close
Rti Thaiดาวน์โหลด Rti App
Open
:::

กระแสประชาธิปไตย วันจันทร์ที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๖

  • 08 May, 2023
กระแสประชาธิปไตย
การจัดอันดับประเทศที่มีเสรีภาพในการเสนอข่าว
กระแสประชาธิปไตย
กระแสประชาธิปไตย
3 อันดับแรกประเทศที่มีเสรีภาพในการเสนอข่าวมากที่สุด

๑. เสรีภาพในการเสนอข่าวไต้หวันขยับ 3 อันดับ ครองแชมป์เอเชีย

          เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน หรือ Reporters Without Borders (Reporters sans frontière -RSF) ได้ประกาศรายงานการจัดอันดับเสรีภาพในการเสนอข่าวของทั่วโลกประจำปี 2023 โดยไต้หวันขยับจากอันดับที่ 38 เมื่อปีที่แล้ว มายืนอยู่ในอันดับที่ 35 และเป็นอันดับ 1 ในเอเชีย แซงหน้าญี่ปุ่น ส่วนอันดับรองบ๊วยและอันดับบ๊วย ได้แก่ จีนและเกาหลีเหนือ แย่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา 

         องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนเปิดเผยว่า ในปีนี้ นอร์เวย์ยังคงเป็นแชมป์ประเทศที่มีเสรีภาพในการเสนอข่าวอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 7 ในบรรดา 180 ประเทศทั่วโลก ส่วนไอร์แลนด์ อันดับ 2 ซึ่งเป็นประเทศนอกยุโรปเหนือแซงหน้าเดนมาร์ก ที่อยู่ในอันดับ 3 ส่วน 3 อันดับสุดท้ายเป็นประเทศในเอเชียทั้ง 3 ประเทศ ได้แก่เวียดนาม อันดับ 178 ส่วนจีนที่ถูกมองว่าเสมือน “คุกนักข่าว” ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ถูกจัดอยู่ในอันดับ 179 ในขณะที่มิตรคู่ยากอย่างเกาหลีเหนือ อยู่ในอันดับสุดท้าย คืออันดับที่ 180 คืออันดับสุดท้าย อันดับบ๊วยนั่นเอง 

         ทั้งนี้ RSFเตือนว่า ปัจจุบันการผลิตข่าวปลอมทางอินเตอร์เน็ตหรือดิจิทัลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากจะผลิตและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ไม่เป็นความจริงแล้ว ยังใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างข่าวปลอมหรือข่าวเท็จอีกด้วย ทำให้มีความสามารถในการแทรกซึมได้มากขึ้นกว่าในอดีตที่ผ่านมาเป็นอย่างมาก นักการเมืองเองก็อาจเข้าไปมีส่วนร่วมกับการปล่อยข่าวปลอม ทำให้ความเท็จกับความจริง ความถูกต้องกับความไม่ถูกต้องกลายเป็นความคลุมเครือไม่แน่ชัด ส่งผลให้องค์กรข่าวมีความอ่อนแอ และเป็นภัยคุกคามต่อเสรีภาพประชาธิปไตย 

          RSF ระบุอีกว่า สถานการรณ์ในปัจจุบันเป็นผลดีต่อความพยายามในการโฆษณาชวนเชื่อของรัสเซีย ที่ถูกจัดอยู่ในอันดับ 164 ด้วยเหตุนี้จึงทำให้อันดับในปีนี้ลดลง 9 อันดับ ทางการมอสโกได้ใช้เวลาสั้น ๆ ในการก่อตั้งคลังสื่อมวลชนใหม่ เพื่อปล่อยข่าวลือต่าง ๆ นานาทางภาคใต้ของยูเครน ขณะเดียวกันก็ระดมโจมตีสื่ออิสระที่เหลืออยู่ในรัสเซียอย่างดุเดือด สื่อเหล่านี้ถูกทางการสั่งปิด หรือแบน หรือถูกกล่าวหาว่าเป็น “นอมินีของต่างชาติ” 

         ในส่วนของประเทศในเอเชียแปซิฟิก RSF ระบุว่า ทั้งเกาหลีเหนือ จีน เวียดนาม และเมียนมา อันดับที่ 173 เป็นประเทศเผด็จการที่ครองอำนาจด้วยพรรคการเมืองพรรคเดียวหรือเป็นรัฐเผด็จการ มีการกดดันวงการสื่อสารมวลชนอย่างรุนแรง ผู้นำก็ควบคุมอำนาจในการจำกัดการเสนอข่าวสาธารณะอย่างหนัก ปัจจุบัน จีนได้จับกุมคุมขังผู้สื่อข่าวอย่างน้อยถึง 114 คน กระทั่งรวมถึงผู้สื่อข่าวต่างประเทศที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นสปายสายลับ ส่วนเมียนมาก็ไล่มาติดๆ หลังฝ่ายทหารปฏิวัติยึดอำนาจ ก็ทำให้เมียนมากลายเป็นหลุมดำแห่งข้อมูลข่าวสาร

        ผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนระบุอีกว่า รัฐบาลที่ถูกคนกลุ่มน้อยบงการที่มีสัมพันธ์อย่างล้ำลึกกับผู้นำการเมือง เป็นวิกฤตอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดการจำกัดเสรีภาพในการเสนอข่าว อย่างในอินเดีย ที่อยู่ในอันดับที่ 161 ยิ่งชัดเจนยิ่งขึ้น เศรษฐีที่มีความใกล้ชิดกับนาย Narendra Modi นายกรัฐมนตรีอินเดีย ก็ยึดกุมสื่อกระแสหลักในประะเทศเอาไว้ทั้งหมด ขณะเดียวกัน นายกฯ อินเดียผู้นี้ก็มีกลุ่มแฟนคลับที่คอยจับตารายงานข่าวของเว็บไซต์ที่โจมตีรัฐบาลด้วย โดยจะใช้ปฏิบัติการก่อกวนเว็บไซต์เหล่านี้ ทำให้ผู้สื่อข่าวถูกบังคังให้ต้องตรวจสอบตัวเอง 

       สำหรับในส่วนของไต้หวันเอง คุณ Cedric Alviani ผู้อำนวยการสำนักงานเอเชียตะวันออก องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน ระบุว่า ปีนี้ไต้หวันมีอันดับดีขึ้น 3 อันดับ เป็นอันดับที่ 35 ในปีนี้ นำหน้าเกาหลีใต้ ที่อยู่ในอันดับ 47 ญี่ปุ่น อันดับ 68 แต่ตัวเลขนี้มิได้หมายความว่าสภาพแวดล้อมต่อสื่อมวลชนในไต้หวันดีขึ้นแล้ว แต่หมายความว่า ประเทศอื่น ๆ มีอันดับลดลงมากกว่า 

        เขาระบุว่า แม้สภาพแวดล้อมของสื่อในไต้หวันจะค่อนข้างเข้มแข็ง แต่ก็ยังคงอยู่ในภาวะแบ่งขั้วรุนแรง รายงานข่าวอาชญากรรม ความรุนแรงต่าง ๆ มากมาย ประกอบกับแรงกดดันจากเจ้าของสื่อ ทำให้ผู้สื่อข่าวยากที่จะรายงานข่าวได้อย่างเป็นอิสระ และไม่มีเวลาพอในการตรวจสอบข้อเท็จจริงของข่าว จึงมีช่องทางที่จะก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นกว่านี้  

         คุณ Cedric Alviani ระบุว่า เขาติดตามสถานการณ์ในไต้หวันมานานกว่า 6 ปี ซึ่งก็ยังไม่เห็นว่า จะมีพรรคการเมืองใดพยายามปรับปรุงสภาพแวดล้อมสื่อในไต้หวันอย่างเด่นชัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รัฐบาลทราบดีว่า ไต้หวันกำลังเผชิญหน้ากับการทำสงครามข่าวสาร แต่ไม่มีมาตรการที่ได้ผลใด ๆ  ทำให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นต่อสื่อลดลงเป็นลำดับ 

         นอกจากนี้ เขายังได้เรียกร้องให้รัฐบาลและพรรคการเมืองต่างๆ  ในไต้หวัน ต้องเสนอนโยบายปรับปรุงสภาพแวดล้อมของสื่อในช่วงก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดี 2024 “ทุกครั้งที่ไต้หวันมีการเลือกตั้งสำคัญ ประชาธิปไตยไต้หวันมักจะต้องประสบกับความเสี่ยงครั้งใหญ่ ซึ่งหวังว่า สภาพแวดล้อมของสื่อในไต้หวันจะดีวันดีคืน

๒. รมว. กต. สยบข่าวต่างชาติซ้อมอพยพผู้คนออกจากไต้หวัน 

          นายอู๋จาวเซี่ย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ไต้หวัน สาธารณรัฐจีน ได้ตอบข้อซักถามของคณะกรรมาธิการต่างประเทศ สภานิติบัญญัติไต้หวัน เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เกี่ยวกับข่าวข้อเสนอของสหรัฐฯ ที่ต้องการให้การซ้อมรบ “ฮั่นกวง” ประจำปีของไต้หวัน ควรมีการฝึกซ้อมการอพยพผู้คนออกจากไต้หวัน ตลอดจนการเตรียมแผนอพยพของประเทศต่าง ๆ ในไต้หวัน หากเกิดสงครามขึ้น ซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง โดยนายอู๋ฯ ระบุว่า กระทรวงการต่างประเทศได้โทรศัพท์สอบถามประเทศต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องแล้ว ได้รับคำตอบว่า “ไม่มีประเทศใดที่มีการซ้อมอพยพ” 

         นอกจากนี้ ประเด็นเกี่ยวกับการเลื่อนการส่งมอบอาวุธที่ไต้หวันสั่งซื้อจากสหรัฐฯ นายอู๋ฯ ได้ระบุว่า ตอนนี้แม้แต่สมาชิกรัฐสภาของสหรัฐฯ ก็รู้สึกเขินเมื่อพบกับพวกเรา เพราะเงินก็เก็บไปแล้ว แต่ยังไม่สามารถส่งมอบอาวุธให้ไต้หวันได้ ซึ่ง ส.ส. เหล่านี้ก็พยายามช่วยเหลือไต้หวันเร่งรัดการส่งมอบอาวุธให้ไต้หวัน” 

         ส่วนประเด็นแผนอพยพคนของตนออกจากไต้หวันของบางประเทศนั้น นายอู๋ฯ ได้ตอบปฏิเสธอย่างชัดถ้อยชัดคำว่า สำนักงานผู้แทนต่างชาติประจำไต้หวันทุกแห่งล้วนมีการเตรียมแผนรับมือฉุกเฉินอยู่แล้ว ซึ่งก็จะมีการนำแผนเหล่านี้ออกมาพิจารณาทบทวนทุกปี อย่างของสหรัฐฯ เนื่องจากตอนเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงในไทเป จึงได้ทบทวนว่า พวกเขามีความสามารถพอที่จะรับมือหรือไม่ ก็แค่นี้แหละ นายอู๋ฯ ระบุว่า “เกี่ยวกับเรื่องแผนอพยพ กระทรวงการต่างประเทศได้โทรศัพท์สอบถามทีละสำนักงาน ซึ่งได้คำตอบว่า ไม่มีประเทศใดที่มีแผนการจะซ้อมการอพยพ อย่างเจ้าหน้าที่ของทางการอินโดนีเซีย ก็ได้ออกมาปฏิเสธข่าวดังกล่าวแล้ว ส่วนการซ้อมรบ “ฮั่นกวง” ของไต้หวันในคราวนี้ กระทรวงกลาโหมไต้หวันก็ได้ออกมาปฏิเสธแล้วเช่นเดียวกันว่า ไม่มีเรื่องนี้แต่อย่างใด”

          ส่วนการประชุมเอเปกปีนี้ ที่สหรัฐฯ เป็นเจ้าภาพ มีประเด็นเกี่ยวกับประธานาธิบดีไช่อิงเหวินเข้าร่วมการประชุมผู้นำเศรษฐกิจในเดือน พ.ย. นี้  นายอู๋ฯ ยอมรับตรง ๆ ว่า เป็นเรื่องที่มีความลำบากมาก ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศจะปรึกษาหารือกับประเทศต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 

 

ผู้จัดรายการ

ความคิดเห็นที่เกี่ยวข้อง