การจับปลาวิถีชาวบ้านที่จัดให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาวจินซานในนครนิวไทเปที่เป็น 1 ไม่มี 2 ของโลก ที่เรียกว่า “เปิ้งหัวไจ่蹦火仔” ซึ่งก็คือการพ่นไฟออกจากท่อให้เกิดแสงสว่างของเรือประมง เมื่อปลาซาร์ดีนญี่ปุ่นเห็นแสงไฟที่สว่างก็กระโดดขึ้นมาเล่นกับไฟแล้วชาวประมงก็ใช้สวิงช้อนปลา หลังห่างเหินไปนาน 6 ปี จนเกือบจะศูนย์หายและไม่มีการสืบทอดต่อ โชคดีปีนี้เริ่มมีปรากฏการณ์ที่เห็นปลาซาร์ดีนมีจำนวนมากขึ้น ชาวประมงที่จับปลาดีใจมาก และยังเห็นปลาซาร์ดีนกระโดดขึ้นฝั่งบริเวณท่าเรือเหอผิงเต่าในเมืองจีหลงด้วย
การจับปลาซาร์ดีนญี่ปุ่นแบบวิถีชาวบ้านที่จินซาน
ปลาซาร์ดีนญี่ปุ่นหรือปลาซาร์ดีนเกล็ดญี่ปุ่น มีชื่อเรียกทางการว่า “ปลาซาร์ดีนเนลลา ซูนาซี(Sardinella zunasi)” เป็นปลากระเบนชนิดหนึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกับปลาเฮอริ่งและปลาซาร์ดีน มีชื่อเรียกภาษาจีนหลายอย่าง เช่น “ปลาชิงหลิน-青麟魚” “ชิงฮัวอวี๋-青花魚” “ชิงหลินไจ่-青鱗仔” “ถู่อวี๋-土魚” ฯลฯ เป็นปลาที่กระจัดกระจายในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก รวมทั้งเขตทะเลของญี่ปุ่นและไต้หวัน มีความยาวประมาณ 10-15 ซม. โตเต็มที่มีรูปร่างเพรียวบาง วางไข่ในมหาสมุทรเปิดและในแหล่งที่อยู่อาศัยกึ่งชายทะเล อาศัยอยู่ในน้ำลึกประมาณ 0-20 เมตร ปลาซาร์ดีนในญี่ปุ่นถือเป็นปลาเศรษฐกิจ ราคาถูก ฤดูกาลอยู่ระหว่างฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วง เนื้อปลาค่อนข้างคาว เหมาะในการทำปลาแห้ง หากตัวเล็กนิยมบดเป็นปลาผง ชาวญี่ปุ่นนิยมนำมาย่างที่มีรสชาติพิเศษ
ปลาซาร์ดีนญี่ปุ่นที่จับได้มักรักษาความสดด้วยการต้มสุกก่อนนำไปขาย
เฉินซิ่นจู้(陳信助) อาสาสมัครกองอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบอกว่า นานแล้วที่ไม่เห็นปลาซาร์ดีนญี่ปุ่นกระโดดโลดเต้นตามชายฝั่ง พบเห็นได้ยากมากๆ การที่ปลาซาร์ดีนกระโดดอยู่ริมชายฝั่งในช่วงเวลากลางคืนเนื่องจากปลาเห็นแสงไฟริมถนนจึงกระโดดขึ้นมา นอกจากนี้ ในช่วงที่ไต้ฝุ่นใกล้จะพัดเข้ามา หรือในช่วงที่ปลาซาร์ดีนถูกปลาใหญ่ล่าก็มีโอกาสที่จะกระโดดขึ้นฝั่งได้ แต่เนื่องจากเมื่อ 6 ปีที่แล้ว(ปี 2016) เกิดเหตุการณ์เรือเกยตื้นทำให้เกิดมลภาวะน้ำมันลอยอยู่ในทะเล ปลาซาร์ดีนไม่ว่ายน้ำเข้ามาในเขตชายฝั่งทะเล ชาวประมงจับปลาซาร์ดีนไม่ได้ แต่ยังคงมีเรือประมงน้อยมากที่ยืนหยัดประกอบกิจการต่อ อย่างก็ตาม ขณะนี้มีปรากฏการณ์ที่มีปลาซาร์ดีนแหวกว่ายลับมาอยู่ตามชายฝั่งเป็นจำนวนมาก สาเหตุเนื่องจากระบบนิเวศทางทะเลค่อยๆ ดีขึ้นนั่นเอง
ปลาซาร์ดีนทอดกรอบ
กัวชิ่งหลิน(郭慶霖) ผู้ก่อตั้งห้องทำงานด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมจินซานบอกว่า ปลาซาร์ดีนไม่ได้หายไปไหน แต่มลภาวะมีน้ำมันลอยอยู่ในทะเลบริเวณศาลเจ้าสือปาหวังกงที่ถือเป็นจุดที่มันจะแหวกว่ายมาใกล้ฝั่งจุดแรก จึงเป็นเหตุทำให้ปลาซาร์ดีนไม่ว่ายน้ำมายังบริเวณชายฝั่งทางภาคเหนือ หลังรอคอยมานาน 6 ปี ในปีนี้ปลาซาร์ดีนว่ายน้ำมายังชายฝั่งทางภาคเหนือแล้ว ทำให้วิถีการจับปลาแบบโบราณที่เรียกว่า “เปิ้งหัวไจ่”ได้รับการสืบทอดต่อไป ซึ่งการจับปลาแบบนี้จะปรากฏให้เห็นในช่วงค่ำคืนฤดูร้อน ชาวประมงใช้ไฟที่จุดจากถ่านหินหลังเติมน้ำให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีเกิดแก๊สอะเซทิลีน เกิดลำแสงขึ้นมาอย่างรวดเร็วพร้อมทั้งมีเสียงดังมาก ปลาซาร์ดีนจำนวนมากจะกระโดดขึ้นเหนือน้ำเข้าหาแสงสว่าง จากนั้นชาวประมงก็จะใช้สวิงช้อนปลา กองการท่องเที่ยวนครนิวไทเปชี้ว่า ทั่วโลกที่จับปลาแบบโบราณนี้ที่มีการอนุรักษ์เหลือเพียงในเขตจินซานเท่านั้น ดังนั้นจึงมีการจัดกิจกรรมเพื่อสัมผัสบรรยากาศการจับปลาและถ่ายวีดีโอบันทึกภาพไว้ กิจกรรมเริ่มตั้งแต่วันที่ 25 ก.ค. ถึงวันที่ 5 กันยายน เพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถไปสัมผัสบรรยากาศการออกเรือหาปลาในทะเลได้
นั่งเรือไปสัมผัสบรรยากาศการจับปลาซาร์ดีน