close
Rti Thaiดาวน์โหลด Rti App
Open
:::

กระแสประชาธิปไตย วันจันทร์ที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๕

  • 25 July, 2022
กระแสประชาธิปไตย
กระแสประชาธิปไตย
กระแสประชาธิปไตย
อดีตนายกรัฐมนตรีชินโซะ อาเบะ
กระแสประชาธิปไตย
ศ. หลินรั่วอวี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านเอเชียตะวันออกศึกษาและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา

นักวิชาการไต้หวันฟันธงหลังยุคอาเบะ นโยบายต่ออาเซียนของญี่ปุ่นจะยังคงไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง 

        ศ. หลินรั่วอวี้ อาจารย์กิตติมศักดิ์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและการทูต นายกสมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ ขณะเดียวกันก็เป็นอาจารย์พิเศษของมหาวิทยาลัยชั้นนำในไต้หวันอีกหลายแห่ง อาทิ มหาวิทยาลัยชิงหัว มหาวิทยาลัยหยางหมิงเจียวทง และคณะเอเชียตะวันออกศึกษามหาวิทยาลัยครูไต้หวัน เป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีความเข้าใจต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการถูกลอบสังหารของอดีตนายกรัฐมตรีชินโซะ อาเบะ เมื่อต้นเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา นอกจากจะส่งผลกระทบต่อการเมืองภายในญี่ปุ่นเองแล้ว เนื่องจากอดีตนายกฯ ญี่ปุ่นท่านนี้ มีบทบาทสำคัญในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แสดงจุดยืนทางการเมืองในระดับภูมิภาคและระดับโลกหลายครั้ง ในการสัมภาษณ์วันนี้ เราจะได้รับความรู้ต่าง ๆ มากมายจากท่าน ศ. หลินรั่วอวี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสูญเสียอดีตผู้นำของชาวญึ่ปุ่นจะมีผลกระทบอย่างไรต่อทั้งความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นกับไต้หวัน และความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นกับไทยด้วย

ศ. หลินรั่วอวี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านเอเชียตะวันออกศึกษาและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา

        ท่านอาจารย์เป็นผู้เชี่ยวชาญเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงอยากให้ท่านเล่าให้ฟังถึงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบันของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ Regional Comprehensive Economic Partnership หรือ RCEP หรือชื่อในภาษาไทยว่า ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค เศรษฐกิจในอาเซียนมีการเติบโตเป็นอย่างมาก  

        ศ. หลินฯ ระบุว่า “RCEP มีผลบังคับใช้มากว่าครึ่งปีแล้ว  เป็นเขตเศรษฐกิจเสรีที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกมีประชากรถึง 2.2 พันล้านคน ครอบคลุม 15 ประเทศ ได้แก่ อาเซียน 10 ประเทศ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ นิวซีแลนด์และออสเตรเลีย ซึ่งเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. ปีนี้เป็นต้นมาเริ่มส่งผลพอสมควร เนื่องจาก จีดีพีของ RCEP คิดเป็นถึงกว่า 1 ใน 3 ของจีดีพีทั่วโลก ครอบคลุมสมาชิกทั้งญี่ปุ่น ครอบคลุมประชากรประมาณ 2.2 พันล้านคน รวม 15 ประเทศ อาเซียน 10 ประเทศ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี นิวซีแลนด์และออสเตรเลีย ส่วนอินเดียได้ถอนตัวในเวลาต่อมา มีการเจรจากันมานาน ที่ผ่านมา ก็ทำให้ จีดีพี ของประเทศอาเซียนขยับเพิ่ม 0.2% มาตรการต่าง ๆ ทั้งการยกเว้นภาษี การไปมาหาสู่ระหว่างคนกับคนของประเทศสมาชิก อาเซียนเป็นผู้ผลักดัน ส่วนญี่ปุ่นก็มีบทบาทค่อนข้างสำคัญในการร่วมผลักดันการก่อตั้ง RCEP”

RCEP เริ่มมีผลบังคับใช้อย่างเป็ฯทางการเมื่อ 1 ก.พ. 2565 

         นอกจากนี้ ในฐานะที่ญี่ปุ่นก็เป็นหนึ่งในสมาชิกของ ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคนี้ และมีการลงทุนในภูมิภาคนี้อย่างยาวนานมากกว่า 40 ปี อยากให้อาจารย์เล่าให้ฟังเกี่ยวกับสภาพการลงทุนของญี่ปุ่นในอาเซียนในปัจจุบันว่าเป็นอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในไทย อินโดนีเซียและเวียดนาม

         ศ. หลินฯ ระบุอีกว่า “คิดว่าหลาย ๆ คนคงจำได้ว่า หลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 ประเทศในอาเซียนต่างไม่มีความวางใจในญี่ปุ่น แต่การลงทุนโดยตรงในต่างประเทศของญี่ปุ่น ช่วยสนับสนุนและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ในอาเซียนได้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคของนายกรัฐมนตรีในทุกยุคทุกสมัยที่ผ่านมา จนถึงนายอาเบะ ที่ให้ความสำคัญกับอาเซียนเป็นอย่างมาก เพราะเขาอยู่ในตำแหน่งนานที่สุด สองวาระ และอาเบะเป็นผู้เสนอแนวความคิด “อินโดแปซิฟิก” ซึ่งต่อมาทรัมป์ฯ ก็เอาไปใช้ ตอนนี้ก็เป็นยุคของไบเดนที่เดินแนวนโยบายเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง ส่วนการลงทุนในสามประเทศทั้งไทย อินโดฯ และเวียดนาม ญี่ปุ่นให้ความสำคัญยิ่ง มีการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ อย่างเวียดนามและญีุ่่ปุ่นก็ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ มีการประชุมร่วมระดับรัฐมนตรีที่เรียกว่า 2 ต่อ 2 คือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม คนรุ่นใหม่ในเวียดนามก็พยายามศึกษาหาความรู้ภาษาญี่ปุ่น เพื่อทำการค้ากับญี่ปุ่น ส่วนไทย ก็ทราบดีว่า ญี่ปุ่นลงุทุนคลัสเตอร์อุตสาหกรรมรถยนต์ในไทยมูลค่ามหาศาล ไม่ว่าจะเป็นโตโยต้า ฮอนด้า ซูซูกิ ก็ผลิตในไทยและส่งออกไปยังอาเซียน มีการผลิตรถยนต์ในไทยปีละไม่ต่ำกว่า 2.5 ล้านคัน ส่งออกไปทั่วโลก ไทยกับญี่ปุ่นก็มีการจัดทำความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ระหว่างกัน มีชาวญี่ปุ่นในไทยมากถึง 80,000 คน แสดงให้เห็นว่า ญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับไทยเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังมีความสนิทสนมกับมาเลเซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคของ ดร. มหาธีร์ ถึงกับประกาศว่า สนิทกับญี่ปุ่น แต่ต้านสหรัฐฯ อดีต นรม. อาเบะ พยายามรวมเอาไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของหุ้นส่วนความมั่นคงญี่ปุ่น-สหรัฐฯ ซึ่งเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์สำคัญของญี่ปุ่น” 

         ศ. หลินฯ ได้ระบุเกี่ยวกับหลังยุคอดีตผู้นำญี่ปุ่นผู้ล่วงลับไปแล้ว นโยบายต่ออาเซียนของญี่ปุ่นจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ว่า "คิดว่า ไม่น่าจะมีอะไรเปลี่ยนแปลง เพราะดูได้จากนายกรัฐมนตรี ฟูมิโอะ คิชิดะ ของญี่ปุ่นคนปัจจุบันที่เป็นพรรคเดียวกัน และสนิทสนมกับอดีตนายกฯ อาเบะ และการดำเนินนโยบายในช่วงหลังอาเบะ ก็ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ให้ความสำคัญกับอาเซียนเช่นเดียวกับอดีต นรม. อาเบะ แม้ที่ผ่านมาจะเป็นคู่แข่งกับอดีตนายกรัฐมนตรีอาเบะ แต่ก็สามารถตกลงกันได้ จึงคิดว่า นโยบายต่ออาเซียนของญี่ปุ่นหลังยุคอาเบะจะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมากนัก คือยังคงให้ความสำคัญกับอาเซียน และเป็นหุ้นส่วนสำคัญด้านความมั่นคงกับสหรัฐฯ ตามความตกลงความมั่นคงระหว่างสหรัฐฯ กับญี่ปุ่น ซึ่งเป็นสิ่งที่จีนวิตกกังวลพอสมควร” 

         ศ. หลินฯ ยังได้เปรียบเทียบนโยบายต่ออาเซียนของอดีตนายกรัฐมนตรีชินโซะ อาเบะ กับนโยบาย "มุ่่งใต้ใหม่" ของไต้หวันว่า “ญี่ปุ่นดำเนินนโยบายต่ออาเซียนอย่างจริงจังและไม่กระโต๊กกระต๊าก แต่ผลักดันอย่างเจาะลึกมีนักลงทุนญี่ปุ่นในไทยเป็นจำนวนมาก ส่วนของไต้หวันที่มีนโยบายมุ่งใต้ตั้งแต่ยุค 1990 ผ่านผู้นำมาหลายท่านทั้ง ลีเติงฮุย เฉินสุยเปี่ยน หม่าอิงจิ่ว จนมาถึงไช่อิงเหวิน ที่พัฒนามาเป็น “มุ่งใต้ใหม่” ผู้นำไต้หวันเหล่านี้ไม่มีใครกล้าที่จะปฏิเสธว่าไม่ให้ความสำคัญกับอาเซียน แต่ยังลงแรงไม่พอ ที่ผ่านมาผู้นำและรองผู้นำไต้หวันยังมีโอกาสได้พบกับระดับสูงของหลายประเทศในอาเซียน แต่ตอนนี้คงยาก จึงมีความรู้สึกว่า นโยบายมุ่งใต้ใหม่ ไม่ได้มีการผลักดันอย่างจริงจัง เพราะฉะนั้น คิดว่า ไต้หวันควรศึกษาประสบการณ์จากญีปุ่่น ทั้งในแง่การไปลงทุนและให้ความช่วยเหลือต่างประเทศ ซึ่งญี่ปุ่นมีงบประมาณให้ความช่วยเหลือมากถึง 10% ของจีดีพี ส่วนไต้หวันไม่ถึง 1% อย่างทางด้านการศึกษาตอนนี้แม้จะมีนักศึกษาจากประเทศอาเซียนเพิ่มขึ้น แต่ไม่มีนักศึกษาไต้หวันไปศึกษาต่อในประเทศเหล่านี้มากขึ้น เพราะฉะนั้นจุดนี้ ไต้หวันจึงอาจะศึกษาจากญี่ปุ่นที่สามารถเสริมสร้างความสัมพันธ์กับอาเซียนอย่างเจาะลึกในทุกมิติ” 

ประเทศเป้าหมายนโยบาย "มุ่งใต้ใหม่" ของไต้หวัน มีไทยเป็นจุดศูนย์กลาง (ภาพจาก 科技部新南向科研合作專網)

 

ผู้จัดรายการ

ความคิดเห็นที่เกี่ยวข้อง