๑. ประธานาธิบดีไช่อิงเหวินย้ำ 3 หลักการต่อความสัมพันธ์ไต้หวัน-สหรัฐฯ หลังเลือกตั้งผู้นำสหรัฐฯ
ประธานาธิบดีไช่อิงเหวิน ผู้นำไต้หวัน สาธารณรํฐจีน ได้ประกาศย้ำ 3 หลักการต่อผลการเลือกตั้งผู้นำสหรัฐฯ ผ่านเฟสบุ๊กส่วนตัว เมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า เชื่อว่า กระแสแห่งการสนับสนุนไต้หวันเป็นกระแสหลักของสหรัฐฯ ไต้หวันจะกระชับสัมพันธ์ในระดับลึกกับสหรัฐฯ ต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง และติดตามสถานการณ์บนช่องแคบไต้หวันอย่างใกล้ชิด ธำรงค์รักษาเสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจไต้หวัน ตลอดจนรักษาความสัมพันธ์กับทุกพรรคการเมืองของสหรัฐฯ และบุคคลวงการต่าง ๆ ในสหรัฐฯ ต่อไป
ปธน. ไช่อิงเหวิน ย้ำ 3 หลักการต่อผลการเลือกตั้งในสหรัฐฯ
๒. สมาชิกรัฐสภา 29 ประเทศในแอฟริการ่วมหนุนไต้หวันเข้าร่วมกิจกรรมองค์กรระหว่างประเทศ
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว สมาชิกรัฐสภาในทวีปแอฟริกา 29 ประเทศ จำนวนรวม 181 ท่าน ร่มกันประกาศจัดตั้ง ฟอร์โมซาคลับ (Formosa Club) ประกาศเจตนารมน์สนับสนุนไต้หวันเข้าร่วมกิจกรรมองค์กรระหว่างประเทศ อาทิ องค์การอนามัยโลก หรือ WHO โดยเน้นย้ำจุดยืน เสรีภาพ ประชาธิปไตย นิติรัฐ และสิทิมนุษยชน
นางโอวเจียงฮัน โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ไต้หวัน สาธารณรัฐจีน ระบุว่า "กระทรวงการต่างประเทศเชื่อว่า การจัดตั้งขึ้นโดยรัฐสภาของประเทศต่าง ๆ เหล่านี้ ได้กลายเป็นแกนนำสำคัญของมิตรไต้หวัน และก็เป็นพลังสำคัญในการผลักดันการก้าวสู่แอฟริกาของไต้หวัน รัฐบาลและประชาชนชาวไต้หวันยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะก้าวไปพร้อมกับมิตรประเทศที่มีอุดมการณ์เดียวกัน และเป็นพันธมิตรหุ้นส่วนที่เข้มแข็งในความร่วมมือระห่วางกัน"
นายอู๋จาวเซี่ย รมว. กต. ไต้หวัน ได้กล่าวผ่านวีดีโอว่า เราได้เรียนรู้ประสบการณ์จากการระบาดของโควิด 19 ว่า ไม่มีประเทศใดที่จะรอดพ้นจากวิกฤตการณ์ครั้งนี้ได้ ชาวไต้หวัน 23 ล้านคน ถูกกีดกันอยู่นอก WHO ถูกริดรอนสิทธิที่ต้องการความช่วยเหลือในยามจำเป็นและริดรอนมิให้ไต้หวันได้มีโอกาสเข้าร่วมการให้ความช่วยเหลือประชาคมโลก แต่ไต้หวันก็ยินดีที่จะแบ่งปันประสบการณ์และทรัพยากร และข้อมูลข่าวสารในการต่อต้านโรคระบาด จึงขอเรียกร้องให้ประชาคมโลกสนับสนุนไต้หวันให้เข้าไปมีส่วนร่วมด้วย
สมาชิกรัฐสภาทวีปแอฟริกาที่ร่วมผลักดันการจัดตั้งฟอร์โมซาคลับในครั้งนี้ ที่สำคัญประกอบไปด้วย Petros Mavimbela ประธานสภาผู้แทนราษฎรประเทศเอสสาตินี Makhosi Vilakati สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานประเทศเอสวาตินี Ahmed Abdi Kijaadhe ประธานคณะกรรมาธิการต่างประเทศ Abdiaziz Ismail Dualeh รองประธานคณะกรรมาธิการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร โซมาลีแลนด์ Solly Malatsi สมาชิกรัฐสภาและโฆษกพรรคแนวร่วมประชาธิปไตยแอฟริกาใต้ Veronica Van Dyk สมาชิกรัฐสภา แอฟริกาใต้ และ Noko Masipa สมาชิกรัฐสภาแอฟริกาใต้ ซึ่งได้อัดคลิปแสดงความยินดีการจัดตั้งองค์กรดังกล่าวขึ้น
การประชุมเทเลคอนเฟอร์เรนซ์เพื่อจัดตั้ง Formosa Club ของสมาชิกรัฐสภา 29 ประเทศในแอฟริกา หนุนไต้หวันเข้าร่วมกิจกรรมระหว่างประเทศ
๓. คลังสมองเยอรมนีในฮ่องกงย้ายฐานมาไต้หวัน
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว Friedrich Naumann Foundation ซึ่งเป็นคลังสมองของเยอรมนี ได้ปะรกาศย้ายสำนักงานจากฮ่องกงมายังไต้หวัน เนื่องจากการประกาศใช้กฎหมายว่าด้วยความมั่นคงฮ่องกง ของทางการจีน โดยคาดว่าจะเปิดสำนักงานในไต้หวันได้ในราวต้นปีหน้า ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศ ไต้หวัน สาธารณรํฐจีน ได้แสดงท่าทีให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลไต้หวันที่จะดึงดูดองค์กรเอ็นจีโอระหว่างประเทศที่มีคุณภาพเยี่ยมมาเปิดสำนักงานในไต้หวัน
ทั้งนี้ มูลนิธิฟรีดริช เนามัน เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรจากประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีที่ส่งเสริมประชาธิปไตยแบบเสรี (Liberal Democracy) หลักนิติรัฐ (Rule of Law) สิทธิมนุษยชน (Human Rights) และเศรษฐกิจเสรี (Market Economy) โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ
1. เพิ่มศักยภาพและความรู้เฉพาะด้านให้กับภาคีของมูลนิธิฯ
2. พัฒนาเครื่องมือและองค์ความรู้ในการส่งเสริมการศึกษาภาคพลเมือง ให้ความรู้และทักษะแก่ภาคีเครือข่ายในด้านต่าง ๆ ผ่านการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม โดยผู้เข้าร่วมสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้เพื่อให้เกิดสังคมประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง
3. สนับสนุนการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะด้านประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย ลดการดำเนินการที่ไม่สอดคล้องกับหลักนิติรัฐ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
มูลนิธิฟรีดริช เนามันก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1958 โดย นายธีโอดอร์ ฮอยส์ (Theodore Heuss, 1884-1963) ประธานาธิบดีคนแรกแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ในช่วงหลังการสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่สอง นับเป็นสัญญาณสู่การเริ่มต้นความเป็นรัฐเสรีประชาธิปไตยของเยอรมนี
ชื่อของมูลนิธิฟรีดริช เนามัน ตั้งตามชื่อของ นายฟรีดริช เนามัน (Friedrich Naumann, 1890-1919) ผู้เชื่อว่าการจะใช้อำนาจประชาธิปไตยให้ได้บรรลุผลแบบเต็มขั้นต้องอาศัยการศึกษาภาคพลเมืองในการวางรากฐานทางการศึกษาและให้ความรู้ด้านพลเมืองแก่ประชาชน เพื่อที่ประชาชนจะได้รู้วิธีการมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางของประเทศ
มูลนิธิฟรีดริช เนามันมีสำนักงานสาขาอยู่ใน 65 ประเทศทั่วโลก เพื่อให้ข้อมูลแก่ประชาชนทั่วไป องค์กรพัฒนาเอกชนอื่น ๆ และสถาบันต่าง ๆ โดยทำงานร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชน หน่วยงานภาครัฐ องค์กรภาคประชาคม และสถาบันการศึกษา เพื่อแลกเปลี่ยนทักษะความรู้ และส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนาประเทศนั้น ๆ
สำหรับประเทศไทย มูลนิธิฟรีดริช เนามันได้ทำกิจกรรมเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน นิติรัฐ และเสรีภาพทางเศรษฐกิจ โดยประสานความร่วมมือกับองค์กรทั้งของภาครัฐและภาคเอกชนมากว่า 40 ปี
Friedrich Naumann Foundation มีสาขากระจายอยู่ทั่วโลก