ตัวแทนนักเรียนระดับประถมและมัธยมสู่ที่ประชุมกิจการโรงเรียนพร้อมแล้วหรือยัง?
ไต้หวันเปิดเทอมแล้ว โรงเรียนประถมและมัธยมในไต้หวันมีการปฏิรูปที่สำคัญมาก นั่นก็คือ กิจการโรงเรียนที่มีความสำคัญมาก มิใช่ตัดสินใจโดยครูใหญ่หรือครูเหมือนในอดีตที่ผ่านมา โดยที่สภานิติบัญญัติไต้หวันได้ผ่านร่างแก้ไขกฎหมาย “การศึกษาภาคบังคับ” เมื่อ 29 พ.ค. 2566 ที่ผ่านมา โดยระบุไว้อย่างชัดเจนว่า การประชุมกิจการโรงเรียนระดับประถมและมัธยมจะต้องมีตัวแทนนักเรียนเข้าร่วมด้วย ซึ่งเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งเปิดเทอมปีนี้ในเดือน ก.ย. (ปีการศึกษา 2566)
“การประชุมกิจการโรงเรียน” จะสามารถตัดสินใจอะไรได้รึ? ตัวแทนนักเรียนมีสิทธิเข้า “ร่วม” การประชุมด้วย ในขณะที่ครูมีสิทธิ “เข้า” ประชุม ทั้งสองส่วนแตกต่างกันอย่างไร รายการวันนี้จะนำคุณผู้ฟังไปเยี่ยมชมโรงเรียนต่าง ๆ ในไต้หวันกัน ไปดูกันสิว่าโรงเรียนกับนักเรียนเตรียมพร้อมกันหรือยัง? เพราะประเด็นนี้เป็นกฎหมายที่ให้เด็กและเยาวชนมีสิทธิในการแสดงความคิดเห็นในระดับโรงเรียนประถมและมัธยมแล้ว และเด็กนักเรียนเหล่านี้จะสามารถเรียนรู้และมีความหมายอย่างไรหรือไม่?
“กฎหมายการศึกษาภาคบังคับ” ประกาศใช้มาตั้งแต่ปี 1979 ซึ่งจนถึงปีนี้จึงมีการแก้ไขครัังใหญ่ ความคืบหน้าที่มากที่สุดก็คือตั้งแต่ปีการศึกษานี้เป็นต้นไป การประชุมกิจการโรงเรียนจะต้องเชิญนักเรียนเข้าร่วมประชุมด้วย และให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการบริหารโรงเรียน ในระดับประถมและมัธยม
การประชุมกิจการโรงเรียนคืออะไร? “เข้าร่วม” กับ “เข้า” ต่างกันอย่างไร?
การประชุมกิจการโรงเรียนคือการประชุมระดับสูงสุดของโรงเรียน พิจารณาและมีมติเกี่ยวกับกิจการสำคัญของโรงเรียน ซึ่งรวมถึงแผนการพัฒนาโรงเรียน และระเบียบต่าง ๆ อาทิ มาตรฐานการแก้ปัญหาการบูลลี่ในโรงเรียน แผนการส่งเสริมสุขภาพ
ที่ผ่านมา การประชุมกิจการโรงเรียน ผู้เข้าร่วมการประชุมจะประกอบไปด้วย ครูใหญ่ ครูประจำ ผู้ปกครอง และเจ้าหน้าที่ของโรงเรียน โดยปกติจะใช้วิธีการให้ตัวแทนเข้าร่วมประชุม อย่างเช่น ตัวแทนครู ตัวแทนผู้ปกครอง มหาวิทยาลัยและมัธยมปลาย ก็จะมีตัวแทนนักศึกษากับตัวแทนนักเรียนเข้าประชุมด้วย และเมื่อมีการแก้ไขกฎหมาย “การศึกษาภาคบังคับ” แล้ว การประชุมกิจการโรงเรียนก็ต้องเชิญตัวแทนนักเรียนระดับประถมและมัธยมเข้าร่วมการประชุมด้วย
ส่วน “ร่วมประชุม” กับ “เข้าประชุม” มีสิทธิและอำนาจที่แตกต่างกัน โดย “ร่วม” จะเป็นเสมือนการเข้าฟังและแสดงความคิดเห็นได้อย่างเดียว โดยไม่มีสิทธิออกเสียง ส่วน “เข้า” ประชุมมีสิทธิแสดงความคิดเห็นและออกเสียงลงมติได้
เมื่อมองย้อนกลับไปที่กระบวนการเข้าร่วมกิจการโรงเรียนในไต้หวัน ก็ต้องเริ่มกันตั้งแต่การแก้ไข “กฎหมายมหาวิทยาลัย” ในปี 2005 อนุญาตให้ตัวแทนนักศึกษาเข้าประชุมกิจการมหาวิทยาลัย โดยต้องมีจำนวนไม่ต่ำกว่า 10% ของจำน่วนสมาชิกที่เข้าประชุม ซึ่งเป็นการเปิดศักราชใหม่ที่สำคัญให้แก่การเข้าร่วมอย่างเป็นทางการและประชาธิปไตยในรั้วมหาวิทยาลัย ต่อมา ในเดือน พ.ค. 2022 คณะกรรมาธิการการศึกษาและวัฒนธรรม สภานิติบัญญัติไต้หวัน ได้พิจารณาผ่านร่างแก้ไขกฎหมายมหาวิทยาลัยที่เสนอโดย ส.ส. เพิ่มสัดส่วนตัวแทนนักศึกษาจาก 10% เป็น 20% แต่เมื่อส่งออกนอกสภาฯ ก็มีเสียงอธิการบดีของหลายมหาวิทยาลัยไม่เห็นด้วย ทำให้ในเวลาต่อมาร่างแก้ไขกฎหมายดังกล่าวจึงตกไป มี.ค. 2023 สหพันธ์นักศึกษาไต้หวันได้ชุมนุมร้องเรียนหน้ากระทรวงศึกษาธิการ
สำหรับในส่วนของระดับมัธยมปลาย ในปี 2013 ก็ได้ผ่านร่างกฎหมายการศึกษาระดับมัธยมปลายที่ระบุให้นักศึกษาระดับมัธยมปลายและอาชีวะเข้าร่วมการประชุมกิจการโรงเรียนได้หลังจากเรียกร้องหลายครั้งหลายหน ต่อมาในปี 2021 ก็มีการแก้ไขเพิ่มเติมอีกในส่วนของสัดส่วนตัวแทนนักเรียนที่เข้าร่วมประชุมกิจการของโรงเรียนต้องไม่ต่ำกว่า 8% หลังจากนั้น เป็นต้นไปก็ได้พยายามขยายการเข้าร่วมกิจการโรงเรียนไปสู่ระดับล่างมากยิ่งขึ้นสูระดับมัธยมต้นและประถม ซึ่งก็เท่ากับให้นักเรียน นักศึกษา ทุกระดับในไต้หวันมีส่วนร่วมในการบริหารกิจการของโรงเรียนของตน
กฎหมายใหม่เสริมสิทธิประโยชน์และสิทธิการแสดงความคิดเห็นของนักเรียน นักศึกษา
นอกจากจะให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการประชุมกิจการโรงเรียนแล้ว การแก้ไข “กฎหมายการศึกษาภาคบังคับ” ในครั้งนี้ ยังมีการระบุหลักเกณฑ์ในการยกระดับหลักประกันสิทธิประโยชน์ของนักเรียนด้วย อย่างเช่น นักเรียนมีสิทธิที่จะร้องเรียนไปยังครูใหญ่ได้โดยตรงที่ “ตู้จดหมายครูใหญ่” และยังมีหลักประกันในการใช้วิธีการช่วยเหลือตนเองด้านการปกครองอีกหลายวิธี คณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตีความไว้ในการตีความหมายเลข 784 เมื่อนักเรียนเห็นว่าสิทธิประโยชน์ของตนถูกโรงเรียนลิดรอน ก็มีสิทธิร้องเรียนหรือร้องเรียนอีกได้ตามกฎหมาย ซึ่งเป็นมาตรการพึ่งตนเองทางด้านการปกครอง อย่างไรก็ดี ร่างแก้ไขที่เสนอโดยสภาบริหารก่อนหน้านี้ ได้ระบุให้การร้องเรียน หรือร้องเรียนอีก ต้องให้ผู้ปกครองเป็นตัวแทนในการร้องเรียน หากผู้ปกครองกับนักเรียนมีความเห็นต่างกัน ก็จะทำให้การร้องเรียนเป็นไปได้ยาก สุดท้ายที่ผ่านการพิจารณาแล้วได้ปรับระยะเวลาในการร้องเรียนจากเดิมต้องร้องเรียนภายใน 30 วัน เป็น 40 วัน และยังมีมาตราบทเฉพาะกาลด้วย ระบุให้กระทรวงศึกษาฯ ต้องเปิด “ตู้จดหมายครูใหญ่” และมีการตรวจสอบความคืบหน้าของข้อร้องเรียน เพื่อให้ข้อร้องเรียนของเด็กๆ ได้รับการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ การแก้ไขกฎหมายในครั้งนี้ ยังได้เสนอให้สถานศึกษาต้องมีสัดส่วนระหว่างครูกับการสอนหนังสือมีความยืดหยุ่น ค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรการศึกษาต้องเป็นงบประมาณที่ใช้เฉพาะกรณีเท่านั้น ให้มีความยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้นในองค์กรจัดตั้งของฝ่ายบริหารของโรงเรียน
สัดส่วนตัวแทนนักเรียนที่เข้าร่วมประชุมกิจการโรงเรียนเตรียมเพิ่มจาก 10% เป็น 20%
ในสถานศึกษายังคงขาดมาตรการที่เหมาะสมทั้งชุด แต่ละท้องถิ่นยังมีความคืบหน้าต่างกัน
อย่างไรก็ดี รายละเอียดเกี่ยวกับหลักปฏิบัติของ “กฎหมายการศึกษาภาคบังคับ” ยังไม่มีการประกาศใช้อย่างเป็นทางการ กฎหมายใหม่เพียงระบุให้นักเรียน “ร่วม” ประชุมกิจการของโรงเรียนเท่านั้น แต่มิให้ระบุสัดส่วนการ “ร่วม” ประชุมของตัวแทนจากนักเรียน รวมทั้งมิได้ระบุเกี่ยวกับวิธีการในการคัดเลือกตัวแทนนักเรียน ซึ่งกล่าวสำหรับนักเรียนระดับประถมและมัธยมแล้ว เมื่อเปิดเทอมแล้วจะผลักดันในเรื่องนี้อย่างไร? ทิศทางยังคงคลุมเครืออยู่มาก มีบางโรงเรียนได้จัดตั้งกลุ่มปกครองตนเองของนักเรียนก่อนที่จะมีกฎหมายฉบับนี้ เพื่อสาธิตให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นของตนอย่างไร? แต่ก็ยังมีบางโรงเรียนที่ยังคงสงวนท่าที รอดูสถานการณ์ก่อน แล้วประเมินว่าจะหาวิธีการผลักดันกิจการโรงเรียนและการเข้าร่วมของนักเรียนได้อย่างไร?
คุณโหวจวิ้นเหลียง ประธานสหพันธ์ครูแห่งชาติ ไต้หวัน มีความเห็นว่า กระทรวงศึกษาธิการไต้หวันจะต้องมีมาตรการดำเนินการทั้งชุด มิเช่นนั้นก็จะประสบกับความยากลำบากมากมายในการผลักดันดำเนินการ
นายหลินหมิงอวี้ รมช. ศึกษาธิการไต้หวันระบุว่า กฎหมายดังกล่าวให้ความสำคัญกับสิทธิในการแสดงความคิดเห็นของนักเรียนเป็นสำคัญ ซึ่งเป็นการออกแบบกฎหมายที่มีความทันสมัยมาก ทุกโรงเรียนต้องนำไปปฏิบัติให้เกิดผลอย่างจริงจัง แม้จะไม่มีสิทธิในการลงมติ แต่ต้องทำให้การ “ร่วม” ของนักเรียนเกิดขึ้นให้ได้ ให้นักเรียนเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นในเรื่องสำคัญ ๆ ของโรงเรียน ส่วนจะดำเนินการอย่างไรในเรื่องของที่มาและจำนวนตัวแทนนักเรียนที่จะเข้าร่วม กระทรวงศึกษาฯ จะร่วมกับส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ ผลักดันให้เรื่องนี้เกิดขึ้นจริง และช่วยเหลือโรงเรียนต่าง ๆ อย่างเต็มที่
ส่วนกลางมิได้ประกาศว่าจะต้องดำเนินการอย่างไร กองการศึกษาของแต่ละท้องถิ่นก็มีจังหวะก้าวที่ไม่เท่ากัน ปัจจุบันกองการศึกษา เทศบาลนครเกาสงกำลังผลักดันจัดทำ “หลักปฏิบัติการประชุมกิจการโรงเรียนระดับประถมและมัธยมนครเกาสง” เพื่อให้โรงเรียนมีหลักยึดในการดำเนินการ และในช่วงที่หลักปฏิบัติยังไม่ได้ประกาศใช้ ได้ขอให้โรงเรียนประถมและมัธยม ต้องเชิญนักเรียนเข้าร่วมการประชุมกิจการของโรงเรียนตั้งแต่ปีการศึกษานี้เป็นต้นไป ส่วนที่มาของตัวแทนนักเรียนที่จะเข้าร่วมการประชุมกิจการโรงเรียน หากโรงเรียนมีองค์กรปกครองตนเองของนักเรียนหรือสภานักเรียนอยู่แล้ว ก็อาจเชิญตัวแทนขององค์กรดังกล่าวของนักเรียนเข้าร่วมการประชุมได้
“ประเด็นหลักของกฎหมายนี้ก็คือการให้ความสำคัญกับการเข้าร่วม” คุณหวงเฉียวเว่ย ผู้อำนวยการฝ่ายการศึกษาระดับมัธยม กองการศึกษา เทศบาลกรุงไทเป ระบุว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้ทำความเข้าใจสถานะของแต่ละโรงเรียนแล้ว ในส่วนของระดับมัธยมมีจำนวนไม่น้อยที่ได้สอบถามหัวหน้าชั้นแต่ละชั้นว่า มีใครอาสาเข้าร่วมการประชุมกิจการโรงเรียนหรือไม่ หรือให้หัวหน้าชั้นเลือกตัวแทนกันเอง ส่วนเมื่อโรงเรียนได้เชิญนักเรียนเข้าร่วมประชุมแล้ว นักเรียนก็อาจตัดสินใจเข้าร่วมหรือไม่ตามความสมัครใจ กฎหมายในปัจจุบันมีความยืดหยุ่นให้แก่โรงเรียนประถมและมัธยมค่อนข้างมาก ที่สำคัญก็เพื่อให้เด็ก ๆ ได้เข้าร่วมกิจการของโรงเรียนตั้งแต่เรื่องเล็กๆ อย่างห้องน้ำ หรือเรื่องใหญ่ ๆ จึงไม่มีการจำกัดรูปแบบที่เข้าร่วม
ในร่างแก้ไขกฎหมายมีอยู่เพียงประโยคเดียว “ควรให้นักเรียนเข้าร่วม” ทนายเหอเว่ยฉือ รองนายกสมาคมประชาธิปไตยเยาวชนไต้หวัน บอกว่า “ (นี่ก็เพื่อ) ให้มีขึ้นมาก่อน ส่วนในอนาคตค่อยมาคิดกันว่าจะให้ดีขึ้นได้อย่างไร” ขณะเดียวกันก็ให้พื้นที่แก่โรงเรียนประถมและมัธยมค่อนข้างมาก ซึ่งอาจจะมีบางโรงเรียนที่ยังคงรอดูสถานการณ์ก่อน”
โรงเรียนจำนวนไม่น้อยที่ให้ความช่วยเหลือนักเรียนจัดตั้งสภานักเรียน ให้นักเรียนสัมผัสกับการเข้าร่วมในระบอบประชาธิปไตยก่อนที่จะมีการดำเนินการอย่างจริงจัง อย่างโรงเรียนมัธยมซินจวง นิวไทเป ก็เริ่มให้นักเรียนชั้นมัธยมปลายทุกรุ่นจัดตั้งองค์กรในการปกครองตนเองตั้งแต่ปี 2018 เป็นต้นมา
เสียงจากนักเรียน : ครูควรให้ความช่วยเหลือพวกเขาเรียนรู้การเข้าร่วมประชุม
เดือน ก.ย. ที่ผ่านมา เพิ่งเปิดเทอม น้องกัวเข่อหาน นักเรียชั้นนประถม 6 โรงเรียนประถมซิ่งอัน กรุงไทเป แม้จะยังคงมึน ๆ กับการประชุมกิจการโรงเรียนว่าคืออะไรกันแน่ แต่คุณครูก็ได้เริ่มสอบถามความสมัครของนักเรียนในชั้นเรียนว่า มีใครอาสาเข้าร่วมประชุมบ้าง แล้วเลือกนักเรียนที่อาสาสมัครเข้าร่วมการประชุมให้ไปร่วมประชุมกิจการโรงเรียน
เมื่อน้องกัวฯ ถูกถามว่าจะสมัครเข้าร่วมประชุมหรือไม่? น้องกัวฯ ตอบแบบเขิน ๆ ว่า “ตัวเองยังไม่พร้อมที่จะไปเผชิญหน้ากับผู้ใหญ่จำนวนมาก ๆ แบบนี้ กลัวพูดผิด” หากต้องเข้าร่วมประชุมจริงๆ ก็ยังหวังว่าจะเป็นการฝึกการเข้าร่วมประชุมมากกว่า และมีการเตรียมประเด็นการประชุมล่วงหน้า มิใช่พอคุณครูเสนอประเด็น แล้วค่อยมาคิด แบบนี้จะทำให้ตื่นเต้นเกินไป”
อย่างไรก็ดี น้องกัวฯ ก็บอกว่า หากตนสามารถแสดงความคิดเห็นของตนในที่ประชุมได้ ที่อยากจะเสนอมากที่สุดก็คือ หวังว่าในระหว่างการเรียนในห้องเรียน คุณครูจะเปิดโอกาสให้มีปฏิสัมพันธ์กับนักเรียนมากขึ้น ออกแบบการสอนโดยใช้เกมส์เล่นต่าง ๆ มาทำให้มีความเข้าใจได้ง่ายมากขึ้น เพิ่มการจดจำของนักเรียน นอกจากนี้ น้องกัวฯ ก็ยังคงมีข้อสงสัยว่า “ หากนักเรียนเสนอความเห็นให้เวลาเรียนกับเวลาพักสลับกัน โรงเรียนก็คงไม่เห็นด้วย แล้วให้นักเรียนเข้าร่วมประชุมทำไมเล่า”
ข้อวิตกของน้องกัวฯ ดังกล่าวก็เป็นปัญหาที่บรรดาครู ๆ ทั้งหลายก็วิตกเช่นเดียวกัน ครูใหญ่หลี่จื้อเสียน โรงเรียนประถมซินซื่อ นครไถหนาน เปิดเผยว่า ให้นักเรียนเข้าร่วมประชุมไม่ใช่เรื่องยาก “แต่มันถูกต้องตามระเบียบขั้นตอนหรือไม่?” ในกฎหมายแม้จะไม่ได้ระบุให้ต้องมีการจัดตั้งสภานักเรียน แต่เขาก็เห็นว่า ควรจัดตั้งสภานักเรียนก่อน เพื่อให้มีตัวแทนนักเรียน จึงจะถูกต้องตามหลักการและระเบียบ
ครูใหญ่หลี่ฯ เห็นว่า หากให้นักเรียนแสดงความคิดเห็น แล้วโรงเรียนไม่สามารถทำได้ คุณครูก็ต้องหาเวลาชี้แจงให้นักเรียนทราบถึงเหตุผลที่ทำไม่ได้ เพื่อให้นักเรียนเข้าใจส่วนประเด็นที่จะประชุมกันก็ควรให้นักเรียนได้รับทราบและเข้าใจก่อน การเตรียมการล่วงหน้าเหล่านี้ จะทำให้ทั้งครูและนักเรียนต้องเสียเวลาไปการนี้ไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่เคยมีประสบการณ์แบบนี้มาก่อน จึงถือเป็นความท้าทายต่อทั้งครูและนักเรียนด้วย
คุณเหอหย่งเสียง ประธานสหพันธ์สิทธิประโยชน์นักเรียนประถมและมัธยม ไต้หวัน เห็นด้วยว่า ระเบียบขั้นตอนที่ถูกต้องมีความสำคัญยิ่ง เข้าร่วมการเรียกร้องให้มีการจัดตั้งสภานักเรียนมาตั้งแต่เข้าเรียนชั้นมัธยมปีที่ 2 ก่อนที่จะมีการแก้ไขกฎหมาย เขาเคยเสนอแนวคิดดังกล่าวให้แก่ ส.ส. ว่า ก่อนที่นักเรียนจะเข้าร่วมการประชุมกิจการโรงเรียน ต้องให้นักเรียนจัดตั้งสภานนักเรียนก่อน เพราะนักเรียนแต่ละคนมีความเป็นปัจเจกบุคคล การระดมความคิดเป็นฉันทามติของนักเรียนจึงไม่อาจอาศัยเพียงในชั้นเรียนเท่านั้น เขาบอกอีกว่า “เมื่อมีสภานักเรียนแล้ว ก็จะสามารถรวบรวมทรายเม็ดเล็กๆ เหล่านั้น เข้าด้วยกันได้ กลายเป็นพลังหนึ่ง” น้องกัวฯ บอกว่า คุณครูอาจให้ความช่วยเหลือนักเรียนคุ้นเคยกับการถกเถียงแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันก่อน อาทิ อาจใช้การประชุมครอบครัวเป็นที่ฝึกซ้อมก่อน ที่ผ่านมาจะมีการลงมติอย่างรวดเร็วเฉพาะภายในชั้นเรียนเท่านั้น อย่างประเด็นการเลือกของมาขายในงานโรงเรียน หากทำให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นว่าทำไมต้องขายของนี้ หรือขายหัตถกรรม คนอื่น ๆ ก็จะแสดงความคิดเห็นที่ทั้งเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็ได้ สุดท้ายก็จะเป็นการลงมติตัดสิน “ต้องเริ่มเรียนรู้จากสิ่งเล็ก ๆ เหล่านี้”
5 ประเด็นสำคัญในการแก้กฎหมายการศึกษาภาคบังคับ ไต้หวัน
เสียงจากนักเรียนมัธยม: ก้าวแรกที่ก้าวออกไปให้ได้คือแสดงความคิดเห็น
กรณีของโรงเรียนมัธยมซินจวง นิวไทเป การเลือกตัวแทนนักเรียนไม่ใช่เรื่องยากเลย เมื่อ 5 ปีก่อน (2018) เป็นต้นมา โรงเรียนมัธยมซินจวงได้เริ่มแนะแนวนักเรียนระดับมัธยปีที่ 2 ให้จัดตั้งสภานักเรียน และคัดเลือกนักเรียนตัวอย่าง ให้นักเรียนมัธยมปีที่ 2 เสนอชื่อผู้ดำรงตำแหน่งประธานและรองสภานักเรียนแล้วลงมติเลือกออกมา ครูอู๋ฉงหรง ผอ. ฝายกิจการโรงเรียนมัธยมซินจวงเปิดเผยว่า การเชิญนักเรียนมาร่วมประชุมด้วยเป็นเรื่องง่ายมาก แต่ต้องคำนึงถึงว่านักเรียนมีความสามารถและเวลาพร้อมที่จะเข้าร่วมการประชุมหรือไม่ และผู้ปกครองอยากให้เข้าร่วมหรือไม่
คุณครูอู๋ฯ ยกตัวอย่างสภานักเรียนว่า ดำเนินการมา 5 ปี สิ่งที่สภานักเรียนทำได้เป็นสำคัญก็คือการดูแลให้คะแนนระเบียบวินัยและความสะอาดในชั้นเรียนเท่านั้น หรือไม่ก็แค่จัดบูธในงานโรงเรียน เพราะนักเรียนมีเวลาจำกัด ความตั้งใจจริงของโรงเรียนก็คือให้นักเรียนมีโอกาสเข้าร่วมและแสดงความคิดเห็นได้ แต่ไม่ได้มีการกำหนดให้สภานักเรียนมีอำนาจหรือหน้าที่อะไรบ้าง เช่นเดียวกัน ในการเข้าร่วมประชุมกิจการโรงเรียน “ไม่ต้องไปตั้งความหวังหรืออุดมการณ์อะไรมากมายนัก แต่การเข้าร่วมและกระบวนการเหล่านี้เป็นสิ่งที่นักเรียนจะได้เรียนรู้ หรือเข้าใจเหตุผลในการกำหนดนโยบายของโรงเรียน”
ไช่เจียเอิน นักเรียนมัธยม 3 โรงเรียนมัธยมซินจวง ปัจจุบันเป็นเจ้าหน้าที่ของสภานักเรียน และเป็นตัวแทนเข้าร่วมคณะกรรมการบริการและเครื่องแบบ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่เข้าร่วมกิจกรรมสาธารณะของเธอ ส่วนโอกาสเข้าร่วมประชุมกิจการโรงเรียน เธอก็ตื่นเต้นและอยากจะลองเข้าร่วม
เธอนึกถึงในตอนแรกที่คณะกรรมการเครื่องแบบก็มีการถกเถียงกันในเรื่องของการปักชื่อและเลขประจำตัวบนเครื่องแบบนักเรียน ตอนแรกก็ตื่นเต้นไม่กล้าแสดงความคิดเห็น จนครูต้องเอาไมโครโฟนมายื่นให้ตรงหน้า จึงกล้าที่จะแสดงความเห็นเหตุผลที่ไม่เห็นด้วยกับการปักชื่อบนชุดนักเรียน แต่ เมื่อได้ยินเพื่อน ๆ แสดงความเห็นสนับสนุนให้มีการปักชื่อและหมายเลขประจำตัวบนชุดนักเรียน เหตุผลบางอย่างคือเกรงว่าเมื่อออกไปภายนอกโรงเรียนเกิดอุบัติเหตุขึ้น ก็จะสามารถแจ้งให้โรงเรียนและผู้ปกครองทราบได้ทันที “ฉันเข้าใจความคิดเห็นของทุกคน สุดท้ายเลยเห็นดีเห็นงามกับการเสนอให้มีการปักชื่อบนเครื่องแบบนักเรียน”
“ที่ผ่านมาก็จะอยู่แต่ในชั้นเรียน ดูแลตัวเองให้ดีก็พอ ทำการบ้านให้เสร็จเรียบร้อย ต่อมาก็ค่อยๆ เรียนรู้ว่าการแสดงความเห็นและรับฟังความเห็นของคนอื่น ก็มีความสำคัญเหมือนกัน” ไช่เจียเอินเปิดใจไว้ เนื่องจากการประชุมกิจการโรงเรียนเกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายต่าง ๆ มากมาย แม้จะรู้ตัวว่าเข้าใจปัญหาได้รอบด้านหรือยัง แต่ก็ยังคงต้องใช้โอกาสเข้าร่วม และก่อนเข้าร่วมก็หวังว่าครูจะให้คำแนะนำเหมือนตอนตั้งสภานักเรียนใหม่ ๆ ช่วยให้นักเรียนเข้าใจสาระการประชุมกิจการโรงเรียนมากขึ้น
จางรุ่ยอวี๋ นักเรียนชั้นมัธยม 3 โรงเรียนมัธยมซินจวง นิวไทเป บอกว่า อยากให้ครูแจ้งหัวข้อการประชุมก่อนที่จะมีการประชุม 3-7 วัน เพื่อให้นักเรียนได้เตรียมตัว “ทุกอย่างจะยากตอนเริ่มต้น” แต่ก็ต้องก้าวข้ามก้าวแรกที่ต้องแสดงความคิดเห็น”
จับตาประเด็นหลัก : ตัวแทนนักเรียนมาจากไหน? เข้าร่วมประเด็นใด?
ในการเข้าร่วมประชุมกิจการโรงเรียนในอนาคต น้องจางรุ่ยอวี๋อยากจะลองเข้าร่วมประชุมด้วย โดยโฟกัสไปที่ตัวแทนนักเรียนมาจากไหน? สิ่งแรกที่เธออยากจะบอกกับโรงเรียนก็คือ ไม่ว่าจะเป็นตัวแทนนักเรียนในสภานักเรียนหรือร่วมประชุมกิจการโรงเรียน ควรที่จะเปิดกว้างให้นักเรียนที่อยากเข้าร่วมให้กว้างขึ้น ไม่ใช่เลือกจากนักเรียนตัวอย่างเท่านั้น “นักเรียนตัวอย่างบางคนอาจไม่อยากเข้าร่วม ก็ควรให้โอกาสนักเรียนคนอื่นที่อยากเข้าร่วมและอยากทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม”
ผอ. อู๋ฉงหรง ฝ่ายกิจการนักเรียน โรงเรียนมัธยมซินจวง นิวไทเป ระบุว่า “การเข้าร่วมประชุมกิจการโรงเรียน ควรทึ่จะต้องเริ่มจากประเด็นที่เกี่ยวกับนักเรียนก่อน” หากทำแค่เรียกนักเรียนมาประชุมแล้วเซ็นชื่ออย่างเดียว ก็จะไร้ความหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บางประเด็นครูก็ยังไม่เข้าใจภารกิจของแต่ฝ่ายในโรงเรียน แล้วนักเรียนจะเข้าใจได้อย่างไร? ดังนั้น การเข้าร่วมประชุมกิจการโรงเรียน ก็ควรเริ่มต้นจากประเด็นที่นักเรียนสามารถเข้าใจได้ก่อน ก็จะทำให้การเข้าร่วมของนักเรียนมีความหมายมากขึ้น และมีความหมายจริงๆ
มีครูใหญ่หลายท่านบอกว่า ประเด็นที่นักเรียนประถมและมัธยมให้ความสนใจอย่างระเบียบเกี่ยวกับการให้รางวัล ลงโทษ การใช้ชีวิตในโรงเรียน และเครื่องแบบ ตลอดจนงานฉลองวันก่อตั้งโรงเรียนหรือการแข่งกีฬาโรงเรียน ซึ่งทางโรงเรียนก็ยินดีรับฟังความเห็นจากนักเรียน ครูใหญ่เฉินซุ่นเหอ โรงเรียนประถมป๋ออ้าย กรุงไทเป ระบุว่า ก่อนที่จะให้นักเรียนเข้าร่วมประชุมกิจการโรงเรียน ก็ควรให้ตัวแทนนักเรียนเข้าร่วมในคณะกรรมการพิจารณารางวัลและลงโทษและคณะกรรมการเครื่องแบบนักเรียน
ปัจจุบัน โรงเรียนประถมและมัธยมที่อนุญาตให้ตัวแทนนักเรียนเข้าร่วมในคณะกรรมการต่าง ๆ ของโรงเรียน ที่สำคัญก็คือคณะกรรมการเครื่องแบบและอาหารกลางวัน กองการศึกษาของแต่ละท้องที่ก็มีการออกระเบียบของตนเอง แต่จำนวนตัวแทนนักเรียนที่เข้าร่วมจะแตกต่างกัน เจ้าหน้าที่ของโรงเรียนเปิดเผยว่า เนื่องจากประเด็นเครื่องแบบเกี่ยวข้องกับประเด็นระยะเปลี่ยนผ่านเพื่อความเป็นธรรม ซึ่งได้รับความสนใจเป็นพิเศษจากหน่วยงานด้านการศึกษา ดังนั้น ส่วนใหญ่จึงระบุจำนวนตัวแทนนักเรียนที่เข้าร่วมอย่างน้อย 1 ใน 4 ขึ้นไปของผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด ส่วนที่มาของตัวแทนนักเรียนก็แตกต่างกันไป นครเกาสงยังได้ระบุให้ตัวแทนนักเรียนต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ปกครองด้วย รูปแบบการคัดเลือกก็ให้แต่ละโรงเรียนเป็นผู้กำหนดกันเอง อย่างคณะกรรมการกิจการอาหารกลางวันของโรงเรียนก็มาจากการให้นักเรียนเป็นผู้เลือกโดยตรง
การเข้าร่วมประชาธิปไตยในโรงเรียน นักเรียนได้อะไรบ้าง?
-
เข้าใจระบอบประชาธิปไตย
“การเข้าร่วมเป็นการประนีประนอม อย่างน้อยที่สุดก็ทำให้นักเรียนประถมและมัธยมมีโอกาสเข้าร่วม” คุณเหอเว่ยฉือ ซึ่งติดตามการเข้าร่วมตามระบอบประชาธิปไตยของเยาวชน เห็นว่า โรงเรียนไม่อนุญาตให้นักเรียนเข้าร่วมการลงมติตัดสินใจในบางประเด็น มีวิธีการต่าง ๆ มากมาย ดังนั้น แม้จะไม่ได้ร่วมการลงมติ แต่เป้าหมายสำคัญที่สุดที่ให้นักเรียนเข้าร่วมก็คือการศึกษาระบอบประชาธิปไตย ให้นักเรียนเข้าใจถึงกระบวนการประชาธิปไตย
ที่ผ่านมา ทางสมาคมฯ ได้รับการร้องเรียนจากนักเรียนมัธยมเป็นประจำ อย่างไม่พอใจระเบียบการใช้โทรศัพท์มือถือของโรงเรียน หรือมาสายช่วงทบทวนบทเรียนในตอนเช้าแต่ถูกบันทึกว่าขาดเรียน สาเหตุสำคัญก็คือกระบวนการในการกำหนดระเบียบต่าง ๆ เหล่านี้ ที่ขาดการรับฟังความคิดเห็นจากนักเรียน ดังนั้น การให้นักเรียนเข้าร่วมประชุมกิจการโรงเรียนจนถึงระดับการกำหนดนโยบายของโรงเรียน ไม่เพียงแต่จะสามารถรวบรวมความคิดเห็นจากนักเรียนได้เท่านั้น แต่ก็ยังทำให้นักเรียนเข้าใจเหตุผลที่ครูและผู้ปกครองต้องเก็บโทรศัพท์มือถือเมื่อเข้าห้องเรียน เมื่อมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันแล้ว ในที่สุดก็กลายเป็นฉันทามติร่วมกัน นี่ก็คือกระบวนการประชาธิปไตย ในสังคมประชาธิปไตยทุกคนจะเคารพต่อการตัดสินใจสุดท้าย ซึ่งจะลดโอกาสการเกิดการประท้วงของนักเรียนได้
2. เข้าใจถึงการเข้าร่วมเพื่อทำความเข้าใจระหว่างกัน
เมื่อคำนึงถึงประเด็นความรู้และความสามารถของนักเรียน ปัจจุบัน อนุญาตให้นักเรียนประถมและมัธยมเข้าร่วมในคณะกรรมการเครื่องแบบของโรงเรียน อย่างไรก็ดี คุณเหอเว่ยฉือ บอกว่า การประชุมกิจการโรงเรียนเป็นก้าวแรกให้นักเรียนได้เรียนรู้กฎหมาย และความรู้ต่าง ๆ เข้าใจกระบวนการ และขั้นตอนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง นักเรียนก็จะสามารถแสดงบทบาทในการตรวจสอบของพลังที่ 3 ได้เป็นอย่างดี
ไช่เจียเอิน ในฐานะนักเรียนมัธยมระบุว่า ตอนอยู่ชั้นประถม ตนไม่มีโอกาสได้เข้าร่วม หากมีโอกาสเข้าร่วมตอนอยู่มัธยมก็จะทำให้รู้วิธีการในการรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ และรู้ว่าต้องมีเทคนิคในการแสดงความเห็นของตัวเองยังไง? ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อตนเองไม่ว่าจะเป็นช่วงมัธยมปลาย มหาวิทยาลัยหรือเมื่อเข้าสูวัยทำงาน
3. ปฏิรูปโครงสร้างแห่งอำนาจ
คุณอู๋อวี่เต๋อ นักวิจัยระดับด๊อกเตอร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยฝู่เหริน ไทเป ในฐานะที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันการแก้ไขกฎหมายการศึกษาระดับสูง ให้นักเรียนมัธยมมีส่วนร่วมในกิจการโรงเรียนและก่อตั้งสภานักเรียน มีความเห็นว่า “ตำแหน่งหัวหน้าปกครองตนเองนักเรียนประถมเป็นเพียงบ่วงโซ่หนึ่งของการเลือกตั้งในโรงเรียนเท่านั้น แต่ตอนนี้ สิ่งที่เราต้องทำก็คือการมีส่วนร่วมในประเชาธิปไตยในโรงเรียน” ให้นักเรียนมีความเข้าใจต่อประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
“การศึกษาแบบดั้งเดิมจะเป็นความสัมพันธ์ของอำนาจจากบนลงล่าง” คุณเหอฯ ระบุ นักเรียนไต้หวันเคยชินกับการทำทุกอย่างในกรอบที่ถูกวางไว้ อย่างเช่น หากโรงเรียนอนุญาตให้นำอาหารมารับประทานในโรงเรียนได้ ก็จะทำให้มีขยะมากขึ้น ตอนแรกจึงไม่เห็นด้วย แต่เมื่อดูจากตัวอย่างของโรงเรียนสาธิตมัธยมซือต้าที่อนุญาตให้นำอาหารมารับประทานเองแล้ว คุณครูกับนักเรียนก็มีการทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาขยะที่เกิดจากการนำอาหารมารับประทานเอง จนครูเห็นด้วย และพบว่าปัญหานี้ไม่ใช่ปัญหาใหญ่ ประชาธิปไตยในโรงเรียนก็คือกระบวนการในการเปลี่ยนแปลงความคิดอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพราะนักเรียนก็คือประชาชนเหมือนกัน อย่างเช่น นักเรียนไม่พอใจที่ถูกทำโทษตักเตือนหรือทำทัณฑ์บน ก็เริ่มเรียนรู้ที่จะศึกษาและต่อสู้อย่างมีเหตุผล
เมื่อย้อนกลับไปนึกถึงในยุคที่เป็นนักเรียน คุณหลี่หย่าจิง รองเลขาธิการสหพันธ์วิชาชีพครูแห่งชาติ ไต้หวัน บอกว่า “ฉันเป็นเด็กดื้อมาตั้งแต่เด็ก ๆ มีความเห็นบรรเจิด” แต่ที่ผ่านมา ไม่มีช่องทางในการแสดงความคิดเห็นจึงใช้วิธีการแย่ๆ มาจัดการ อย่างตอนเรียนก็จะมีเพื่อน ๆ ในชั้นแสดงความคิดเห็น สลับกันจงใจแกล้งคุณครู แม้ในโรงเรียนจะยังมีคงมีอุปสรรคมากมายที่ต้องขจัดในการให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการประชุมกิจการโรงเรียน แต่ก็มีโอกาสให้นักเรียนได้เข้าร่วมกิจกรรมพลเมืองอย่างแท้จริง อาศัยช่องทางประชาธิปไตยแสดงความคิดเห็นของตน ทำความเข้าใจกับโรงเรียนและครู และสามารถแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างนักเรียนกับครู คุณเหอฯ ระบุว่า บางทีตอนเริ่มต้นอาจยากสักหน่อย แต่เมื่อย้อนคิดไปถึงตอนอยู่มหาวิทยาลัย และมัธยมปลายที่ใช้วิธีการแบบค่อยเป็นค่อยไปแล้ว เมื่อเวลาผ่านไป 3-5 ปีก็หวังว่าคนรุ่นใหม่จะเริ่มต้นในมหาวิทยาลัย เข้าใจว่าอะไรคือวิธีการที่ดีที่สุดของการผลักดันประชาธิปไตย