษฐกิจ วันพฤหัสบดีที่ ๙ มีนาคม ๒๕๖๖

  • 09 March, 2023
ชีพจรเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจไต้หวันมีเสรีมากที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก
ชีพจรเศรษฐกิจ
ชีพจรเศรษฐกิจ
ชีพจรเศรษฐกิจ
ชีพจรเศรษฐกิจ

๑. เศรษฐกิจไต้หวันมีเสรีมากที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก 

          Herlitage Foundation ซึ่งเป็นคลังสมองสำคัญของสหรัฐฯ ได้จัดอันดับความเสรีด้านเศรษฐกิจของไต้หวันให้อยู่ในอันดับที่ 4 ของโลก ในปี 2023 จากการจัดอันดับประเทศทั่วโลกจำนวน 184 ประเทศ ขยับขึ้นจากปีที่แล้วที่อยู่ในอันดับที่ 6 ทุบสถิติที่เคยมีมา

         การประเมินระดับเสรีภาพทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ  ในปีนี้ มีเพียง 4 ประเทศเท่านั้นที่ได้รับคะแนน 80 คะแนนขึ้นไป โดยไต้หวันได้ 80.7 คะแนน รองจากสิงคโปร์ สวิตเซอร์แลนด์ และไอร์แลนด์ ส่วนนิวซีแลนด์อยู่อันดับ 5 ออสเตรเลียอันดับ 13 เยอรมนีอันดับ 14 เกาหลีใต้อันดับ 15 แคนาดา 16 สหรัฐฯ 25 ญี่ปุ่น 31 จีน 154 ส่วนประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 80 ได้คะแนน 60.6 คะแนน ลดลง 2.6 คะแนน จากการจัดอันดับคราวที่แล้ว และอยู่ในอันดับที่ 19 ของประเทศในเอเชียแปซิฟิกจำนวน 39 ประเทศ 

        สภาพัฒนาแห่งชาติ ไต้หวัน สาธารณรัฐจีน เปิดเผยว่า ดัชนีระดับความเสรีด้านเศรษฐกิจประกอบไปด้วยดัชนี 4 ตัว ได้แก่ ระบบกฎหมาย ขนาดของรัฐบาล ประสิทธิภาพในการตรวจสอบ และระดับความเสรีของตลาด และดัชนีอีก 12 ตัว อาทิ สิทธิในทรัพย์สิน ประสิทธิภาพของระบบตุลาการ ความใจซื่อมือสะอาดของรัฐบาล ภาระการเช่าซื้อ รายจ่ายของรัฐบาล ความสมบูรณ์ของระบบการคลัง เสรีภาพในการประกอบธุรกิจ เสรีภาพของแรงงาน เสรีภาพของเงินตรา เสรีภาพทางการค้า เสรีภาพในการลงทุน และเสรีภาพด้านการเงิน โดยในส่วนของไต้หวันมีดัชนีด้านความสมบูรณ์ของสถานะด้านการเงินการคลังก้าวหน้ามากขึ้นสูงสุดถึง 7 คะแนน สาเหตุสำคัญเนื่องจากภาระหนี้สาธารณะของรัฐบาลต่อ จีดีพี ลดลงจาก 33.7% เหลือ 28.4% ดัชนีความใจซื่อมือสะอาดของรัฐบาล ก็ดีขึ้น 2.5 คะแนน สะท้อนออกที่การประสานงานกันระหว่างหน่วยงานนิติบัญญัติ ตุลาการและบริหาร ผลักดันกฎหมายว่าด้วยการแสดงทรัพย์สินและกฎหมายอีกหลายฉบับอย่างมีประสิทธิภาพ  

 

๒. นักวิชาการเรียกร้องธนาคารกลางขึ้นดอกเบี้ยสกัดภาวะเงินเฟ้อจากค่าไฟและค่าเช่าพุ่ง 

          ในช่วงก่อนการประชุมคณะกรรมการบริหารของธนาคารกลางไต้หวันไตรมาสที่ 1 ของปีนี้ ในวันที่ 23 มี.ค. แม้การส่งออกจะปรับตัวลดลง บรรยากาศทางเศรษฐกิจก็อยู่ในสภาพขาลง นักวิชาการไต้หวันต่างเตือนว่า ภาวะเงินเฟ้อในไต้หวันยังคงไม่อาจมองข้ามได้ ในขณะที่การขึ้นค่าไฟและค่าเช่าบ้านจะเป็นตัวเร่งภาวะเงินเฟ้อให้ขยับสูงขึ้น เรียกร้องให้ธนาคารกลางต้องขึ้นดอกเบี้ยเช่นเดียวกับในช่วงที่ผ่านมา 

          เมื่อเกิดสงครามยูเครน-รัสเซียเมื่อปีที่แล้ว ราคาวัตถุดิบในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นชนวนภาวะเงินเฟ้อไปทั่วโลก ไต้หวันก็ถูกผลกระทบนี้ด้วยเช่นเดียวกัน 

          สถิติของกรมบัญชีกลางไต้หวันระบุว่า ตั้งแต่มีนาคม ปีที่แล้วเป็นต้นมา ดัชนีราคาสินค้าผู้บริโภคหรือ CPIขยับสูงขึ้นเกินกว่าเดือนละ 3% ต่อเนื่อง 5 เดือน หลังจากนั้นก็ค่อย ๆ ขยับลดลงบ้าง แต่พอถึงมกราคม ปีนี้ก็พุ่งทะลุเพดานอีกครั้งไปยืนที่ 3.04% 

          สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ สภาวิจัยแห่งชาติไต้หวันได้ประกาศการประมาณการณ์เศรษฐกิจไต้หวันเมื่อ ธ.ค. ปีที่แล้ว และนักวิชาการประจำสถาบันวิจัยแห่งนี้ได้เตือนว่า “ธนาคารกลางไต้หวันมองข้ามความร้ายกาจของภาวะเงินเฟ้อไต้หวันมากเกินไป” ตอนนี้ เขาได้เรียกร้องให้ธนาคารกลางควรพิจารณาใช้กลไกการปรับขึ้นดอกเบี้ยมาสกัดภาวะเงินเฟ้อ 

         คุณโจวหยวี่เถียน นักวิจัยสถาบันวิจัยเศรษฐกิจ สภาวิจัยแห่งชาติ ไต้หวัน คณะกรรมการพิจารณาค่าไฟจะมีการประชุมในเดือนนี้ และอาจมีการขึ้นค่าไฟ ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการมีต้นทุนเพิ่มขึ้น ส่วนราคาบ้านปีที่แล้วก็ปรับขึ้นมาก ทำให้ค่าเช่าบ้านมีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นตามไปด้วย ในขณะที่ค่าเช่าบ้านมีนัำหนักใน CPI ค่อนข้างมาก จึงคาดว่า เมื่อมีการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าและค่าเช่าบ้านแล้ว ย่อมจะส่งผลต่อภาวะเงินเฟ้อในปีนี้ด้วย และเขาเห็นว่า CPI ยากที่จะปรับลดลงเหลือต่ำกว่า 2% ได้ 

         เขาระบุว่า หน้าที่สำคัญของธนาคารกลางก็คือการรักษาระดับราคาสินค้าให้มีเสถียรภาพ แต่ในปัจจุบันชาวบ้านเริ่มวิตกกังวลต่อภาวะเงินเฟ้อมากขึ้นเป็นลำดับ แม้เศรษฐกิจจะชะลอตัวลง มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจมากกว่า 2% ภาวะการว่างงานก็อยู่ในความควบคุมได้ พอเพียงที่จะประคับประคองนโยบายการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางได้ กล่าวโดยรวมปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ธนาคารกลางก็จำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดภาวะเงินเฟ้อ หรืออย่างน้อยที่สุดก็ควรจะดำเนินนโยบายเงินสำรองเงินฝากหรือควบคุมเครดิตด้วยช่องทางต่าง ๆ ที่มีอยู่ 

          คุณจางเจี้ยนอิ กรรมการบริหารธนาคารกลางและผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเศรษฐกิจได้แสดงจุดยืนสนับสนุนธนาคารกลางขึ้นดอกเบี้ย และระบุว่า หลายประเทศตัดสินใจทำในช่วงที่ไม่ใช่เวลาของมัน แต่ควรทำมานานแล้ว แต่กลับไม่ทำในช่วงเวลาที่เหมาะสม ทำให้ต้องลงแรงมากขึ้นเป็นทวีคูณ ไต้หวันควรใช้โอกาสที่เศรษฐกิจยังพอจะประคับประคองการขึ้นดอกเบี้ยได้ สกัดภาวะเงินเฟ้อ มิเช่นนั้นเศรษฐกิจก็จะตกต่ำ ราคาสินค้าสูง และเป็นภัยแก่ตัวเอง 

         ส่วนทางด้านตัวแทนของภาคเอกชน สภาอุตสาหกรรม ไต้หวัน ได้เสนอแนะแนวทางในการแก้ปัญหาไว้ 3 แนวทางได้แก่ ภาคอุตสาหกรรมและภาคครัวเรือนอาจมีการปรับไปพร้อมๆ กัน ลดผลกระทบจากการขึ้นราคาสินค้าโดยการปรับขึ้นอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ส่วนการปรับขึ้นค่าไฟก็อาจแบ่งเกรดผู้ใช้รายย่อยกับรายใหญ่ เช่นการกำหนดเพดานการใช้ไฟฟ้าของครอบครัวที่มีสมาชิกในครอบครัว 4 คน เป็นมาตรฐาน หากใช้ไฟเกินมาตรฐานก็จัดเก็บค่าไฟที่มีการปรับเพิ่มขึ้น

         นายเฉินอี้หมิน เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมไต้หวัน ได้กล่าวในการประชุมซัมมิตบริหารคาร์บอน ESG และให้สัมภาษณ์สื่อว่า สภาอุตสาหกรรมไต้หวันมี 3 ข้อเสนอแนะเพื่อให้รัฐบาลประกอบการพิจารณาซึ่งประกอบไปด้วย ควรปรับค่าไฟทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคครัวเรือนพร้อม ๆ กัน ปรับขึ้นแบบเป็นขั้นเป็นตอน ไม่ใช่ปรับทีเดียวจนพอ เพื่อป้องกันมิให้ภาวะเงินเฟ้อเลวร้ายลง ประการสุดท้ายก็คือ ในส่วนของไฟฟ้าภาคครัวเรือนให้กำหนดเพดานเฉลี่ยการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของครอบครัวที่มีสมาชิก 4 คน อาจจะเป็นเดือนละ 300 หรือ 400 ยูนิต หากใช้ไฟเกินเพดานก็จัดเก็บค่าใช้ไฟฟ้าในราคาใหม่ที่ปรับเพิ่มขึ้นในส่วนที่ใช้เกิน  

 

ผู้จัดรายการ

ความคิดเห็นที่เกี่ยวข้อง