close
Rti Thaiดาวน์โหลด Rti App
Open
:::

The Reporter เปิดโลกทัศน์ใหม่ให้แก่เยาวชน EP.10

  • 28 September, 2023
The Reporter เปิดโลกทัศน์ใหม่แก่เยาวชน
เคล็ดลับลดอุณหภูมิในอาคารโดยไม่ต้องใช้เครื่องปรับอากาศของอินเดีย สิงคโปร์ และเยอรมนี
The Reporter เปิดโลกทัศน์ใหม่แก่เยาวชน
The Reporter เปิดโลกทัศน์ใหม่แก่เยาวชน
The Reporter เปิดโลกทัศน์ใหม่แก่เยาวชน

The Reporter เปิดโลกทัศน์ใหม่ให้แก่เยาวชน ตอนที่ 10

เคล็ดลับลดอุณหภูมิในอาคารโดยไม่ต้องใช้แอร์ของอินเดีย สิงคโปร์ และเยอรมนี 

          สืบเนื่องจากการที่ภาวะโลกร้อนรุนแรงมากยิ่งขึ้นเป็นลำดับ และท่ามกลางภัยคุกคามจากอุณหภูมิที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้การใช้เครื่องปรับอากาศในหลายประเทศเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ก็เพื่อลดภัยจากอากาศร้อน อย่างไรก็ดี ไฟฟ้าที่เครื่องปรับอากาศต้องใช้จะก่อให้เกิดความร้อนขึ้น ซึ่งหลายประเทศก็เริ่มพิจารณาหาทางออกแบบสิ่งปลูกสร้างและวางผังเมืองมาแก้ไขปัญหาเหล่านี้ บรรดาวิศวกรได้ระดมมันสมองเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยออกแบบให้อาคารมีระบบระบายอากาศ หลบแดด คลายความร้อน และกั้นความร้อน เพื่อให้ในอาคารเย็นลง ลดการเปิดเครื่องปรับอากาศให้น้อยลง

           ส่วนไต้หวันก็ไม่เพียงแต่มีสภาพแวดล้อมที่ทั้งชื้นและร้อน ประชากรหนาแน่นมาก ดังนั้น การออกแบบสิ่งปลูกสร้างและผังเมืองก็ต้องคำนึงการใช้มาตรการลดอุณหภูมิซึ่งยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญช่วยให้ไต้หวันสามารถรับมือกับภาวะโลกร้อนได้ดียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยบทความในวันนี้ จะนำทุกท่านไปศึกษาตัวอย่าง ของต่างประเทศดูว่า จะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในไต้หวันได้หรือไม่อย่างไร 

 

อินเดียอาศัยวัสดุในท้องถิ่น สร้างโรงเรียนที่สามารถลดอุณหภูมิและความชื้นได้อย่างได้ผล

           มนุษย์เราได้พยายามมาเป็นเวลาช้านานในการหามาตรการลดอุณหภูมิในรูปแบบต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน เพื่อปรับตัวให้เข้ากับสภาพอากาศที่มีอุณหภูมิสูง ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ก็ได้พยายามออกแบบสิ่งปลูกสร้างที่มีเป้าหมายเพื่อลดอุณหภูมิ ซึ่งมีวิศวกรบางส่วนหันกลับมาศึกษาสิ่งปลูกสร้างอาคารโบราณ เพื่อศึกษาหาความรู้จากอดีต จากรูปแบบการลดอุณหภูมิของวัฒนธรรมในอดีต หาวิธีการปรับปรุงการประหยัดพลังงาน

          อินเดียซึ่งมีอากาศร้อนระอุ แต่สัดส่วนการมีเครื่องปรับอากาศไม่สูงนัก ที่ผ่านมาได้พัฒนาเทคนิคด้านวิศวกรรมการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างที่สามารถต้านอุณหภูมิสูงได้อย่างหลากหลายวิธีการ วิศวกรยุคใหม่ก็อาศัยโอกาสนี้ศึกษาคิดค้นวิธีการประหยัดพลังงานและลดอุณหภูมิอย่างได้ผล เมื่อเร็ว ๆ นี้ คุณ Diana Kellogg วิศวกรจากนิวยอร์ก ได้อาศัยการสร้างโรงเรียนแห่งใหม่ในเมือง Jaisalmer ที่ได้รับสมญานามว่า “เมืองทองคำ” ของอินเดีย ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จ เมือง Jaisalmer ในฤดูร้อนจะมีอุณหภูมิสูงถึง 49 องศาเซลเซียส สิ่งปลูกสร้างที่นี่มีชื่อเสียงโด่งดังทางด้านการออกแบบเพื่อลดอุณหภูมิ ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้ฤดูแล้งที่เมือง Jaisalmer นานและยาวขึ้น จึงมีความเร่งด่วนที่ต้องออกแบบสิ่งปลูกสร้างให้เหมาะสมกับสภาพอากาศในท้องถิ่น คุณเคลล๊อก จึงออกแบบโรงเรียนแห่งใหญ่ที่สุดในเมือง Thar Desert ของอินเดีย คุณเคลล็อก ร่วมมือกับชาวบ้านที่นี่ ศึกษาหาความรู้จากสติปัญญาท้องถิ่น หลอมรวมวิธีการสร้างสิ่งปลูกสร้างที่สามารถลดอุณหภูมิที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของที่นี่ ทำให้อุณหภูมิในห้องเรียนต่ำกว่าอุณหภูมินอกห้องเกินกว่า 10 องศาเซลเซียส วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง เขาก็เลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่ผลิตจากหินทรายที่มีชื่อเสียงของเมือง Jaisalmer หินทรายเหล่านี้มีคุณสมบัติพิเศษที่มีอุณหภูมิสูงในฤดูหนาว แต่จะมีอุณหภูมิค่อนข้างต่ำในฤดูร้อน ชาวบ้านที่นี่ใช้หินทรายเป็นวัสดุก่อสร้างสำคัญมาปลูกสร้างบ้านของตนตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน คุณเคลล็อกยังอาศัยเทคนิคการเก็บกักน้ำแบบท้องถิ่นหลอมรวมเข้ากับสิ่งปลูกสร้าง เก็บกักน้ำฝนและรีไซเคิลน้ำในโรงเรียนแก้ปัญหาฤดูแล้งที่ขยายเวลายาวนานขึ้นได้อีกด้วย

          นอกจากอุณหภูมิสูง ที่ผู้คนรังเกียจที่สุดในฤดูร้อนแล้ว ความจริงยังมีอีกปัจจัยหนึ่งนั่นก็คือความชื้น เนื่องจากเมื่อต้องอยู่ในสภาพอากาศร้อนและความชื้นสูง ร่างกายของคนเราก็ไม่อาจระบายความร้อนออกจากร่างกายโดยขับเหงื่อออกมาตามธรรมชาติ จึงง่ายที่จะมีอาการไม่สบายเนื่องจากอากาศร้อนได้ง่าย อาทิ ลมแดด เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ คุณเคลล็อกจึงได้ออกแบบสิ่งปลูกสร้างใช้ปูนปลาสเตอร์ (Plaster หรือ Plaster of Paris) ซึ่งมีคุณสมบัติในการปรับตัวตามสภาพอากาศมาฉาบผนังของอาคาร สามารถดูดซับความชื้นได้เมื่อมีความชื้นค่อนข้าง่สูง และสามารถคลายความชื้นออกมาเมื่ออยู่ในสภาพอากาศที่ค่อนข้างแห้ง ช่วยปรับสภาพความชื้นภายในห้องให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม 

           นอกจากการใช้หินทรายผสมกับปูนปลาสเตอร์ สิ่งปลูกสร้างที่สามารถลดอุณหภูมิหลังนี้ ได้หลอมรวมเอาภูมิปัญญาวิธีการระบายอากาศแบบโบราณของอินเดียเข้าไปด้วย กลายเป็นแผงกั้นที่มีรูปร่างพิเศษที่มีชื่อว่า “jaali” ซี่งสามารถหลบการถูกแสงแดดส่องโดยตรง ทำให้อากาศในอาคารมีการถ่ายเทลดอุณหภูมิลงได้ ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษของสิ่งปลูกสร้างท้องถิ่นของอินเดีย นอกจากนี้ ภายในอาคารของโรงเรียนก็ใช้วิธียกเพดานให้สูงเพื่อระบายอากาศได้คล่องตัว ใช้แผงโซลาร์เซลมากันแดดและยังสามารถผลิตกระแสไฟฟ้า ยิงกระสุนนัดเดียวได้นกสองตัว ได้ทั้งประหยัดพลังงานและลดอุณหภูมิ ส่วนลักษณะตำแหน่งที่ตั้งของสิ่งปลูกสร้างก็ออกแบบให้เป็นไปตาม “ทิศทางลม” ของแต่ละท้องที่ เพื่อดึงกระแสลมเข้ามาภายในตัวอาคาร เพื่อให้การระบายอากาศเป็นไปอย่างคล่องตัว

          โรงเรียนแห่งนี้ เป็นโรงเรียนที่สร้างขึ้นสำหรับนักเรียนหญิงโดยเฉพาะ เพื่อแก้ปัญหาการเข้าเรียนของนักเรียนหญิงท้องถิ่นที่มีสัดส่วนค่อนข้างต่ำรวมทั้งมีเด็กผู้หญิงที่อ่านออกเขียนได้เพียงร้อยละ 36 เท่านั้น กลายเป็นแรงขับเคลื่อนทางด้านการศึกษาของท้องถิ่นที่มีพลังยิ่ง 

ภูมิปัญญาสิ่งปลูกสร้างท้องถิ่น 

             ในสมัยโบราณที่อุปกรณ์เครื่องปรับอากาศยังไม่มีการคิดค้นออกมา และเพื่อปรับตัวให้กับสภาพแวดล้อมที่แปรเปลี่ยนไปเป็นอากาศร้อนแล้งแบบทะเลทราย จึงมีการคิดค้นพัฒนาออกมาเป็นการออกแบบสิ่งปลูกสร้างให้สอดคล้องกับสภาพอากาศของแต่ละท้องถิ่นและใช้วัสดุก่อสร้างในแต่ละท้องถิ่น ในเขตทะเลทรายมีปัญหาเรื่องการขาดแคลนน้ำ จนทำให้มีต้นไม้น้อย ยากที่จะใช้วัสดุในท้องถิ่นมาประกอบเป็นขื่อคานของสิ่งปลูกสร้างเป็นจำนวนมากได้ ใช้ได้เพียงดินหรือหินในท้องถิ่นมาเป็นวัสดุก่อสร้างอาคารบ้านเรือนเท่านั้น และยังพบว่า แม้วัสดุก่อสร้างเหล่านี้จะมีความหนาและหนักมาก แต่ก็มีคุณสมบัติในการดูดซับพลังงานความร้อน (ทนความร้อนได้สูง) ได้เป็นอย่างดี เช่นเดียวกับการดูดซับน้ำของฟองน้ำ ซึ่งดูดซับความร้อนเป็นจำนวนมากในช่วงที่มีอากาศร้อนสุด ๆ ได้ ต้านอุณหภูมิสูงได้เป็นอย่างดี ทำให้อุณหภูมิภายในห้องอยู่ในระดับที่ร่างกายรับได้ และนี่ก็คือภูมิปัญญาสิ่งปลูกสร้างในท้องถิ่นนั่นเอง 

           ไต้หวันตั้งอยู่ในจุดภูมิรัฐศาสตร์เขตร้อนชื้น สภาพอากาศโดยรวมมีความชื้นค่อนข้างสูง สิ่งปลูกสร้างเกือบทั้งหมดตั้งอยู่ในเขตระดับน้ำทะเลค่อนข้างต่ำ อุณหภูมิในอาคารกับนอกอาคารต่ำกว่าอุณหภูมิของเขตอบอุ่น เขตหนาวหรือเขตร้อนค่อนข้างมาก  ด้วยเหตนี้ จึงทำให้กฎหมายเกี่ยวกับการประหยัดพลังงานของสิ่งปลูกสร้างของไต้หวันแตกต่างกับของประเทศอื่น ๆ ค่อนข้างมาก ประเทศในเขตอบอุ่น เขตหนาวหรือเขตร้อนต่างให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพในการกันความร้อนของสิ่งปลูกสร้าง เพื่อลดความสิ้นเปลืองในการใช้พลังงาน อาทิ สิ่งปลูกสร้างในเขตหนาว ต้องป้องกันมิให้พลังงานความร้อนในอาคารถูกระบายออกจากอาคาร ในขณะที่สิ่งปลูกสร้างในเขตร้อนกลับสามารถลดการไหลเข้าสู่อาคารของพลังงานความร้อน 3

“แผนทำให้เย็นลง” เปลี่ยนทิศทางสิ่งปลูกสร้าง ลดความร้อนบนเกาะสิงคโปร์

                หากต้องการลดอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อม จะอาศัยเพียงการประหยัดพลังงานของสิ่งปลูกสร้างเพียงอย่างเดียว คงไม่เพียงพอ จำเป็นต้องเริ่มต้นที่การออกแบบผังเมืองทั้งเมือง ซึ่งเมื่อต้นเดือน ก.ค. ปีนี้ (2023) ชาวไทเปน่าจะมีความรู้สึกเกี่ยวกับอากาศร้อนได้อย่างแรงกล้า เพราะอุณหภูมิที่ร่างกายรู้สึกได้สูงถึง 40 องศาเซลเซียส ร้อนกว่าพื้นที่อื่น ๆ ในไต้หวัน ทั้ง ๆ ที่กรุงไทเปตั้งอยู่ในจุดที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลค่อนข้างสูง แต่กลับมีความรู้สึกร้อนกว่าเขตอื่น ๆ ในไต้หวัน เพราะได้รับผลกระทบจาก “ปฏิกิริยาความร้อนของเกาะ” ที่พบเห็นได้บ่อยในเขตเมืองทั่วไป ปฏิกิริยาความร้อนบนเกาะหมายถึงการที่ในเมืองมีสิ่งปลูกสร้างค่อนข้างหนาแน่น พื้นที่สีเขียวน้อย เครื่องปรับอากาศและยานขนส่งคมนาคมกลายเป็นแหล่งเพิ่มความร้อนที่เกิดจากมนุษย์ ทำให้อุณหภูมิในเมืองเพิ่มสูงขึ้น หากต้องการแก้ปัญหาปฏิกิริยาเพิ่มความร้อนนี้ให้ได้ ก็จะต้องเริ่มปฏิรูปกันตั้งแต่การวางผังเมือง 

             สภาพภูมิอากาศที่มีความใกล้เคียงกันระหว่างไต้หวันกับสิงคโปร์ที่เป็นศูนย์กลางการเงินระหว่างประเทศ สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีความเป็นเมืองที่มีอากาศค่อนข้างร้อนระอุ ความชื้นเฉลี่ยสูงถึง 84% ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ทั้งร้อนและชื้นแบบนี้ ที่ผ่านมาได้อาศัยนโยบายการติดเครื่องปรับอากาศให้มีความแพร่หลายและทั่วถึง จนกลายเป็นปาฏิหารย์ทางเศรษฐกิจเขตร้อน แต่ตามการแปรเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วของภาวะโลกร้อน สิงคโปร์ก็เริ่มแสวงหาวิธีการใหม่ ๆ ในการลดความร้อนนอกจากการอาศัยเครื่องปรับอากาศ ทั้งนี้ เพื่อรักษาฐานะการเป็นผู้นำของศูนย์การเงินระหว่างประเทศท่ามกลางอากาศที่เพิ่มอุณหภูมสูงขึ้นเป็นลำดับ

            ในปี 2017 รัฐบาลสิงคโปร์ได้เริ่มแผน “ทำให้สิงคโปร์เย็นลง” โดยเริ่มมอนิเตอร์จากตัวอย่างข้อมูลทางสถิติทางวิทยาศาสตร์ ศึกษาวิจัยหาวิธีการอย่างเป็นระบบในการวางผังเมืองของสิงคโปร์ ตามเป้าหมายแห่งการปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีเป้าหมายอยู่ที่ลดปฏิกิริยาเกาะร้อนที่มีต่อสิงคโปร์ให้น้อยลง การศึกษาวิจัยพบว่า อุณหภูมิโดยเฉลี่ยของเขตพื้นที่มีตึกรามบ้านช่อง อาคารสูงตั้งอยู่อย่างหนาแน่น สูงกว่าอุณหภูมิของเขตที่ยังไม่มีการพัฒนาบุกเบิกประมาณ 4.3 องศาเซลเซียส แต่โดยรวมแล้วปฏิกิริยาความร้อนเกาะส่งผลให้สิงคโปร์มีอุณหภูมิสูงขึ้นประมาณ 1.5 องศาเซลเซียส 

           แผนทำให้สิงคโปร์เย็นลงได้เสนอมาตรการลดอุณหภูมิโดยการวางผังเมืองต่าง ๆ มากมาย อาทิ เปลี่ยนทิศทางของสิ่งปลูกสร้าง เพื่อดึงให้ลมพัดเข้าสู่เมือง อาศัยการไหลของน้ำมาลดอุณหภูมิของสิ่งปลูกสร้าง ส่วนการเพิ่มพื้นที่สีเขียวก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่มีความสำคัญในแผนการการลดผลกระทบจากปฏิกิริยาเกาะร้อนเช่นเดียวกัน พืชเขียวไม่เพียงแต่สามารถลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศได้เท่านั้น ยังใช้เป็นที่หลบแดดให้แก่ผู้ใช้รถใช้ถนน ลดโอกาสที่จะกลายเป็นลมแดดเมื่อออกนอกอาคารสถานที่ได้อีกด้วย เขตเมืองที่ที่ดินเป็นเงินเป็นทองแบบนี้ ก็ควรที่จะต้องเอาที่ดินที่มีอยู่ทั้งหมดมาสร้างอาคารระฟ้าให้หมด แต่ภายใต้สถานการณ์ที่ทั่วโลกกำลังเผชิญกับภาวะโลกร้อน อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับจนยากจะควบคุมได้เช่นนี้ จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงแนวความคิดในอดีต รัฐบาลสิงคโปร์พยายามแก้ปัญหาพื้นที่สีเขียวไม่เพียงพอ จึงตั้งเป้าหมายปลูกต้นไม้จำนวน 1 ล้านต้น ภายในปี 2030 ซึ่งจนถึงปัจจุบัน ได้เนรมิตรเเป็นเขตพื้นที่ระเบียงสีเขียวในเมืองที่มีราคาที่ดินแพงได้แล้ว และยังได้อาศัยการปลูกต้นไม้มาสร้างพื้นที่สีเขียวให้มากขึ้นอีกด้วย ขณะเดียวกันยังช่วยลดจำนวนอาคารปูนซิเมนต์ที่ดูดความร้อนให้เหลือน้อยลง ส่งผลให้มีการถ่ายเทอากาศลดอุณหภูมิได้อีกด้วย 

กลไกระบายอากาศแบบธรรมชาติของเยอรมนี เริ่มแผน “หลีกทางให้ลม” มาตั้งแต่เมื่อ 85 ปีที่แล้ว 

          นอกจากเพิ่มพื้นที่สีเขียวแล้ว ยังมีวิธีการอะไรอีกที่จะสามารถลดอุณหภูมิในเมืองได้อีกเล่า? การวางผังเมืองในช่วงสิบปีที่ผ่านมา ยังขาดแนวความคิด “หลีกทางให้ลม” แต่กลับสร้างอาคารระฟ้าหลังแล้วหลังเล่า มารองรับผู้คนจำนวนมากขึ้นที่อพยพเข้ามาสู่เมือง

           ตามการแสดงอิทธิฤทธิ์ของ “ปฏิกิริยาเกาะร้อน”  แนวความคิดระเบียงระบายลมจึงเริ่มเป็นแนวทางที่นิยมนำมาพิจารณาวางผังเมืองของเมืองใหญ่ ๆ อย่างโตเกียวไปจนถึงปักกิ่ง แต่ก่อนหน้านี้ตั้งแต่ปี 1938 เป็นต้นมา Stuttgart ของเยอรมนี พบว่าลมมีประโยชน์ต่อเมือง ดังนั้น จึงได้จ้างนักวิทยาศาสตร์ด้านอุตุนิยมวิทยาเข้าร่วมการวางผังเมือง ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นการวางแผนการรับมือไว้ล่วงหน้า ซึ่งในตอนนั้น Stuttgart ได้อาศัยนโยบายมาควบคุมการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้าง ปฏิรูปกลไกการระบายอากาศแบบธรรมชาติของเมือง อาศัยโอกาสนี้ปรับปรุงแก้ไขปัญหามลภาวะทางอากาศและความร้อนของเกาะ ที่สำคัญยิ่งกว่านี้ก็คือสามารถลดการใช้พลังงานของตัวอาคาร 

           แนวความคิดเกี่ยวกับระเบียงระบายอากาศเผยแพร่เข้าสู่ไต้หวันค่อนข้างช้า ปัจจุบันที่ได้รับผลกระทบจากอิทธิพลเกาะร้อนมากที่สุดคือกรุงไทเป แม้จะมีสวนสาธารณะ แม่น้ำและพื้นที่สีเขียว ดึงลมธรรมชาติเข้ามาในเขตเมืองได้ค่อนข้างมาก แต่กลับเป็นเพราะคำขวัญของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ “ริมน้ำแถวแรก” “แถวแรกท่าน้ำ” หรือ “แถวแรกริมสวน” จนทำให้ราคาบ้านพุ่งสูงขึ้น และทำให้โครงการบ้านริมน้ำมีความหนาแน่นมากยิ่งขึ้น และระยะห่างระหว่างตัวอาคารก็หดแคบลงเป็นลำดับ ทำให้การระบายอากาศไม่สามารถระบายไปยังพื้นที่อื่น ๆ เป็นเหตุให้ความร้อนถูกเก็บกักไว้ในเมือง

          ในช่วงที่ผ่านมา เมืองต่าง ๆ ในไต้หวันต่างรวมเอาการออกแบบระเบียงระบายอากาศไว้ในการวางผังเมืองมากขึ้นด้วย ส่วนเมืองที่ให้เงินอุดหนุนการออกแบบผังเมืองโดยคำนึงถึงระเบียงระบายอากาศก็คือ นครไทจง ในขณะที่ด้านเหนือของเขตป่านเฉียวและเจียงชุ่ยในนครนิวไทเป ได้กลายเป็นเขตสาธิตการออกแบบผังเมืองที่รวมเอาการออกแบบระเบียงระบายอากาศเข้าไปด้วย ส่วนเขตอื่น ๆ ก็มีแผนการในลักษณะดังกล่าวอยู่บ้าง อย่างเช่นที่บริเวณเขตพิเศษรถไฟความเร็วสูงซาหลุน นครไถหนาน ก็ขอให้มีการทำเป็นเขตระเบียงระบายอากาศ ซึ่งต้องมีการออกแบบทั้งระบบโดยรวม จึงจะสามารถเชื่อมต่อระเบียงระบายอากาศของทั้งเมืองได้ เพื่อให้ได้ผลในการลดอุณหภูมิที่ดี ศ. พิเศษ หลินจื่อผิง แห่งคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติเฉิงกง ในฐานะหัวหน้าห้องทดลองสิ่งปลูกสร้างกับสภาพอากาศ หรือ BCLab (Building and Climate Lab, BCLab) ได้ร่วมมือกับหน่วยงานและทีมงานของเมืองต่าง ๆ ศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำ “แผนที่สภาพสิ่งแวดล้อมและอากาศของเมือง” โดยอาศัยการตรวจวัดสภาพอากาศไมโคร (Microclimate Monitoring) และอาศัยการเขียนบทความต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่ให้ประเด็นดังกล่าวเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจในวงกว้างมากยิ่งขึ้น ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น

ยุทธศาสตร์ตีกลับปฏิกิริยาเกาะร้อนถอยร่นออกจากเมือง ไต้หวันควรทำอย่างไร?

         ฤดูร้อนในไต้หวันอากาศร้อนอบอ้าวและชื้นมาก ส่วนฤดูหนาวก็อาจมีลมหนาวเข้ามาบ้าง ด้วยเหตุนี้ การออกแบบสิ่งปลูกสร้างจึงนอกจากจะต้องกั้นความร้อน หลบแดดแล้ว ยังต้องให้ความสนใจกับการออกแบบให้มีการระบายอากาศที่ดีอีกด้วย มาตราที่ 17 “มาตรฐานสิ่งปลูกสร้างสีเขียว” ที่ระบุไว้ใน “ระเบียบเทคนิคสิ่งปลูกสร้าง” พิจารณาจากลักษณะพิเศษของอากาศในไต้หวัน กำหนดกรอบการออกแบบสิ่งปลูกสร้างภายนอกให้สามารถระบายความร้อนและความชื้น รวมทั้งประหยัดพลังงานด้วย ซึ่งก็คือการออกแบบสิ่งปลูกสร้างแบบเบ็ดเสร็จ ทั้งการออกแบบให้สามารถหลบแดดได้ ระบายอากาศได้ โครงสร้างกันความร้อนได้ รวมทั้งการออกแบบทิศทางการตั้งของตัวอาคารด้วย เพื่อให้สิ่งปลูกสร้างของไต้หวันได้มาตรฐานแห่งชาติ ป้องกันมิให้เกิดการสิ้นเปลืองจากการก่อสร้าง รวมทั้งปัญหาการสิ้นเปลืองพลังงานจำนวนมากเพื่อใช้ในการปรับอากาศ 

สภาพภูมิอากาศเขตกึ่งร้อนแบบไต้หวันทั้งร้อนและชื้นกับแผนยุทธศาสตร์ลดความร้อนของกรุงไทเป 

ยุทธศาสตร์ในการลดความร้อนของกรุงไทเปอาจแบ่งได้เป็น 6 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้ 

  1. ระบายอากาศ 

  • โดยการปรับปรุงการระบายอากาศตามทางเดินเพื่อลดสภาพอากาศร้อน

  • อาศัยการออกแบบสิ่งปลูกสร้างและโครงการก่อสร้างโดยคำนึงถึงเงื่อนไขของลม (อาศัยการออกแบบมาดึงลมเข้ามา)

  • อาศัยพื้นที่สีเขียว (สนามหญ้า ลานหญ้า ไม้พุ่ม) สร้างช่องทางให้ลมระบายได้ แต่ไม่มีวัตถุที่ขวางทางระบายอากาศของทางเดินของคน 

  • โดยการดึงอากาศไปทางด้านหลังของลมเพื่อลดผลกระทบจากความร้อนจากภายนอกตัวอาคาร

    • ลมเคลื่อนตัวผ่านตัวอาคารที่ตั้งเรียงรายอยู่ไปยังด้านล่างของลม 

    • ลดสัดส่วนกว้าง-ยาวของตัวอาคาร เพื่อป้องกันมิให้เป็นส่วนขวางกระแสลมในฤดูร้อน 

    • อาศัยความสูง+รูปร่าง+ระยะห่างระหว่างสิ่งปลูกสร้างเป็นตัวนำให้ลมเข้าสู่ด้านล่างของลมในตัวอาคาร 

  1. กันแดด 

  • อาศัยการกันแดดมาผ่อนคลายความร้อนตามท้องถนน 

    • โดยการใช้ร่มเงาต้นไม้ เสา หลังคาบ้าน หรือศาลาพักร้อน เป็นที่หลบแดดหรือกันแดด

  • อาศัยการกันแดดมาปรับปรุงปฏิกิริยาความร้อนสถานที่ก่อสร้าง

    • โดยการใช้ร่มเงาต้นไม้ เสา หลังคาบ้าน หรือศาลาพักร้อน เป็นที่หลบแดดหรือกันแดด

  1. วัสดุที่ใช้ปูพื้น (ความร้อนจากพื้น) 

  • อาศัยพื้นที่สีเขียวและน้ำมาแก้ปัญหาความร้อนทางเท้า

    • อาศัยพื้นที่สีเขียวและน้ำมาลดอุณหภูมิบนพื้น

    • ลดพื้นที่การใช้ยางมะตอย โดยใช้วัสดุซับน้ำเข้าแทนที่ 

  • ใช้วัสดุที่เหมาะสมในการปูพื้น ลดปฏิกิริยาความร้อนที่เกิดจากไซค์งานก่อสร้าง

    • ใช้วัสดุปูพื้นที่ซึมซับน้ำได้เป็นอย่างดี และสะท้อนแสงอาทิตย์ได้ต่ำ 

  1. วัสดุก่อสร้าง (ลดการสะท้อนของพื้นผิววัสดุที่ใช้) 

  • ใช้พื้นที่สีเขียวมาแก้ปัญหาความร้อนทางเท้า

    • ปรับปรุงภายนอกของสิ่งปลูกสร้างด้วยพืชสีเขียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการด้านทิศใต้และทิศตะวันตกที่รับแสงอาทิตย์มากเป็นพิเศษ 

    • สร้างดาดฟ้าสีเขียวให้มีความเป็นมิตรกับผู้คนให้มาก

  • พิจารณาการใช้วัสดุก่อสร้างที่มีแรงดึงดูดความร้อน ลดปฏิกิริยาความร้อนบนพื้น 

    • ใช้วิธีทำให้ดาดฟ้า/หลังคาเป็นสีเขียว หรือใช้วัสดุปูหลังคาหรือดาดฟ้าที่มีคุณสมบัติสะท้อนแสงอาทิตย์หรือคลื่นยาวได้ในระดับต่ำ เพื่อลดการเข้าสู่ตัวอาคารของความร้อนจากภายนอก

    • กำแพงเขียว หรือใช้วัสดุปูหลังคาหรือดาดฟ้าที่มีคุณสมบัติสะท้อนแสงอาทิตย์หรือคลื่นยาวได้ในระดับต่ำ เพื่อลดการเข้าสู่ตัวอาคารของความร้อนจากภายนอก

    • หลังคาให้ใช้สีอ่อน เพื่อลดการดูดซับความร้อนให้ต่ำที่สุด และลดการแผ่รังสีจากรอบตัวอาคารด้วย 

  1. ใช้วัสดุก่อสร้างที่เหมาะสม ลดความร้อนที่เกิดจากมนุษย์

  • พิจารณาคำนึงถึงตำแหน่งที่สิ่งปลูกสร้างคลายความร้อนออกมา เพื่อลดผลกระทบต่ออุณหภูมิความร้อนบริเวณทางเดิน

    • กำหนดตำแหน่งการระบายความร้อนที่เกิดจากมนุษย์ในอยู่ในที่ที่สูงขึ้น

    • กำหนดตำแหน่งการระบายความร้อนที่เกิดจากอุปกรณ์เผาไหม้ต่าง ๆ ให้อยู่ในที่ที่สูงขึ้น 

  • ลดปริมาณความร้อนที่ระบายสู่อากาศภายนอก 

    • ป้องกันมิให้ปริมาณความร้อนระบายผ่านกำแพงหรือหน้าต่าง ตลอดจนปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานของเครื่องปรับอากาศ ลดการปล่อยความร้อนที่เกิดจากมนุษย์ 

    • ลดปริมาณความร้อนที่สิ่งปลูกสร้างระบายออกมา

    • ใช้ระบบเก็บสะสมความร้อนมาปรับปรุงประมาณการปล่อยความร้อนที่เกิดจากมนุษย์ซึ่งปล่อยออกมาจากระบบปรับอากาศ 

  1. การคมนาคมสีเขียว

  • ลดโอกาสในการเข้าออกอาคารของยานยนต์ 

    • ใช้การปรับปรุงทิศทางการเดินรถ เพื่อลดการจอดรถไว้ภายนอก

ที่มา: การออกแบบโครงการปรับปรุงการวิเคราะห์และตรวจจับความรุนแรงของปฏิกิริยาเกาะร้อนและเขตสาธิต กรุงไทเป 


เพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมือง ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ให้โลกนี้อยู่อย่างยั่งยืน

         การเปลี่ยนความคิดในการวางผังเมือง ไม่เพียงแต่เป็นผลดีต่อการลดอุณหภูมิเท่านั้น หากยังจะทำให้เป้าหมายแห่งความยั่งยืนประสบผลในเร็ววันด้วย สหประชาชาติระบุว่า คาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ มีถึง 70% ที่เกิดจากเมือง และหากรวมที่ปล่อยมาจากสิ่งปลูกสร้างอีกเกือบ 40% แล้ว การวางผังเมืองและการออกแบบสิ่งปลูกสร้างที่สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ก็จะเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งในปี 2015 องค์การสหประชาชาติได้ประกาศ “เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 2030” (Sustainable Development Goals, SDGs) ก็ได้ระบุเป็นพิเศษถึงฐานะสำคัญที่เมืองจะแสดงบทบาทแห่งการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยในมาตราที่ 11 ได้ระบุว่า “ทำให้เมืองและชนบทมีความครอบคลุม ปลอดภัย มีภูมิต้านทานและยั่งยืน” ซึ่งรวมถึงการที่พื้นที่สีเขียวในเมืองจะต้องมีภาระกิจสำคัญในการลดผลกระทบที่จะเกิดกับสิ่งแวดล้อม” 

         ไม่ว่าจะเป็นการปลูกต้นไม้ หรือการสร้างระเบียงระบายอากาศ การวางแผนเปลี่ยนแปลงผังเมืองเห่านี้ต้องใช้เวลาหลายสิบปี จึงจะเห็นผล แนวความคิดในอดีตที่ผ่านมาทำให้ปฏิกิริยาเกาะร้อนเกิดขึ้น ส่วนในปัจจุบัน ภาระกิจอันดับแรกก็คือต้องเปลี่ยนวิธีคิดแบบเก่า ๆ ในอดีต จึงจะสามารถเร่งจังหวะก้าวในการปฏิรูปเมืองให้เร็วขึ้นได้ เตรียมพร้อมรับมืออย่างเต็มที่ต่อการมาถึงของอุณหภูมิในอนาคต 

 

 

 

ผู้จัดรายการ

ความคิดเห็นที่เกี่ยวข้อง