close
Rti Thaiดาวน์โหลด Rti App
Open
:::

The Reporter เปิดโลกทัศน์ใหม่ให้แก่เยาวชน EP.6

  • 15 July, 2023
The Reporter เปิดโลกทัศน์ใหม่แก่เยาวชน
The Reporter เปิดโลกทัศน์ใหม่ให้แก่เยาวชน EP.6
The Reporter เปิดโลกทัศน์ใหม่แก่เยาวชน
The Reporter เปิดโลกทัศน์ใหม่แก่เยาวชน
The Reporter เปิดโลกทัศน์ใหม่แก่เยาวชน
The Reporter เปิดโลกทัศน์ใหม่แก่เยาวชน
The Reporter เปิดโลกทัศน์ใหม่แก่เยาวชน
The Reporter เปิดโลกทัศน์ใหม่แก่เยาวชน
The Reporter เปิดโลกทัศน์ใหม่แก่เยาวชน

The Reporter เปิดโลกทัศน์ใหม่ให้แก่เยาวชน ตอนที่ 6

ใครคือนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน? ใครคือผู้พลิกการศึกษาไต้หวัน? 

แปลและรายงานโดย กฤษณัย ไสยประภาสน์ 

             ผลการศึกษารายการหนึ่งของไต้หวันพบว่า บุตรหลานของผู้มีอันจะกินมักจะมีโอกาสสอบเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ในไต้หวัน มากกว่าบุตรหลานของคนจนถึง 6 เท่าตัว ในขณะที่รัฐบาลได้ทุ่มงบประมาณให้แก่นักศึกษาของมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวันสูงกว่าที่ให้กับมหาวิทยาลัยเอกชน ทำให้บุตรหลานคนมีอันจะกินได้รับทรัพยากรจากรัฐบาลค่อนข้างมาก เบื้องหลังของตัวเลขเหล่านี้ ซ่อนปัญหาการศึกษาระดับอุดมศึกษาของไต้หวันอะไรบ้าง? การศึกษาระดับอุดมศึกษาจะทำให้ผู้คนพลิกฐานะของตนได้กระนั้นหรือ? หรือเป็นการจำกัดโอกาสในการพลิกฐานะของผู้คนกันแน่? 

             ลองทายดูครับ รายได้ของครอบครัวของคุณมากหรือน้อย? รายได้ที่มีอยู่ ทำให้บุตรหลานมีโอกาสเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวันมากน้อยเพียงใด? ใส่ข้อมูลรายได้ของครอบครัวคุณลงไป ดูว่ามีโอกาสเข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวันมากน้อยแค่ไหน?

ลูกหลานคนรวยมีโอกาสเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวันมากกว่าลูกหลานคนจนถึง 6 เท่าตั้ว

             ตารางแสดงผลนี้ออกแบบตามวิทยานิพนธ์ “รายได้และทรัพย์สมบัติของครอบครัวกับผลกระทบต่อการศึกษาของบุตรหลาน”  โดย ศ. หลินหมิงเหริน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน ร่วมกับเสิ่นฮุยจื้อนักศึกษาระดับปริญญาโท อ้างข้อมูลการยื่นแบบแสดงเสียภาษีบุคคลธรรมดาจากศูนย์ข้อมูล กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง ไต้หวัน ประสานกับข้อมูลการศึกษาของบุตรหลาน วิเคราะห์นักเรียนที่เกิดระห่วางปี 1993-1995 กับรายได้ของครอบครัว พบว่า บุตรหลานของครอบครัวผู้มีอันจะกินมีโอกาสเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาระดับแนวหน้ามากกว่า และมีโอกาสได้รับทรัพยากรมากกว่าด้วย และเมื่อวิเคราะห์จากตัวเลขการวิจัยในครั้งนี้แล้ว จะสามารถวิเคราะห์ลักษณะพิเศษได้ 4 ประการ ดังนี้ 

“ตัวเลขบอกอะไรเราบ้าง?” 

         ข้อมูลในผลงานวิจัยชิ้นนี้พบว่า 51% ของนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน มาจากครอบครัวผู้มีอันจะกินที่มีรายได้ต่อครอบครัวในอันดับที่ 20% แรกของครอบครัวทั้งหมดในไต้หวัน การวิจัยยังพบอีกว่า บุตรหลานของครอบครัวที่มีรายได้ต่ำใน 30% หลัง จะมีโอกาสเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวันเพียง 1% ส่วนบุตรหลานครอบครัวที่มีรายได้สูง 30% แรกขึ้นไปจะมีโอกาสเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวันมากขึ้นเป็นลำดับ และเมื่อเป็นครอบครัวที่มีรายได้สูง 10% แรก มีโอกาสเพิ่มขึ้นเป็น 5% หรืออาจถึง 6% ตัวเลขเหล่านี้ชี้ชัดว่า ครอบครัวที่มีรายได้ยิ่งสูง บุตรหลานของตนก็ยิ่งมีโอกาสเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวันมากยิ่งขึ้น 

        เมื่อวิเคราะห์โดยรวม ระหว่างครอบครัวที่มีรายได้สูงที่สุดกับครอบครัวที่มีรายได้ต่ำที่สุด บุตรหลานครอบครัวผู้มีอันจะกินจะมีโอกาสเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวันสูงกว่าบุตรหลานคนจนถึง 6 เท่าตัว 

วิเคราะห์ความหมายของตัวเลข “เปอร์เซ็นต์ไทล์” (Percentile)” 

       ความหมายของคำว่า “เปอร์เซ็นต์ไทล์” ก็คือ การนำเอาตัวเลขมาเรียงกันจากเล็กถึงใหญ่ แล้วแบ่งเป็น 100 ส่วนเท่า ๆ กัน  ซึ่งจะมีจุดแบ่งแต่ละหมายเลขอยู่ 99 จุด โดยที่จุดแบ่งทั้ง 99 จุดนี้ก็คือจำนวนตัวเลขเหล่านี้นั่นเอง เรียงตามลำดับเป็นจุดที่ 1 ใน 100 จุดที่ 2 ใน 100 จุดที่ 3 ใน 100 ….ตามลำดับจนถึงจุดที่ 99 ใน 100 ซึ่งก็คือ “เปอร์เซ็นต์ไทล์” 

      ข้อมูลที่บทความนี้นำมาศึกษา โดยนำเอา “เปอร์เซ็นต์ไทล์” มาเปรียบเทียบกับรายได้ของครอบครัว หมายความว่า เอาครอบครัวที่มีรายได้ต่ำที่สุดเรียงไว้ในลำดับที่สูงที่สุด ยกตัวอย่างเช่น เราเลือกนักเรียนทั่วประเทศออกมา 100 คน แล้วนำรายได้ต่อครอบครัวมาเรียงแถวจากน้อยไปหามาก หากอยู่ในลำดับที่ 70 ก็ให้นักเรียนคนนั้นยืนอยู่ในลำดับที่ 70 หมายความว่า รายได้ของครอบครัวของเขาดีกว่าคนอื่นอีก 69 คน เราก็อาจเรียกครอบครัวของนักเรียนคนนี้ได้ว่า “อยู่ในลำดับที่ 70 เปอร์เซ็นต์ไทล์”

      รายได้ของครอบครัวนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวันระดับกลาง ๆ ประมาณปีละ 1.5 ล้านเหรียญไต้หวัน สูงกว่าของครอบครัวนักศึกษามหาวิทยาลัยของรัฐอื่น ๆ ที่มีปประมาณกว่า 1.1 ล้านเหรียญไต้หวัน และยิ่งสูงกว่าของครอบครัวนักศึกษาในมหาวิทยาลัยเอกชนที่อยู่ที่ประมาณ 1 ล้านเหรียญไต้หวัน หากวิเคราะห์จากการจัดลำดับของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยในไต้หวันแล้ว จะพบว่า ครอบครัวของนักศึกษาที่มีรายได้ระดับปานกลางจะอยู่ในสภาพค่อย ๆ ลดต่ำลง แสดงให้เห็นว่า บุตรหลานของผู้มีอันจะกินมีโอกาสเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยระดับแนวหน้ามากกว่าบุตรหลานของคนจน 

มาทำความเข้าใจความหมายของตำแหน่งตรงกลาง 

         ตำแหน่งตรงกลางมีความหมายว่า เรานำเอาตัวเลขชุดหนึ่งมาเรียงจากน้อยไปหามาก ตัวเลขตรงกลางก็คือ “ตำแหน่งตรงกลาง” ซึ่งหมายความว่ามีตัวเลขอยู่ครึ่งหนึ่งอยู่ในตำแหน่งที่น้อยกว่า และอีกครึ่งหนึ่งอยู่ในตำแหน่งที่มากกว่า หากข้อมูลตัวเลขปรากฎค่ามากที่สุดและน้อยที่สุด อย่างเช่นข้อมูลสถิติรายได้ครัวเรือน ตัวเลขเฉลี่ยจะได้รับผลกระทบจากตัวเลขที่มากที่สุดและน้อยที่สุด ดึงเข้าใกล้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ตอนนี้ ตัวเลขในตำแหน่งตรงกลางจะสามารถสะท้อนให้เห็นถึงสถานะของคนส่วนใหญ่ได้ดีกว่า 

        ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ได้บรรยายถึงผลกระทบต่อรายได้ของบุตรหลานที่มาจากรายได้ของพ่อ-แม่ โดยในจำนวนนี้ การศึกษา (ทรัพยากรมนุษย์) จะแสดงบทบาทในฐานะตัวกลางที่สำคัญ “ความยืดหยุ่นของรายได้ของบุคคลข้ามรุ่น”  เพราะบุคคลที่ได้รับการศึกษา ไม่เพียงแต่จะสามารถสร้างโอกาสให้แก่การเพิ่มรายได้ให้แก่ตนเองในอนาคตแล้ว ยังอาจจะนำส่วนหนึ่งลงทุนในบุตรหลานของตนได้อีกด้วย ซึ่งจะสามารถทำให้บุตรหลานของตนมีโอกาส “รับผล” สำเร็จในลักษณะเดียวกัน (เหมือนกับรุ่นพ่อรุ่นแม่ที่เมื่อนำเอาสิ่งที่ศึกษามายกระดับคุณภาพของตนเอง แล้วนำเอามาลงทุนให้กับรุ่นลูกรุ่นหลาน) ทรัพยากรด้านการศึกษาสามารถนำมาหมุนเวียนใช้ประโยชน์ได้ ส่งผลต่อรุ่นสู่รุ่น ดังนั้น จึงมีผู้เชี่ยวชาญจำนวนไม่น้อยที่เสนอแนวความคิดในการนำเอาการศึกษามาส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงของชนชั้นร่ำรวยและชนชั้นผู้ยากจนในสังคม  

       คุณหลินเจี่้ยนซวิน นักเศรษฐศาสตร์ไต้หวันอธิบายเพิ่มเติมว่า แม้ในสังคมจะมีความแตกต่างระหว่างคนรวยกับคนจนค่อนข้างมาก แต่หากชนชั้นคนรวยกับคนจนมีการเคลื่อนไหวสลับสับเปลี่ยนกัน ก็จะเป็นการแสดงให้เห็นว่า ความพยายามเริ่มประสบผลแล้ว หากชนชั้นไม่มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงใด ๆ สถานะตั้งแต่เกิดไม่ดีก็ต้องเป็นคนยากจนไปตลอดชีวิต ก็อาจทำให้ผู้คนไม่พยายามที่จะลงทุนให้กับตัวเอง ทำให้กลายเป็นผลที่ไม่ดีที่มาจากการหมุนเวียนในทางลบของสังคม 

      จากภาพข้างต้นจะเห็นได้ว่า หากนำเอามหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวันมาเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัย 5 10 และ 20 อันดับแรกในไต้หวัน ก็จะอยู่ในสภาพเดียวกัน คือ บุตรหลานจากครอบครัวที่ยิ่งรวยก็จะมีโอกาสสูงชัดเจนมากยิ่งขึ้นที่จะเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยชั้นนำ กลายเป็นปรากฎการณ์ที่คนรวยมีโอกาสสูงที่จะเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยชั้นนำ ความจริงแล้ว สภาพการณ์เช่นนี้ไม่ใช่เกิดขึ้นเฉพาะในไต้หวันเท่านั้น คุณหลินเจี้ยนซวิน ยกตัวอย่างผลงานวิจัยของ ศ. Raj Chetty แห่งคณะเศรษฐศาสตร์สาธารณะ มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด ระบุชัดว่า บุตรหลานของครอบครัวที่มีรายได้สูงร้อยละ 10 มีโอกาสเข้าศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัยสูงถึง 80% ส่วนบุตรหลานจากครอบครัวที่มีรายได้ต่ำ 10% สุดท้าย มีวุฒิการศึกษาปริญญาตรีเพียง 30% เท่านั้น 

      บทความ 2 ชิ้น ที่ ศ. หลั่วหมิงชิ่ง คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน ที่มาจากการศึกษาวิจัยของนักศึกษาพบว่า นักศึกษาของมหาวิทยาลัยฯ ส่วนใหญ่มาจากครอบครัวที่อยู่ในเขตที่มีฐานะทางเศรษฐกิจค่อนข้างดี ส่วนที่มาจากเขตที่มีการพัฒนาค่อนข้างช้า หรือเขตที่มีรายได้ค่อนข้างต่ำ เป็นเรื่องยากยิ่งกว่าขึ้นสวรรค์ที่คิดจะเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน  แม้ในปัจจุบันจะมีวิธีการมากมายในการเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยอย่างโครงการช่วยเหลือเด็กในชนบทให้ได้รับการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ตามโครงการ “ดาวจรัสแสง” ทำให้สภาพการณ์เช่นนี้จะบรรเทาลงก็ตาม แต่ลูกหลานจากครอบครัวยากจนและครอบครัวที่มีฐานะแตกต่างกันยังคงอยู่ในสภาพที่น่าวิตกมาก  

การศึกษากำหนดชะตาชีวิตของคนหรือชะชาชีวิตคนกำหนดการศึกษา? 

       จากแผนภูมิด้านบนจะเห็นได้ว่า นักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน และมหาวิทยาลัยหยางหมิงที่มีภูมิหลังมาจากครอบครัวร่ำรวย มหาวิทยาลัยต้องลงทุนโดยเฉลี่ยต่อนักศึกษา 1 คน มากที่สุด ในขณะที่นักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนมีฐานะทางเศรษฐกิจสู้นักศึกษาระดับแนวหน้าไม่ได้ นักศึกษาแต่ละคนได้รับจัดสรรค่อนข้างน้อย แสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดว่า การจัดสรรทรัพยากรของรัฐบาลอยู่ในสภาพ “กลับตาลปัตร” ซึ่งก็คือ “นักศึกษาที่มีภูมิหลังค่อนข้างดีกลับมีโอกาสได้รับการอุดหนุนมากขึ้น” 

       เพื่อให้ผู้คนจำนวนมากขึ้นมีโอกาสได้รับการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระบบการศึกษาของไต้หวันก้าวสู่การกระจายการเปิดมหาวิทยาลัยมากขึ้น ประกอบกับการก้าวสู่สังคมที่มีบุตรน้อย ทำให้ในช่วงก่อนและหลังปีทศวรรษที่ 2000 ประชากรในไต้หวันเกือบจะทุกคนที่มีโอกาสเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ ครอบครัวที่มีฐานะทางเศรษฐกิจไม่สู้ดีนัก บุตรหลานจะมีโอกาสเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยชั้นนำค่อนข้างต่ำ ส่วนใหญ่ต้องไปศึกษาในมหาวิทยาลัยเอกชนที่ต้องจ่ายค่าเล่าเรียนค่อนข้างสูง ในขณะที่มหาวิทยาลัยเอกชนได้รับเงินอุดหนุนน้อยกว่ามหาวิทยาลัยของรัฐ ไม่เพียงแต่ต้องรับภาระค่าเล่าเรียนค่อนข้างแพงแล้ว เนื่องจากมหาวิทยาลัยเอกชนมีอันดับไม่สู้ดีนัก ทำให้ไม่มีศักยภาพในการแข่งขันเมื่อต้องออกไปหางานทำ ตกอยู่ในสภาพ “วุฒิปริญญาตรีอ่อนค่าลง” 

      “การอ่อนค่าลงของวุฒิการศึกษา เป็นตัวเร่งความไม่เสมอภาคของรุ่น” รศ. เฉินหมิงเหลย แห่งสถาบันบัณฑิตศึกษาคณะศึกษาศาสตร์และภาษาไต้หวัน มหาวิทยาลัยชิงหัว ไต้หวัน ระบุว่า เมื่อมีการกระจายการเปิดมหาวิทยาลัยในไต้หวัน พ่อแม่ต่างหวังที่จะให้บุตรหลานของตนได้ศึกษาในมหาวิทยาลัย  แม้จะเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่มีค่าเทอมค่อนข้างแพง ครอบครัวที่มีรายได้ต่ำจำนวนมากต้องยื่นขอกู้เงินเพื่อการศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย ทำให้เมื่อจบการศึกษาก็ต้องแบกหนี้ทันที แต่ประเด็นอยู่ที่ว่า ในมหาวิทยาลัยมีอะไร ๆ ให้เรียนรู้จริง ๆ นะหรือ? บางทีทิศทางนโยบายในตอนเริ่มแรกอาจจะไม่ได้ผิดพลาดอะไร เพียงแต่ว่ามันเกิดผลข้างเคียงบางอย่างที่เราคาดคิดไม่ถึง ในขณะที่การจัดสรรทรัพยากรของกระทรวงศึกษาธิการไม่อาจแก้ปัญหาประเด็น “เร่งความไม่เสมอภาคของรุ่น” ได้อย่างแท้จริง  

“การวิเคราะห์เบื้องหลงของตัวเลข” 

  1. ระบบการศึกษาไม่อาจผลักดันการเคลื่อนตัวของชนชั้นในสังคมได้ 

 

ผู้เชี่ยวชาญ : รัฐบาลมีทรัพยากรจำกัด ซึ่งต้องทำให้ชนชั้นในสังคมมีการเคลื่อนไหว นอกจากการศึกษาระดับอุดมศึกษาแล้ว ยังควรที่จะต้องบ่มเพาะความสามารถในการศึกษาให้แก่เด็ก ๆ ให้บุตรหลานครอบครัวที่มีรายได้ต่ำและปานกลางได้รับโอกาสทางการศึกษาด้วย (ภาพ :เจิ้งอวี่เฉิน) 

 

        กล่าวโดยรวมแล้ว ผลงานวิจัยของวิทยาพนธ์ฉบับนี้ใช้ข้อมูลสถิติตัวเลขเป็นเครื่องพิสูจน์เป็นครั้งแรกในไต้หวันว่า รายได้ของพ่อ-แม่ส่งผลต่อการศึกษาของเด็ก ๆ จริง ๆ คุณหลินเจี้ยนซวินระบุว่า การวิจัยได้อธิบายถึงตัวเลขสถิติต่าง ๆ ไว้อย่างชัดเจนว่า สิ่งที่เรียกว่าผลสำเร็จของการศึกษา จะได้รับผลกระทบจากภูมิหลังของครอบครัว ด้วยเหตุนี้ เมื่อรัฐบาลหรือโรงเรียนใช้กลไกที่มีอยู่มาส่งเสริมให้นักเรียนมี “ผลการศึกษาดี” ในทางความเป็นจริงมันเป็นการส่งเสริมความไม่เป็นธรรมหรือไม่? ทั้งนี้ หากต้องการให้การศึกษามีเป้าหมายเพื่อให้ชนชั้นในสังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น ผู้คนก็ควรคิดว่า กลไกในปัจจุบันของไต้หวันจะสามารถนำไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้นี้ได้หรือไม่? 

       รศ. เฉินหมิงเหลยเห็นว่า การวิจัยนี้ได้นำเอารายได้มาแบ่งระหว่างความรวยกับจนอย่างสุดขั้ว เพราะด้านหนึ่งแม้รายได้ของครอบครัวจะอยู่ในระดับ 100 เปอร์เซ็นต์ไทล์ บุตรหลานมีโอกาสศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวันในสัดส่วน 7% ซึ่งความจริงแล้วมันก็เป็นเพียงส่วนน้อยนิดเท่านั้น เมื่อมองในอีกแง่มุมหนึ่งจะพบว่า นี่เป็นสัญญลักษณ์ที่ว่า “เป็นเรื่องยากที่จะเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน และก็มิใช่ว่าคนมีเงินจะทำได้เสมอไป” 

    “อย่างไรก็ดี ผมเห็นด้วยที่บอกว่า การศึกษายังไม่มีการจัดสรรทรัพยากรอย่างถูกต้อง” นั่นเป็นบทสรุปของ รศ. เฉินหมิงเหลย และชี้แจงอีกว่า งานวิจัยนี้เตือนผู้คนไว้ว่า ในสังคมไต้หวันยังมีครอบครัวที่มีรายได้น้อยหรือปานกลางอยู่กลุ่มหนึ่งที่ขาดโอกาสในการการเปลี่ยนแปลงของชนชั้นในสังคม นักศึกษาไม่เพียงแต่ต้องการเรียนหนังสือในมหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่ควรที่จะต้องได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพด้วย ซึ่งโดยปกติแล้วไม่เคยมีใครบอกพ่อแม่หรือบอกกับนักศึกษาโดยตรง บางครั้งต้องจ่ายค่าเทอม ๆ ละถึง 50,000 TWD แต่กลับไม่ได้รับทรัพยากรที่คุ้มค่าและไม่แน่ว่าจะได้ความรู้อะไรกลับมาบ้าง “เรื่องแบบนี้ควรแบออกมาตรวจสอบกันอย่างเปิดเผย” 

      รัฐบาลจะจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดได้อย่างไร? เพื่อให้ชนชั้นในสังคมมีการเปลี่ยนแปลง ไม่ควรเฉพาะเจาะจงเพียงการศึกษาระดับอุดมศึกษาเท่านั้น รศ. เฉินหมิงเหลยเห็นว่า ความจริงแล้ว มีมหาวิทยาลัยชั้นนำในและต่างประเทศมีหลักสูตรเรียนฟรีแบบออนไลน์เป็นจำนวนมาก ประกอบกับสภาพการมีบุตรน้อยในสังคมไต้หวัน มหาวิทยาลัยที่ไม่มีคุณภาพก็กำลังเผชิญหน้ากับการถูกคัดออกจากระบบการศึกษา วิธีการที่ถูกต้องที่รัฐบาลควรต้องใช้เงินไปกับสิ่งที่มีความจำเป็นและตรงจุดที่สุด ก็ต้องเริ่มต้นที่การบ่มเพาะศักยภาพในการศึกษาให้แกับผู้คน ให้นักศึกษาจากครอบครัวที่มีรายได้ปานกลางหรือต่ำมีความสามารถในการแสวงหาทรัพยากรด้วยตนเอง “เมื่อถึงตอนนั้น การจัดสรรทรัพยากรจะไม่สวนทางกับความจริงรุนแรงเหมือนตอนนี้” 

2. ช่องทางการเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาอย่างหลากหลาย ช่วยเหลือนักศึกษากลุ่มเปราะบางได้อย่างจำกัด 

          การปฏิรูประบอบการศึกษาใหม่ จำเป็นต้องผ่านการสะสมมาอย่างยาวนาน โครงการดาวจรัสแสงหรือช่องทางการคัดเลือกนักศึกษาพิเศษ ล้วนเป็นการทำให้นักศึกษามีศักยภาพมากยิ่งขึ้น มีโอกาสเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยชั้นนำที่เหมาะสมได้ รศ. เฉินหมิงเหลยเห็นว่า บางทีทุกท่านอาจเห็นว่า รูปแบบช่องทางการศึกษาต่อยังหลากหลายไม่พอ แต่ที่ผ่านมามีเพียงการสอบเอ็นทรานซ์เพียงอย่างเดียวเท่านั้นที่จะกำหนดชะตาชีวิตของตนเอง จนมาถึงปัจจุบันที่มีช่องทางการเข้าศึกษาต่อที่หลากหลาย “ทิศทางถูกต้องแล้ว ที่เหลือเพียงรอให้เวลามาทำให้สำเร็จเท่านั้น” 

         อย่างไรก็ดี มีผู้เชี่ยวชาญเห็นว่า โครงการดาวจรัสแสงเป็นเสมือนหวานแต่เปลือกเท่านั้น ศ. เจิงเจินเจิน อธิการบดีคณะบริหารธุรกิจและอาจารย์ประจำสาขาการเงินการธนาคาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเจี้ยนสิง ยอมรับว่า ในส่วนของโครงการดาวจรัสแสง มหาวิทยาลัยทั่วไปมักจะคัดเลือกนักศึกษาจากโรงเรียนทั่วไปที่ไม่ใช่โรงเรียนชั้นนำ กว่าครึ่งให้เข้าศึกษาในคณะที่ไม่ใช่คณะยอดฮิต อย่าง การเปิดรับนักศึกษาจากพื้นที่ห่างไกลในคณะที่ไม่มีใครเลือก ส่วนนี้คิดว่าเป็นความไม่เป็นธรรมในตัวของมันเองอยู่แล้ว 

        นอกจากนี้ ศ. เจิงเจินเจิน ยังเห็นว่า รายได้มากน้อยของครอบครัวเป็นเครื่องชี้ว่า พ่อแม่มีความสามารถที่จะลงทุนทั้งทางด้านเวลาและกำลังทรัพย์ลงไปบนตัวลูกของตนหรือไม่ ส่วนกลไกการเข้าศึกษาต่ออย่างหลากหลายในตอนนี้ นักเรียนต้องมีแผนการศึกษา ความถนัด และมีผลงานเกี่ยวกับการเข้าร่วมการแข่งขันประเภทต่าง ๆ “ทุกอย่างต้องมีเงิน และมีการวางแผนอย่างเป็นระบบ ทำในระยะยาว ซึ่งกล่าวในส่วนของครอบครัวผู้มีรายได้น้อยหรือปานกลางแล้วมีความลำบากพอสมควร” 

3. พลิกฟื้นชะตาชีวิต ต้องเริ่มต้นตั้งแต่วั

รายได้ของครอบครัวที่ศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำ มีรายได้ค่อนข้างสูง

 

การเปลี่ยนสถานะของครอบครัวไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่า เราสามารถปรับปรุงวิธีการการศึกษาก่อนวัยเรียน เริ่มเปิดวิสัยทัศน์ตั้งแต่วัยเด็ก  (ภาพ: เจิ้งอวี่เฉิน) 

       “จินตนาการที่ภูมิหลังของครอบครัวมีอิทธิพต่อรูปแบบการใช้ชีวิตของเด็ก” คุณหลินเจี้ยนซวิน บอกว่า สังคมควรที่จะให้เด็ก ๆ มีทางเลือกมากกว่านี้และเร็วกว่านี้ ตนเคยเป็นทหารเกณฑ์แบบบำเพ็ญประโยชน์ให้สังคม โดยทำหน้าที่ที่โรงเรียนในดินแดนห่างไกลที่ตำบลเจียนสือ ซินจู๋ เลยถามเด็ก ๆ บนเขาว่า โตขึ้นอยากเป็นอะไร? เด็ก ๆ ตอบไปในลักษณะเดียวกัน “มีเด็ก ๆ กว่าครึ่งบอกว่าอยากเป็นพยาบาลหรือครู ส่วนอีกครึ่งบอกอยากเป็นนักบาสหรือนักกีฬา” ในขณะที่ ผู้ปกครองในเขตเมืองอาจมีโอกาสที่จะให้พวกเขาไปเรียนต่อเมืองนอกหรือมีโอกาสศึกษาอื่น ๆ ที่มากขึ้น 

        ความจริง เดิมทีก็ไม่อาจที่จะให้ทุกคนเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวันได้ การเคลื่อนตัวของชนชั้นในสังคม ไม่ควรจะจำกัดอยู่แค่ “การเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยดีๆ” เท่านั้น รศ. เฉินหมิงเหลย บอกอีกว่า ทรัพยากรที่สังคมทุ่มลงไปในเขตพื้นที่ห่างไกลส่วนใหญ่จะเป็นการลงทุนเรื่องสิ่งปลูกสร้างและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เป็นส่วนของฮาร์ดแวร์เท่านั้น ในเขตพื้นที่ห่างไกลมีทั้งสิ่งปลูกสร้าง 5G แล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือจะพัฒนาการศึกษาพื้นฐานในเขตห่างไกลอย่างไร? ขจัดอุปสรรคที่มีต่อการจำกัดวิสัยทัศน์ของเด็ก ๆ ที่เกิดจากภูมิหลังของครอบครัว “ทางเลือกของเด็ก ๆ ในพื้นที่ห่างไกลไม่เพียงแต่จำกัดอยู่แค่เบสบอลหรือพ่อครัวเท่านั้น” แต่จำเป็นต้องเปิดวิสัยทัศน์ของพวกเขา เธอเห็นว่า ต้องส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของชนชั้นในสังคม และก็ไม่ควรเป็นเพียงการแก้ไข “รูปแบบการเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา” เท่านั้น จำเป็นต้องกลับไปเริ่มต้นที่การศึกษาของเด็กวัยก่อนวัยเรียน ควรให้ครอบครัวผู้มีรายได้น้อยหรือปานกลางอาศัยระบบการศึกษาที่สมบูรณ์แบบมาสร้างโอกาสในการพัฒนาเด็ก ๆ 

       ศ. เฉินหมิงเหลยยกตัวอย่างว่า อย่างเช่นการส่งอาจารย์ในมหาวิทยาลัยลงสู่ชนบท เพื่อแบ่งปันผลการศึกษาวิจัยใหม่ ๆ ของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยให้แก่ครูระดับมัธยมและประถมว่า มีอะไรบ้าง เพื่อให้ครูมีโอกาสนำไปถ่ายทอดให้แก่นักเรียนในพื้นที่ห่างไกลเหล่านี้ ค่อย ๆ เปิดวิสัยทัศน์และโลกทัศน์ของเด็ก ๆ เหล่านี้ นอกจากนี้ ก็ยังอาจพิจารณาปรับปรุงผ่านครูโรงเรียนอนุบาลและประถม เธอยกตัวอย่างหนังสือเล่มหนึ่งที่มีชื่อว่า “ภาษาพ่อแม่” สหรัฐฯ ว่า ในหนังสือเล่มนี้เคยมีการทดลองในส่วนที่เกี่ยวข้อง อย่างการที่มีพ่อแม่บางส่วนวางแผนให้บุตรหลานของตน พูดออกมาว่า “ควรไปนอนแล้ว ลูกต้องเก็บอะไรบ้าง?” แต่ก็มีพ่อแม่บางส่วนมักจะใช้วิธีการ “นับถึง 3 เก็บของเล่นให้เรียบร้อย แล้วไปเข้านอน” การฝึกแบบแรก ไม่เพียงแต่จะทำให้เด็ก ๆ รู้จักวางแผนการอ่านหนังสือของตนเองเท่านั้น แต่ยังช่วยเสริมทัศนะ ตรรกะที่ถูกต้องให้แก่พวกเขาด้วย ดังนั้น ในโรงเรียนอนุบาลหรือประถม คุณครูอาจลองให้คำแนะนำแก่เด็ก ๆ ให้ใช้ความคิดในการเลือกของตัวเอง โดย “ไม่จำเป็นต้องเสียเงินแม้แต่แดงเดียว” ก็มีโอกาสทำให้เด็ก ๆ เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ 

       ศ. หลินฉงอิ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหัวฝาน นิวไทเป ได้ยกตัวอย่างผลงานวิจัยของ James Heckman เจ้าของรางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ที่ระบุว่า การบ่มเพาะตั้งแต่วัยเด็กมากเท่าไร ก็จะได้ผลมากเท่านั้น งานวิจัยดังกล่าวยังระบุว่า ผลตอบแทนในการลงทุนด้านการศึกษาของครอบครัวจะอยู่ในช่วงระหว่างอายุ 0-3 ขวบ ครอบครัวลงทุน 1 บาท จะได้รับผลตอบแทน 18 บาท พอมาถึงอายุ 3-4 ขวบ ลงทุน 1 บาท จะได้ผลตอบแทน 7 บาท และมีแนวโน้มในลักษณะเช่นนี้เป็นลำดับ ท่านอธิการบดีหลินฯ ยังได้อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับ “ทฤษฎี 1,000 วัน” ของการศึกษาว่า การกระตุ้นในช่วงก่อน 3 ขวบเป็นเรื่องที่สำคัญมาก อย่างการพูดคุยหรือการอ่านหนังสือให้เด็กฟัง ก็จะมีประโยชน์มาก แม้การเปลี่ยนสถานะของครอบครัวไม่ใช่เรื่องง่ายก็ตาม แต่เขาก็เห็นว่า รัฐบาลไม่จำเป็นใช้งบประมาณมากมาย ก็สามารถลงทุนในการศึกษาก่อนวัยเรียนได้ เช่น การให้นักศึกษาปริญญาโทหรือปริญญาเอกลงสู่ชนบทเล่านิทานให้เด็ก ๆ ฟัง นี่ก็เป็นวิธีการหนึ่ง 

สถาบันการศึกษาที่มีทรัพยากรค่อนข้างมาก จะมีนักศึกษาที่มีฐานะทางเศรษฐกิจค่อนข้างดี​​​​​​














 

ผู้จัดรายการ

ความคิดเห็นที่เกี่ยวข้อง