close
Rti Thaiดาวน์โหลด Rti App
Open
:::

ชีพจรเศรษฐกิจ วันพฤหัสบดีที่ ๗ กันยายน ๒๕๖๖

  • 07 September, 2023
ชีพจรเศรษฐกิจ
ชีพจรเศรษฐกิจ
ชีพจรเศรษฐกิจ
ชีพจรเศรษฐกิจ
18 ประเทศเป้าหมายนโยบายมุ่งใต้ใหม่ของไต้หวัน

นักวิชาการเผย 4 สาเหตุที่ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคยังคงพุ่งสูงขึ้นแม้สถานการณ์เงินเฟ้อจะเริ่มคลี่คลาย

        ปัจจุบันสถานการณ์เงินเฟ้อสหรัฐฯมีการปรับตัวลงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่จีนกำลังประสบปัญหาเศรษฐกิจถดถอยอันเกิดจากดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ลดต่ำลง อย่างไรก็ตามราคาสินค้าอุปโภคบริโภคในไต้หวันกลับมีแนวโน้มปรับตัวพุ่งสูงขึ้น นักวิชาการวิเคราะห์ว่า การปรับขึ้นของราคาสินค้าประกอบด้วย สาเหตุหลัก 4 ประการดังต่อไปนี้

        ประการแรกเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของห่วงโซ่อุปทาน ในอดีตศูนย์กลางการผลิตของอุตสาหกรรมทั่วโลกได้แก่ประเทศจีน แต่เนื่องจากสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ (Trade War) ตลอดจนความเสี่ยงในการปิดประเทศเพื่อการควบคุมโรคของจีน ก่อให้เกิดนโยบายสำคัญอย่าง “China Plus One” หรือนโยบายการค้า +1 ขึ้น โดยนโยบายดังกล่าวมีการมองหาตลาดการผลิตใหม่นอกเหนือจากจีนเพื่อกระจายห่วงโซ่อุปทาน นอกจากนโยบายดังกล่าวจะเป็นการเพิ่มโอกาสทางการค้าแล้ว ยังเป็นการลดความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจด้วย อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ประกอบการแล้ว การเพิ่มฐานการผลิตเท่ากับการเพิ่มต้นทุนการผลิตด้วย สำหรับผู้ประกอบการขนาดยักษ์ใหญ่แล้ว นโยบายดังกล่าวอาจไม่ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตมากนัก แต่สำหรับบริษัทเล็ก การเพิ่มฐานการผลิตถือเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายอย่างมหาศาล

        สาเหตุประการที่สองได้แก่เป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ปัจจุบันทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญกับเป้าหมายในการลดโลกร้อน ผู้ประกอบการต่างต้องดำเนินธุรกิจตามแนวคิด ESG ซึ่งเป็นแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาขององค์กรอย่างยั่งยืน ย่อมาจาก Environment, Social, และ Governance มีเป้าหมายเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก นอกจากนี้ ในปี 2569 สหภาพยุโรปตั้งเป้าจัดเก็บภาษีคาร์บอน ดังนั้นผู้ประกอบการไต้หวันต่างต้องลงทุนมหาศาลเพื่อให้ธุรกิจดำเนินตามนโยบายดังกล่าวด้วย 

         ประการที่สามได้แก่การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ หลายปีที่ผ่านมาภัยพิบัติที่เกิดขึ้นส่งผลให้โรงงานได้รับความเสียหาย นอกจากนี้อากาศที่ร้อนจัดยังส่งผลให้วัตถุดิบได้รับความเสียหายด้วย เมื่อความเสี่ยงในการเกิดภัยพิบัติเพิ่มขึ้น บริษัทประกันต่างขึ้นเบี้ยประกันเพื่อให้สอดคล้องกับมูลค่าความเสียหาย จึงส่งผลให้ต้นทุนในการผลิตเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

         ประการสุดท้ายได้แก่ความเสี่ยงทางรัฐภูมิศาสตร์ เนื่องจากปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างสองฝั่งช่องแคบ ส่งผลให้ไต้หวันกลายเป็นประเทศเสี่ยงเกิดสงคราม ด้วยเหตุนี้ Lloyds of London บริษัทประกันภัยชั้นนำจากประเทศอังกฤษ ประกาศขึ้นอัตราเบี้ยประกันภัยและลดความคุ้มครองต่อความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับไต้หวัน ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตตลอดจนความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากเหตุผลต่างๆที่กล่าวไปข้างต้น สินค้าอุปโภคบริโภคในไต้หวันจึงมีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้น แม้สถานการณ์เงินเฟ้อทั่วโลกจะเริ่มคลี่คลายแล้วก็ตาม 

บรรยากาศเศรษฐกิจกระเตื้องขึ้น? ก.ค. ขยับเป็นสัญญานเหลือง-น้ำเงิน 

         ในช่วงที่ผ่านมา ดัชนีอุตสาหกรรมภาคการผลิตเกี่ยวกับสินค้าอัจฉริยะหรือ AI อัดฉีดพลังแห่งชีวิตใหม่ดันบรรยากาศสัญญานไฟขยับจากน้ำเงินเป็น “เหลืองน้ำเงิน” ซึ่งแสดงให้เห็นว่าบรรยากาศทางเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้นจากเดิม 

         สถาบันวิจัยเศรษฐกิจไต้หวันเปิดเผยว่า การสั่งซื้อสินค้าใหม่ ๆ ประสานกับช่วงไฮซีซั่นไตรมาส 4 ของผลิตภัณฑ์สินค้าเทคโนโลยี มีการสต๊อกสินค้าเพิ่มขึ้น การส่งออก ใบสั่งซื้อสินค้าและการผลิตก็เริ่มฟื้นตัว ดันให้ดัชนีอุปสงส์พุ่งสูงขึ้น ภาคการผลิตก็มีทิศทางในทางที่ดีขึ้น โดยตัวเลขดัชนีภาคการผลิตเดือน ก.ค. จาก 9.9 คะแนน เป็น 11.13 คะแนน ทำให้สัญญานบรรยากาศทางเศรษฐกิจ “น้ำเงิน” 4 ดวงต่อเนื่องยุติลง ขยับขึ้นไปที่ “เหลืองน้ำเงิน” 

         นายชิวต๋าเซิงนักวิจัยแห่งสถาบันวิจัยเศรษฐกิจไต้หวัน วิเคราะห์ว่า แม้สัญญานไฟบรรยากาศทางเศรษฐกิจจะดีขึ้น แต่ก็ยังมีแรงขับเคลื่อนไม่แรงมากนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคการเงินทั่วโลกยังคงอยู่ภายใต้บรรยากาศของการปรับขึ้นดอกเบี้ย อุปสงส์ของตลาดปลายทางอย่างยุโรป และสหรัฐฯ ยังคงอ่อนล้า การสั่งซื้อสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศก็ยังคงอยู่ในสภาพติดลบ ทำให้สัญญานบรรยากาศทางเศรษฐกิจมีโอกาสที่จะปรับตัวลดลงในสภาพ “ถดถอย” อยู่ตลอดเวลา 

         นายชิวฯ ได้ยกตัวอย่างที่บรรยากาศทางเศรษฐกิจอยู่ในสภาพ “เหลืองน้ำเงิน” คราวที่แล้ว ต่อมาก็ลดลงเป็น “น้ำเงิน” (ถดถอย) ต่อเนื่อง 3 เดือน ก.พ.ปีนี้ “เหลืองน้ำเงิน” ชั่วคราว ต่อมาก็กลายเป็น “น้ำเงิน” คือถดถอยต่อเนื่องถึง 4 เดือน แสดงให้เห็นว่าอุปสงส์ยังคงไม่เข้มแข็งมากนัก แต่เมื่อสัญญานเป็น “เขียว” ระดับกลาง ๆ บรรยากาศทางเศรษฐกิจตกต่ำจนถึงจุดต่ำสุดแล้ว ก็ทำให้เริ่มฟื้นตัวอย่างเห็นได้ชัด

         ศ. อู๋ต้าเยิ้น ผู้อำนวยการศูนย์เศรษฐกิจ มหาวิทยาลัยจงหยาง มีความเห็นว่า ฝ่าย “เหยี่ยว” ใน FED เริ่มมีความคิดเห็นมากขึ้น การขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ก็ยังไม่ยุติลง ประกอบกับหนี้ครัวเรือนของสหรัฐฯ ก็เพิ่มขึ้น หนี้สินจากบัตรเครดิตเพิ่มขึ้น ตอนนี้ก็ยังต้องเผชิญหน้ากับราคาพลังงานที่ถีบตัวสูงขึ้น ภาคการผลิตทั่วโลกไม่สู้ดีนัก ครึ่งแรกของปีนี้ เศรษฐกิจยังคงต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายอันแหลมคม การลงทุนของภาคธุรกิจและการบริโภคของภาคเอกชนก็อ่อนตัวลง 

         สถาบันวิจัยเศรษฐกิจไต้หวันวิเคราะห์เพิ่มเติมว่า เนื่องจากอุปกรณ์อะไหล่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ได้รับอนิสงส์จาก การพัฒนา AI ที่มีความต้องการเพิ่มขึ้น ทำให้สินค้าด้านเทคโนโลยีก้าวสู่ช่วงไฮซีซั่น ส่วนหุ้นที่เกี่ยวกับ AI ขยับสูงขึ้นเกินกว่า 30% 

แบงก์สัญชาติไต้หวันปล่อยกู้ในประเทศมุ่งใต้ใหม่อ่อนแรงลง

       สถิติของคณะกรรมการกำกับดูแลสถาบันการเงินไต้หวัน ระบุว่า จนถึงสิ้นเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา ธนาคารสัญชาติไต้หวันให้สินเชื่อเงินกู้แก่ลูกค้าใน 18 ประเทศ มุ่งใต้ใหม่ รวม 1.587 ล้านล้านเหรียญไต้หวัน โดยเพิ่มขึ้น 10,400 ล้านต่อเดือน เป็นยอดเพิ่มขึ้นที่ต่ำที่สุดในรอบ 3 เดือน ชี้ชัดว่า การปล่อยกู้เริ่มอ่อนแรงลงส่วนยอดปล่อยกู้ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้เพิ่มขึ้น 85,400 ล้าน ทุบเป้าหมายที่วางไว้ของปีนี้ที่ 6 หมื่นล้าน ถึง 142% 

      ผู้บริหารสถาบันการเงินในไต้หวันมีความเห็นว่า การปล่อยสินเชื่อ 18 ประเทศมุ่งใต้ใหม่ในเดือน ก.ค. ลดความร้อนแรงลง อาจจะเป็นเพราะว่า ตัวเลขฐานเดือน มิ.ย. ค่อนข้างสูง ส่วนการปล่อยสินเชื่อในช่วงต่อไป ก็คงขึ้นอยู่กับการขับเคลื่อนของตลาดอาเซียนโดยรวม 

      ในปีนี้ บรรดาประเทศมุ่งใต้ใหม่ ออสเตรเลีย และกัมพูชาได้ประกาศขึ้นดอกเบี้ย ทำให้ความต้องการเงินกู้ลดลง ก็ยิ่งทำให้ดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้น โดยเมื่ออัตราดอกเบี้ยคงที่เงินกู้ในกัมพูชาถูกดึงให้สูงขึ้น กดดันให้ผลกำไรลดลง กระทั่งบางธนาคารยังได้ระบุการปล่อยเงินกู้ในกัมพูชาเป็นหนี้เสีย จนทำให้ผลกำไรถูกกลืนกินไป 

      สำหรับ 3 ประเทศที่ธนาคารสัญชาติไต้หวันปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้นมากที่สุด ได้แก่ อินเดีย 79,100 ล้าน ออสเตรเลีย 38,800 ล้าน และฟิลิปปินส์ 6,700 ล้าน 

ผู้จัดรายการ

ความคิดเห็นที่เกี่ยวข้อง