The Reporter เปิดโลกทัศน์ใหม่ให้แก่เยาวชน ตอนที่ 6
ใครคือนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน? ใครคือผู้พลิกการศึกษาไต้หวัน?
แปลและรายงานโดย กฤษณัย ไสยประภาสน์
ผลการศึกษารายการหนึ่งของไต้หวันพบว่า บุตรหลานของผู้มีอันจะกินมักจะมีโอกาสสอบเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ในไต้หวัน มากกว่าบุตรหลานของคนจนถึง 6 เท่าตัว ในขณะที่รัฐบาลได้ทุ่มงบประมาณให้แก่นักศึกษาของมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวันสูงกว่าที่ให้กับมหาวิทยาลัยเอกชน ทำให้บุตรหลานคนมีอันจะกินได้รับทรัพยากรจากรัฐบาลค่อนข้างมาก เบื้องหลังของตัวเลขเหล่านี้ ซ่อนปัญหาการศึกษาระดับอุดมศึกษาของไต้หวันอะไรบ้าง? การศึกษาระดับอุดมศึกษาจะทำให้ผู้คนพลิกฐานะของตนได้กระนั้นหรือ? หรือเป็นการจำกัดโอกาสในการพลิกฐานะของผู้คนกันแน่?
ลองทายดูครับ รายได้ของครอบครัวของคุณมากหรือน้อย? รายได้ที่มีอยู่ ทำให้บุตรหลานมีโอกาสเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวันมากน้อยเพียงใด? ใส่ข้อมูลรายได้ของครอบครัวคุณลงไป ดูว่ามีโอกาสเข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวันมากน้อยแค่ไหน?
ลูกหลานคนรวยมีโอกาสเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวันมากกว่าลูกหลานคนจนถึง 6 เท่าตั้ว
ตารางแสดงผลนี้ออกแบบตามวิทยานิพนธ์ “รายได้และทรัพย์สมบัติของครอบครัวกับผลกระทบต่อการศึกษาของบุตรหลาน” โดย ศ. หลินหมิงเหริน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน ร่วมกับเสิ่นฮุยจื้อนักศึกษาระดับปริญญาโท อ้างข้อมูลการยื่นแบบแสดงเสียภาษีบุคคลธรรมดาจากศูนย์ข้อมูล กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง ไต้หวัน ประสานกับข้อมูลการศึกษาของบุตรหลาน วิเคราะห์นักเรียนที่เกิดระห่วางปี 1993-1995 กับรายได้ของครอบครัว พบว่า บุตรหลานของครอบครัวผู้มีอันจะกินมีโอกาสเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาระดับแนวหน้ามากกว่า และมีโอกาสได้รับทรัพยากรมากกว่าด้วย และเมื่อวิเคราะห์จากตัวเลขการวิจัยในครั้งนี้แล้ว จะสามารถวิเคราะห์ลักษณะพิเศษได้ 4 ประการ ดังนี้
“ตัวเลขบอกอะไรเราบ้าง?”
ข้อมูลในผลงานวิจัยชิ้นนี้พบว่า 51% ของนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน มาจากครอบครัวผู้มีอันจะกินที่มีรายได้ต่อครอบครัวในอันดับที่ 20% แรกของครอบครัวทั้งหมดในไต้หวัน การวิจัยยังพบอีกว่า บุตรหลานของครอบครัวที่มีรายได้ต่ำใน 30% หลัง จะมีโอกาสเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวันเพียง 1% ส่วนบุตรหลานครอบครัวที่มีรายได้สูง 30% แรกขึ้นไปจะมีโอกาสเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวันมากขึ้นเป็นลำดับ และเมื่อเป็นครอบครัวที่มีรายได้สูง 10% แรก มีโอกาสเพิ่มขึ้นเป็น 5% หรืออาจถึง 6% ตัวเลขเหล่านี้ชี้ชัดว่า ครอบครัวที่มีรายได้ยิ่งสูง บุตรหลานของตนก็ยิ่งมีโอกาสเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวันมากยิ่งขึ้น
เมื่อวิเคราะห์โดยรวม ระหว่างครอบครัวที่มีรายได้สูงที่สุดกับครอบครัวที่มีรายได้ต่ำที่สุด บุตรหลานครอบครัวผู้มีอันจะกินจะมีโอกาสเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวันสูงกว่าบุตรหลานคนจนถึง 6 เท่าตัว
วิเคราะห์ความหมายของตัวเลข “เปอร์เซ็นต์ไทล์” (Percentile)”
ความหมายของคำว่า “เปอร์เซ็นต์ไทล์” ก็คือ การนำเอาตัวเลขมาเรียงกันจากเล็กถึงใหญ่ แล้วแบ่งเป็น 100 ส่วนเท่า ๆ กัน ซึ่งจะมีจุดแบ่งแต่ละหมายเลขอยู่ 99 จุด โดยที่จุดแบ่งทั้ง 99 จุดนี้ก็คือจำนวนตัวเลขเหล่านี้นั่นเอง เรียงตามลำดับเป็นจุดที่ 1 ใน 100 จุดที่ 2 ใน 100 จุดที่ 3 ใน 100 ….ตามลำดับจนถึงจุดที่ 99 ใน 100 ซึ่งก็คือ “เปอร์เซ็นต์ไทล์”
ข้อมูลที่บทความนี้นำมาศึกษา โดยนำเอา “เปอร์เซ็นต์ไทล์” มาเปรียบเทียบกับรายได้ของครอบครัว หมายความว่า เอาครอบครัวที่มีรายได้ต่ำที่สุดเรียงไว้ในลำดับที่สูงที่สุด ยกตัวอย่างเช่น เราเลือกนักเรียนทั่วประเทศออกมา 100 คน แล้วนำรายได้ต่อครอบครัวมาเรียงแถวจากน้อยไปหามาก หากอยู่ในลำดับที่ 70 ก็ให้นักเรียนคนนั้นยืนอยู่ในลำดับที่ 70 หมายความว่า รายได้ของครอบครัวของเขาดีกว่าคนอื่นอีก 69 คน เราก็อาจเรียกครอบครัวของนักเรียนคนนี้ได้ว่า “อยู่ในลำดับที่ 70 เปอร์เซ็นต์ไทล์”
รายได้ของครอบครัวนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวันระดับกลาง ๆ ประมาณปีละ 1.5 ล้านเหรียญไต้หวัน สูงกว่าของครอบครัวนักศึกษามหาวิทยาลัยของรัฐอื่น ๆ ที่มีปประมาณกว่า 1.1 ล้านเหรียญไต้หวัน และยิ่งสูงกว่าของครอบครัวนักศึกษาในมหาวิทยาลัยเอกชนที่อยู่ที่ประมาณ 1 ล้านเหรียญไต้หวัน หากวิเคราะห์จากการจัดลำดับของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยในไต้หวันแล้ว จะพบว่า ครอบครัวของนักศึกษาที่มีรายได้ระดับปานกลางจะอยู่ในสภาพค่อย ๆ ลดต่ำลง แสดงให้เห็นว่า บุตรหลานของผู้มีอันจะกินมีโอกาสเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยระดับแนวหน้ามากกว่าบุตรหลานของคนจน
มาทำความเข้าใจความหมายของตำแหน่งตรงกลาง
ตำแหน่งตรงกลางมีความหมายว่า เรานำเอาตัวเลขชุดหนึ่งมาเรียงจากน้อยไปหามาก ตัวเลขตรงกลางก็คือ “ตำแหน่งตรงกลาง” ซึ่งหมายความว่ามีตัวเลขอยู่ครึ่งหนึ่งอยู่ในตำแหน่งที่น้อยกว่า และอีกครึ่งหนึ่งอยู่ในตำแหน่งที่มากกว่า หากข้อมูลตัวเลขปรากฎค่ามากที่สุดและน้อยที่สุด อย่างเช่นข้อมูลสถิติรายได้ครัวเรือน ตัวเลขเฉลี่ยจะได้รับผลกระทบจากตัวเลขที่มากที่สุดและน้อยที่สุด ดึงเข้าใกล้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ตอนนี้ ตัวเลขในตำแหน่งตรงกลางจะสามารถสะท้อนให้เห็นถึงสถานะของคนส่วนใหญ่ได้ดีกว่า
ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ได้บรรยายถึงผลกระทบต่อรายได้ของบุตรหลานที่มาจากรายได้ของพ่อ-แม่ โดยในจำนวนนี้ การศึกษา (ทรัพยากรมนุษย์) จะแสดงบทบาทในฐานะตัวกลางที่สำคัญ “ความยืดหยุ่นของรายได้ของบุคคลข้ามรุ่น” เพราะบุคคลที่ได้รับการศึกษา ไม่เพียงแต่จะสามารถสร้างโอกาสให้แก่การเพิ่มรายได้ให้แก่ตนเองในอนาคตแล้ว ยังอาจจะนำส่วนหนึ่งลงทุนในบุตรหลานของตนได้อีกด้วย ซึ่งจะสามารถทำให้บุตรหลานของตนมีโอกาส “รับผล” สำเร็จในลักษณะเดียวกัน (เหมือนกับรุ่นพ่อรุ่นแม่ที่เมื่อนำเอาสิ่งที่ศึกษามายกระดับคุณภาพของตนเอง แล้วนำเอามาลงทุนให้กับรุ่นลูกรุ่นหลาน) ทรัพยากรด้านการศึกษาสามารถนำมาหมุนเวียนใช้ประโยชน์ได้ ส่งผลต่อรุ่นสู่รุ่น ดังนั้น จึงมีผู้เชี่ยวชาญจำนวนไม่น้อยที่เสนอแนวความคิดในการนำเอาการศึกษามาส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงของชนชั้นร่ำรวยและชนชั้นผู้ยากจนในสังคม
คุณหลินเจี่้ยนซวิน นักเศรษฐศาสตร์ไต้หวันอธิบายเพิ่มเติมว่า แม้ในสังคมจะมีความแตกต่างระหว่างคนรวยกับคนจนค่อนข้างมาก แต่หากชนชั้นคนรวยกับคนจนมีการเคลื่อนไหวสลับสับเปลี่ยนกัน ก็จะเป็นการแสดงให้เห็นว่า ความพยายามเริ่มประสบผลแล้ว หากชนชั้นไม่มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงใด ๆ สถานะตั้งแต่เกิดไม่ดีก็ต้องเป็นคนยากจนไปตลอดชีวิต ก็อาจทำให้ผู้คนไม่พยายามที่จะลงทุนให้กับตัวเอง ทำให้กลายเป็นผลที่ไม่ดีที่มาจากการหมุนเวียนในทางลบของสังคม
จากภาพข้างต้นจะเห็นได้ว่า หากนำเอามหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวันมาเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัย 5 10 และ 20 อันดับแรกในไต้หวัน ก็จะอยู่ในสภาพเดียวกัน คือ บุตรหลานจากครอบครัวที่ยิ่งรวยก็จะมีโอกาสสูงชัดเจนมากยิ่งขึ้นที่จะเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยชั้นนำ กลายเป็นปรากฎการณ์ที่คนรวยมีโอกาสสูงที่จะเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยชั้นนำ ความจริงแล้ว สภาพการณ์เช่นนี้ไม่ใช่เกิดขึ้นเฉพาะในไต้หวันเท่านั้น คุณหลินเจี้ยนซวิน ยกตัวอย่างผลงานวิจัยของ ศ. Raj Chetty แห่งคณะเศรษฐศาสตร์สาธารณะ มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด ระบุชัดว่า บุตรหลานของครอบครัวที่มีรายได้สูงร้อยละ 10 มีโอกาสเข้าศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัยสูงถึง 80% ส่วนบุตรหลานจากครอบครัวที่มีรายได้ต่ำ 10% สุดท้าย มีวุฒิการศึกษาปริญญาตรีเพียง 30% เท่านั้น
บทความ 2 ชิ้น ที่ ศ. หลั่วหมิงชิ่ง คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน ที่มาจากการศึกษาวิจัยของนักศึกษาพบว่า นักศึกษาของมหาวิทยาลัยฯ ส่วนใหญ่มาจากครอบครัวที่อยู่ในเขตที่มีฐานะทางเศรษฐกิจค่อนข้างดี ส่วนที่มาจากเขตที่มีการพัฒนาค่อนข้างช้า หรือเขตที่มีรายได้ค่อนข้างต่ำ เป็นเรื่องยากยิ่งกว่าขึ้นสวรรค์ที่คิดจะเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน แม้ในปัจจุบันจะมีวิธีการมากมายในการเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยอย่างโครงการช่วยเหลือเด็กในชนบทให้ได้รับการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ตามโครงการ “ดาวจรัสแสง” ทำให้สภาพการณ์เช่นนี้จะบรรเทาลงก็ตาม แต่ลูกหลานจากครอบครัวยากจนและครอบครัวที่มีฐานะแตกต่างกันยังคงอยู่ในสภาพที่น่าวิตกมาก
การศึกษากำหนดชะตาชีวิตของคนหรือชะชาชีวิตคนกำหนดการศึกษา?
จากแผนภูมิด้านบนจะเห็นได้ว่า นักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน และมหาวิทยาลัยหยางหมิงที่มีภูมิหลังมาจากครอบครัวร่ำรวย มหาวิทยาลัยต้องลงทุนโดยเฉลี่ยต่อนักศึกษา 1 คน มากที่สุด ในขณะที่นักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนมีฐานะทางเศรษฐกิจสู้นักศึกษาระดับแนวหน้าไม่ได้ นักศึกษาแต่ละคนได้รับจัดสรรค่อนข้างน้อย แสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดว่า การจัดสรรทรัพยากรของรัฐบาลอยู่ในสภาพ “กลับตาลปัตร” ซึ่งก็คือ “นักศึกษาที่มีภูมิหลังค่อนข้างดีกลับมีโอกาสได้รับการอุดหนุนมากขึ้น”
เพื่อให้ผู้คนจำนวนมากขึ้นมีโอกาสได้รับการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระบบการศึกษาของไต้หวันก้าวสู่การกระจายการเปิดมหาวิทยาลัยมากขึ้น ประกอบกับการก้าวสู่สังคมที่มีบุตรน้อย ทำให้ในช่วงก่อนและหลังปีทศวรรษที่ 2000 ประชากรในไต้หวันเกือบจะทุกคนที่มีโอกาสเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ ครอบครัวที่มีฐานะทางเศรษฐกิจไม่สู้ดีนัก บุตรหลานจะมีโอกาสเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยชั้นนำค่อนข้างต่ำ ส่วนใหญ่ต้องไปศึกษาในมหาวิทยาลัยเอกชนที่ต้องจ่ายค่าเล่าเรียนค่อนข้างสูง ในขณะที่มหาวิทยาลัยเอกชนได้รับเงินอุดหนุนน้อยกว่ามหาวิทยาลัยของรัฐ ไม่เพียงแต่ต้องรับภาระค่าเล่าเรียนค่อนข้างแพงแล้ว เนื่องจากมหาวิทยาลัยเอกชนมีอันดับไม่สู้ดีนัก ทำให้ไม่มีศักยภาพในการแข่งขันเมื่อต้องออกไปหางานทำ ตกอยู่ในสภาพ “วุฒิปริญญาตรีอ่อนค่าลง”
“การอ่อนค่าลงของวุฒิการศึกษา เป็นตัวเร่งความไม่เสมอภาคของรุ่น” รศ. เฉินหมิงเหลย แห่งสถาบันบัณฑิตศึกษาคณะศึกษาศาสตร์และภาษาไต้หวัน มหาวิทยาลัยชิงหัว ไต้หวัน ระบุว่า เมื่อมีการกระจายการเปิดมหาวิทยาลัยในไต้หวัน พ่อแม่ต่างหวังที่จะให้บุตรหลานของตนได้ศึกษาในมหาวิทยาลัย แม้จะเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่มีค่าเทอมค่อนข้างแพง ครอบครัวที่มีรายได้ต่ำจำนวนมากต้องยื่นขอกู้เงินเพื่อการศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย ทำให้เมื่อจบการศึกษาก็ต้องแบกหนี้ทันที แต่ประเด็นอยู่ที่ว่า ในมหาวิทยาลัยมีอะไร ๆ ให้เรียนรู้จริง ๆ นะหรือ? บางทีทิศทางนโยบายในตอนเริ่มแรกอาจจะไม่ได้ผิดพลาดอะไร เพียงแต่ว่ามันเกิดผลข้างเคียงบางอย่างที่เราคาดคิดไม่ถึง ในขณะที่การจัดสรรทรัพยากรของกระทรวงศึกษาธิการไม่อาจแก้ปัญหาประเด็น “เร่งความไม่เสมอภาคของรุ่น” ได้อย่างแท้จริง
“การวิเคราะห์เบื้องหลงของตัวเลข”
-
ระบบการศึกษาไม่อาจผลักดันการเคลื่อนตัวของชนชั้นในสังคมได้
ผู้เชี่ยวชาญ : รัฐบาลมีทรัพยากรจำกัด ซึ่งต้องทำให้ชนชั้นในสังคมมีการเคลื่อนไหว นอกจากการศึกษาระดับอุดมศึกษาแล้ว ยังควรที่จะต้องบ่มเพาะความสามารถในการศึกษาให้แก่เด็ก ๆ ให้บุตรหลานครอบครัวที่มีรายได้ต่ำและปานกลางได้รับโอกาสทางการศึกษาด้วย (ภาพ :เจิ้งอวี่เฉิน)
กล่าวโดยรวมแล้ว ผลงานวิจัยของวิทยาพนธ์ฉบับนี้ใช้ข้อมูลสถิติตัวเลขเป็นเครื่องพิสูจน์เป็นครั้งแรกในไต้หวันว่า รายได้ของพ่อ-แม่ส่งผลต่อการศึกษาของเด็ก ๆ จริง ๆ คุณหลินเจี้ยนซวินระบุว่า การวิจัยได้อธิบายถึงตัวเลขสถิติต่าง ๆ ไว้อย่างชัดเจนว่า สิ่งที่เรียกว่าผลสำเร็จของการศึกษา จะได้รับผลกระทบจากภูมิหลังของครอบครัว ด้วยเหตุนี้ เมื่อรัฐบาลหรือโรงเรียนใช้กลไกที่มีอยู่มาส่งเสริมให้นักเรียนมี “ผลการศึกษาดี” ในทางความเป็นจริงมันเป็นการส่งเสริมความไม่เป็นธรรมหรือไม่? ทั้งนี้ หากต้องการให้การศึกษามีเป้าหมายเพื่อให้ชนชั้นในสังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น ผู้คนก็ควรคิดว่า กลไกในปัจจุบันของไต้หวันจะสามารถนำไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้นี้ได้หรือไม่?
รศ. เฉินหมิงเหลยเห็นว่า การวิจัยนี้ได้นำเอารายได้มาแบ่งระหว่างความรวยกับจนอย่างสุดขั้ว เพราะด้านหนึ่งแม้รายได้ของครอบครัวจะอยู่ในระดับ 100 เปอร์เซ็นต์ไทล์ บุตรหลานมีโอกาสศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวันในสัดส่วน 7% ซึ่งความจริงแล้วมันก็เป็นเพียงส่วนน้อยนิดเท่านั้น เมื่อมองในอีกแง่มุมหนึ่งจะพบว่า นี่เป็นสัญญลักษณ์ที่ว่า “เป็นเรื่องยากที่จะเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน และก็มิใช่ว่าคนมีเงินจะทำได้เสมอไป”
“อย่างไรก็ดี ผมเห็นด้วยที่บอกว่า การศึกษายังไม่มีการจัดสรรทรัพยากรอย่างถูกต้อง” นั่นเป็นบทสรุปของ รศ. เฉินหมิงเหลย และชี้แจงอีกว่า งานวิจัยนี้เตือนผู้คนไว้ว่า ในสังคมไต้หวันยังมีครอบครัวที่มีรายได้น้อยหรือปานกลางอยู่กลุ่มหนึ่งที่ขาดโอกาสในการการเปลี่ยนแปลงของชนชั้นในสังคม นักศึกษาไม่เพียงแต่ต้องการเรียนหนังสือในมหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่ควรที่จะต้องได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพด้วย ซึ่งโดยปกติแล้วไม่เคยมีใครบอกพ่อแม่หรือบอกกับนักศึกษาโดยตรง บางครั้งต้องจ่ายค่าเทอม ๆ ละถึง 50,000 TWD แต่กลับไม่ได้รับทรัพยากรที่คุ้มค่าและไม่แน่ว่าจะได้ความรู้อะไรกลับมาบ้าง “เรื่องแบบนี้ควรแบออกมาตรวจสอบกันอย่างเปิดเผย”
รัฐบาลจะจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดได้อย่างไร? เพื่อให้ชนชั้นในสังคมมีการเปลี่ยนแปลง ไม่ควรเฉพาะเจาะจงเพียงการศึกษาระดับอุดมศึกษาเท่านั้น รศ. เฉินหมิงเหลยเห็นว่า ความจริงแล้ว มีมหาวิทยาลัยชั้นนำในและต่างประเทศมีหลักสูตรเรียนฟรีแบบออนไลน์เป็นจำนวนมาก ประกอบกับสภาพการมีบุตรน้อยในสังคมไต้หวัน มหาวิทยาลัยที่ไม่มีคุณภาพก็กำลังเผชิญหน้ากับการถูกคัดออกจากระบบการศึกษา วิธีการที่ถูกต้องที่รัฐบาลควรต้องใช้เงินไปกับสิ่งที่มีความจำเป็นและตรงจุดที่สุด ก็ต้องเริ่มต้นที่การบ่มเพาะศักยภาพในการศึกษาให้แกับผู้คน ให้นักศึกษาจากครอบครัวที่มีรายได้ปานกลางหรือต่ำมีความสามารถในการแสวงหาทรัพยากรด้วยตนเอง “เมื่อถึงตอนนั้น การจัดสรรทรัพยากรจะไม่สวนทางกับความจริงรุนแรงเหมือนตอนนี้”
2. ช่องทางการเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาอย่างหลากหลาย ช่วยเหลือนักศึกษากลุ่มเปราะบางได้อย่างจำกัด
การปฏิรูประบอบการศึกษาใหม่ จำเป็นต้องผ่านการสะสมมาอย่างยาวนาน โครงการดาวจรัสแสงหรือช่องทางการคัดเลือกนักศึกษาพิเศษ ล้วนเป็นการทำให้นักศึกษามีศักยภาพมากยิ่งขึ้น มีโอกาสเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยชั้นนำที่เหมาะสมได้ รศ. เฉินหมิงเหลยเห็นว่า บางทีทุกท่านอาจเห็นว่า รูปแบบช่องทางการศึกษาต่อยังหลากหลายไม่พอ แต่ที่ผ่านมามีเพียงการสอบเอ็นทรานซ์เพียงอย่างเดียวเท่านั้นที่จะกำหนดชะตาชีวิตของตนเอง จนมาถึงปัจจุบันที่มีช่องทางการเข้าศึกษาต่อที่หลากหลาย “ทิศทางถูกต้องแล้ว ที่เหลือเพียงรอให้เวลามาทำให้สำเร็จเท่านั้น”
อย่างไรก็ดี มีผู้เชี่ยวชาญเห็นว่า โครงการดาวจรัสแสงเป็นเสมือนหวานแต่เปลือกเท่านั้น ศ. เจิงเจินเจิน อธิการบดีคณะบริหารธุรกิจและอาจารย์ประจำสาขาการเงินการธนาคาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเจี้ยนสิง ยอมรับว่า ในส่วนของโครงการดาวจรัสแสง มหาวิทยาลัยทั่วไปมักจะคัดเลือกนักศึกษาจากโรงเรียนทั่วไปที่ไม่ใช่โรงเรียนชั้นนำ กว่าครึ่งให้เข้าศึกษาในคณะที่ไม่ใช่คณะยอดฮิต อย่าง การเปิดรับนักศึกษาจากพื้นที่ห่างไกลในคณะที่ไม่มีใครเลือก ส่วนนี้คิดว่าเป็นความไม่เป็นธรรมในตัวของมันเองอยู่แล้ว
นอกจากนี้ ศ. เจิงเจินเจิน ยังเห็นว่า รายได้มากน้อยของครอบครัวเป็นเครื่องชี้ว่า พ่อแม่มีความสามารถที่จะลงทุนทั้งทางด้านเวลาและกำลังทรัพย์ลงไปบนตัวลูกของตนหรือไม่ ส่วนกลไกการเข้าศึกษาต่ออย่างหลากหลายในตอนนี้ นักเรียนต้องมีแผนการศึกษา ความถนัด และมีผลงานเกี่ยวกับการเข้าร่วมการแข่งขันประเภทต่าง ๆ “ทุกอย่างต้องมีเงิน และมีการวางแผนอย่างเป็นระบบ ทำในระยะยาว ซึ่งกล่าวในส่วนของครอบครัวผู้มีรายได้น้อยหรือปานกลางแล้วมีความลำบากพอสมควร”
3. พลิกฟื้นชะตาชีวิต ต้องเริ่มต้นตั้งแต่วั
รายได้ของครอบครัวที่ศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำ มีรายได้ค่อนข้างสูง
การเปลี่ยนสถานะของครอบครัวไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่า เราสามารถปรับปรุงวิธีการการศึกษาก่อนวัยเรียน เริ่มเปิดวิสัยทัศน์ตั้งแต่วัยเด็ก (ภาพ: เจิ้งอวี่เฉิน)
“จินตนาการที่ภูมิหลังของครอบครัวมีอิทธิพต่อรูปแบบการใช้ชีวิตของเด็ก” คุณหลินเจี้ยนซวิน บอกว่า สังคมควรที่จะให้เด็ก ๆ มีทางเลือกมากกว่านี้และเร็วกว่านี้ ตนเคยเป็นทหารเกณฑ์แบบบำเพ็ญประโยชน์ให้สังคม โดยทำหน้าที่ที่โรงเรียนในดินแดนห่างไกลที่ตำบลเจียนสือ ซินจู๋ เลยถามเด็ก ๆ บนเขาว่า โตขึ้นอยากเป็นอะไร? เด็ก ๆ ตอบไปในลักษณะเดียวกัน “มีเด็ก ๆ กว่าครึ่งบอกว่าอยากเป็นพยาบาลหรือครู ส่วนอีกครึ่งบอกอยากเป็นนักบาสหรือนักกีฬา” ในขณะที่ ผู้ปกครองในเขตเมืองอาจมีโอกาสที่จะให้พวกเขาไปเรียนต่อเมืองนอกหรือมีโอกาสศึกษาอื่น ๆ ที่มากขึ้น
ความจริง เดิมทีก็ไม่อาจที่จะให้ทุกคนเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวันได้ การเคลื่อนตัวของชนชั้นในสังคม ไม่ควรจะจำกัดอยู่แค่ “การเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยดีๆ” เท่านั้น รศ. เฉินหมิงเหลย บอกอีกว่า ทรัพยากรที่สังคมทุ่มลงไปในเขตพื้นที่ห่างไกลส่วนใหญ่จะเป็นการลงทุนเรื่องสิ่งปลูกสร้างและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เป็นส่วนของฮาร์ดแวร์เท่านั้น ในเขตพื้นที่ห่างไกลมีทั้งสิ่งปลูกสร้าง 5G แล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือจะพัฒนาการศึกษาพื้นฐานในเขตห่างไกลอย่างไร? ขจัดอุปสรรคที่มีต่อการจำกัดวิสัยทัศน์ของเด็ก ๆ ที่เกิดจากภูมิหลังของครอบครัว “ทางเลือกของเด็ก ๆ ในพื้นที่ห่างไกลไม่เพียงแต่จำกัดอยู่แค่เบสบอลหรือพ่อครัวเท่านั้น” แต่จำเป็นต้องเปิดวิสัยทัศน์ของพวกเขา เธอเห็นว่า ต้องส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของชนชั้นในสังคม และก็ไม่ควรเป็นเพียงการแก้ไข “รูปแบบการเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา” เท่านั้น จำเป็นต้องกลับไปเริ่มต้นที่การศึกษาของเด็กวัยก่อนวัยเรียน ควรให้ครอบครัวผู้มีรายได้น้อยหรือปานกลางอาศัยระบบการศึกษาที่สมบูรณ์แบบมาสร้างโอกาสในการพัฒนาเด็ก ๆ
ศ. เฉินหมิงเหลยยกตัวอย่างว่า อย่างเช่นการส่งอาจารย์ในมหาวิทยาลัยลงสู่ชนบท เพื่อแบ่งปันผลการศึกษาวิจัยใหม่ ๆ ของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยให้แก่ครูระดับมัธยมและประถมว่า มีอะไรบ้าง เพื่อให้ครูมีโอกาสนำไปถ่ายทอดให้แก่นักเรียนในพื้นที่ห่างไกลเหล่านี้ ค่อย ๆ เปิดวิสัยทัศน์และโลกทัศน์ของเด็ก ๆ เหล่านี้ นอกจากนี้ ก็ยังอาจพิจารณาปรับปรุงผ่านครูโรงเรียนอนุบาลและประถม เธอยกตัวอย่างหนังสือเล่มหนึ่งที่มีชื่อว่า “ภาษาพ่อแม่” สหรัฐฯ ว่า ในหนังสือเล่มนี้เคยมีการทดลองในส่วนที่เกี่ยวข้อง อย่างการที่มีพ่อแม่บางส่วนวางแผนให้บุตรหลานของตน พูดออกมาว่า “ควรไปนอนแล้ว ลูกต้องเก็บอะไรบ้าง?” แต่ก็มีพ่อแม่บางส่วนมักจะใช้วิธีการ “นับถึง 3 เก็บของเล่นให้เรียบร้อย แล้วไปเข้านอน” การฝึกแบบแรก ไม่เพียงแต่จะทำให้เด็ก ๆ รู้จักวางแผนการอ่านหนังสือของตนเองเท่านั้น แต่ยังช่วยเสริมทัศนะ ตรรกะที่ถูกต้องให้แก่พวกเขาด้วย ดังนั้น ในโรงเรียนอนุบาลหรือประถม คุณครูอาจลองให้คำแนะนำแก่เด็ก ๆ ให้ใช้ความคิดในการเลือกของตัวเอง โดย “ไม่จำเป็นต้องเสียเงินแม้แต่แดงเดียว” ก็มีโอกาสทำให้เด็ก ๆ เกิดการเปลี่ยนแปลงได้
ศ. หลินฉงอิ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหัวฝาน นิวไทเป ได้ยกตัวอย่างผลงานวิจัยของ James Heckman เจ้าของรางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ที่ระบุว่า การบ่มเพาะตั้งแต่วัยเด็กมากเท่าไร ก็จะได้ผลมากเท่านั้น งานวิจัยดังกล่าวยังระบุว่า ผลตอบแทนในการลงทุนด้านการศึกษาของครอบครัวจะอยู่ในช่วงระหว่างอายุ 0-3 ขวบ ครอบครัวลงทุน 1 บาท จะได้รับผลตอบแทน 18 บาท พอมาถึงอายุ 3-4 ขวบ ลงทุน 1 บาท จะได้ผลตอบแทน 7 บาท และมีแนวโน้มในลักษณะเช่นนี้เป็นลำดับ ท่านอธิการบดีหลินฯ ยังได้อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับ “ทฤษฎี 1,000 วัน” ของการศึกษาว่า การกระตุ้นในช่วงก่อน 3 ขวบเป็นเรื่องที่สำคัญมาก อย่างการพูดคุยหรือการอ่านหนังสือให้เด็กฟัง ก็จะมีประโยชน์มาก แม้การเปลี่ยนสถานะของครอบครัวไม่ใช่เรื่องง่ายก็ตาม แต่เขาก็เห็นว่า รัฐบาลไม่จำเป็นใช้งบประมาณมากมาย ก็สามารถลงทุนในการศึกษาก่อนวัยเรียนได้ เช่น การให้นักศึกษาปริญญาโทหรือปริญญาเอกลงสู่ชนบทเล่านิทานให้เด็ก ๆ ฟัง นี่ก็เป็นวิธีการหนึ่ง
สถาบันการศึกษาที่มีทรัพยากรค่อนข้างมาก จะมีนักศึกษาที่มีฐานะทางเศรษฐกิจค่อนข้างดี