close
Rti Thaiดาวน์โหลด Rti App
Open
:::

อย่างนี้คุณจะว่ายังไง วันเสาร์ที่ 28 พ.ค.2565

  • 28 May, 2022
อย่างนี้คุณจะว่ายังไง
คลายข้อสงสัย “หัวกุ้ง” กินได้มั้ย(photoAC)

คลายข้อสงสัย “หัวกุ้ง”พร้อมนานาความคิดเห็น "เถ้าแก่เลี้ยงกุ้งใจดี" ให้นกป่าจับกุ้งก้ามกรามกินได้ตามสบาย

คลิกฟังรายการที่นี่

        มีสาวชาวเน็ตโพสต์ทางโซเชียลถามว่า หัวกุ้งเปลี่ยนเป็นสีดำเป็นเพราะว่ากุ้งไม่สดใช่หรือไม่? เนื่องจากตอนซื้อกุ้งจากตลาดยังเป็นๆ เมื่อนำมาปรุงแล้วหัวกุ้งเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ ทั้งๆ ที่ตอนลวกกุ้งใส่แค่ขิง,เหล้าขาวและต้นหอม ทำให้เธอมีข้อสงสัยว่ากุ้งที่ซื้อมานั้นมีปัญหาว่าไม่สดหรือไม่?

        หลังโพสต์ข้อความ มีชาวเน็ตแสดงความคิดเห็นมากมาย ที่ผ่านมามีการแชร์เรื่องกุ้งทางโซเชียลบอกว่า ที่หัวกุ้งมีกระเพาะอาหารที่อาจเป็นพิษ แต่มีผู้รู้ให้คำตอบว่า หัวกุ้งเปลี่ยนเป็นสีดำไม่ใช่กุ้งไม่สด แต่เป็นเพราะเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน มีคนบอกว่า หัวกุ้งส่วนใหญ่ที่ไม่ดำเพราะมีการเติมสารบางอย่างที่เราไม่รู้ เพราะฉะนั้นหัวกุ้งเปลี่ยนเป็นสีดำเป็นเรื่องปกติ(ถ้าไม่มีกลิ่นเหม็นเน่า) นอกจากนี้ หากนำกุ้งไปแช่แข็งที่มีการลดอุณหภูมิลงอย่างรวดเร็ว เมื่อนำกุ้งมาคลายฟรีซ หัวกุ้งจะดำเช่นกันแต่ถือเป็นเรื่องปกติ

หลายคนชอบดูดหัวกุ้ง แต่กลัวโลหะตกค้าง ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า หากไม่ได้เลี้ยงในเขตมลภาวะไม่ต้องกลัว

        ผู้เชี่ยวชาญอธิบายว่า บริเวณหัวกุ้งมีอวัยวะต่างๆ โดยในกุ้งตัวผู้จะมีพวกอัณฑะถุงน้ำเชื้อและท่อน้ำเชื้อ กุ้งตัวเมียจะมีรังไข่หรือที่บางคนเรียกไข่กุ้ง ส่วนที่หลายคนเรียก “มันกุ้ง” ซึ่งก็คือส่วนของตับและตับอ่อนที่อยู่ใต้อัณฑะตัวผู้หรือรังไข่ของตัวเมีย เป็นแผ่นสีเหลือง หากใครชอบกินมันกุ้งก็ควรกินแต่พอเหมาะ เพราะมันกุ้งจะมีคลอเลสเตอรอลสูง ส่วนกระเพาะและลำไส้ของกุ้ง (เส้นสีดำตรงสันหลังกุ้ง)ก็คือส่วนที่อยู่ใต้ตับลงไป ซึ่งส่วนนี้หลายคนอาจเรียกว่า “ขี้กุ้ง

มีคำถาม “หัวกุ้งกินได้หรือไม่” คำตอบคือ “กินได้” แต่ต้องทำให้สุกจะปลอดภัยกว่า  ซึ่งในส่วนของหัวกุ้ง บางคนชอบบางคนไม่ชอบ และยังขึ้นกับแหล่งกุ้งที่เลี้ยง หากเป็นกุ้งที่เลี้ยงถูกต้องตามหลักมาตรฐาน ก็ไม่น่าเป็นห่วง ปกติหลายคนก็กินเครื่องในสัตว์อยู่แล้ว แต่ส่วนที่เป็นกระเพาะอาหารและลำไส้(ขี้กุ้ง) เราควรดึงทิ้งดีกว่า

        กุ้งเลี้ยงส่วนใหญ่พบพยาธิได้น้อยมาก แต่ถ้าเป็นกุ้งธรรมชาติอาจจะพบได้ โดยเฉพาะพวกพยาธิใบไม้ปอด เพราะฉะนั้นการทำให้สุกจะมีความปลอดภัยกว่า

cheekycheekycheekycheekycheekycheekycheekycheekycheekycheekycheekycheekycheekycheekycheekycheekycheekycheekycheekycheeky

เถ้าแก่เลี้ยงกุ้งใจดี! ให้นกป่าจับกุ้งก้ามกรามหรือไท่กั๋วเซียในบ่อ กินได้ตามสบาย

        ที่ตำบลเจียวซีเมืองอี๋หลาน มีฟาร์มเลี้ยงกุ้งก้ามกรามแห่งหนึ่ง เนื่องจากช่วงนี้กำลังจับกุ้งเพื่อส่งขาย มีการปล่อยน้ำออกจากบ่อเลี้ยง ระดับน้ำในบ่อต่ำลง ส่งผลให้นกน้ำจำนวนมากพากันมาแย่งกินกุ้ง และยังดึงดูดนักถ่ายภาพนกเดินทางไปถ่ายภาพนกด้วย

เถ้าแก่ใจดีให้นกกระยางจับกุ้งก้ามกรามกินอย่างสบาย

        นักถ่ายภาพนกแซ่จาง(張先生)บอกว่า เนื่องจากมีอาหารดึงดูดนกบินมามากมาย นกที่เห็นส่วนใหญ่คือนกกระยาง และยังมีนกนางนวล ช่วงที่น้ำตื้นจะเห็นนกกระยางเดินหากุ้งในน้ำ แต่ถ้าเป็นช่วงน้ำลึกก็จะมีนกนางนวลบินไปโฉบกุ้ง เมื่อนักถ่ายภาพเห็นนกจำนวนมากมาจิกกินกุ้ง ยังได้เตือนเถ้าแก่ฟาร์มว่า นกกระยางได้กินกุ้งไปจำนวนมากแล้ว แต่เถ้าแก่กลับบอกว่า “แม้ว่าจะเลี้ยงกุ้งสำหรับให้คนกิน แต่แบ่งให้นกกินบ้างก็ได้” จะได้ช่วยให้นกเหล่านี้มีโอกาสสืบพันธุ์รุ่นต่อไป

เถ้าแก่ใจดีให้นกกระยางจับกุ้งก้ามกรามกินอย่างสบาย

        ดร. โจวจวี้นสง(博士周俊雄) บอกว่า ตนเองถ่ายภาพระยะใกล้ของนกหลายตัว เป็นภาพกำลังคาบจิกกุ้ง ท่าทางต่างๆ ที่ไม่ซ้ำกัน เนื่องจากเถ้าแก่ใจดีให้นกกินกุ้ง ทำให้ถ่ายภาพเด็ดๆ ของนกได้จำนวนมาก

นกปากช้อนหน้าดำก็ขอจับกุ้งก้ามกรามกินด้วย

ชาวไต้หวันเรียกกุ้งก้ามกรามหรือกุ้งแม่น้ำว่า “กุ้งไทยหรือไท่กั๋วเซีย (泰國蝦)” เนื่องจากในปี 1970  ดร.หลินเซ่าเหวิน(林紹文) ผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์น้ำที่ประจำอยู่ที่องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations หรือ FAO)ได้นำกุ้งก้ามกรามประมาณ 300 ตัว จากประเทศไทยเข้ามาไต้หวัน ต่อมา ดร.เลี่ยวอีจิ่ว(廖一久) ได้นำไปทดลองเพาะเลี้ยงและทำการผสมเทียมจนประสบความสำเร็จและเป็นที่รู้จักของคนไต้หวัน ขยายการเลี้ยงอย่างแพร่หลายเรียกชื่อว่า “ไท่กั๋วเซีย”

 

ผู้จัดรายการ

ความคิดเห็นที่เกี่ยวข้อง