๑. รัฐสภาสหรัฐฯ มีมติเป็นเอกฉันท์สนับสนุนไต้หวันกลับเข้าเป็นสมาชิกสังเกตการณ์ของ WHO
เมื่อวันที่ 27 เม.ย. ที่ผ่านมา สภาผู้แทนราษฎรหรือสภาล่างของสหรัฐฯ ได้มีมติเป็นเอกฉันท์รับรองญัตติเรียกร้องให้กระทรวงการต่างประเทศ สหรัฐฯ ต้องหาวิธีหรือยุทธศาสตร์ในการสนับสนุนให้ไต้หวันกลับเข้าสู่การประชุมสมัชชาใหญ่อนามัยโลกหรือ WHA ในฐานะสังเกตการณ์โดย ส.ส. สหรัฐฯ ที่ให้การสนับสนุนต่อไต้หวันมาโดยตลอดได้ร่วมกันเสนอญัตติดังกล่าว ย้ำว่า การโดดเดี่ยวไต้หวันเป็นสิ่งที่จีนใช้มาข่มขู่คุกคามและโจมตีประชาธิปไตยไต้หวัน ซึ่งเป็นนโยบายทั้งชุดของจีน ไต้หวันมีสิทธิที่จะแสดงความคิดเห็น และมีความสามารถที่จะอุทิศตนให้แก่การอนามัยโลก ไม่ควรที่จะเพียงเพราะการเมืองของใครบางคนทำให้เสียงความคิดเห็นอื่น ๆ ถูกกีดกัน ไม่สามารถส่งเสียงสื่อสารไปถึงผู้คนได้
การผ่านญัตติดังกล่าวก่อนเปิดการประชุมใหญ่ WHA ในเดือน พ.ค. นี้ มีความหมายสำคัญยิ่ง เพื่อสื่อสารไปยังมิตรในระบอบประชาธิปไตยของสหรัฐฯ คือไต้หวันให้เห็นได้ว่า สองพรรคการเมืองของสองสภาของสหรัฐฯให้คำมั่นที่แข็งแกร่งแน่วแน่อย่างที่เห็น
ส่วนสมาชิกรัฐสภาสหรัฐฯ เชื้อสายเกาหลีมิตรสหายของไต้หวันรายนี้ระบุว่า การสนับสนุนไต้หวันในตอนนี้มีความสำคัญยิ่งกว่าในอดีตที่ผ่านมา เพราะหลังการรุกรานยูเครนของรัสเซีย จีนก็กำลังเตรียมการที่จะใช้กำลังทหารต่อไต้หวัน ภัยคุกคามต่อดินแดนแห่งเสรีภาพใด ๆ ก็เท่ากับเป็นการคุกคามต่อดินแดนแห่งเสรีภาพทั้งหมดทั่วโลก
กระทรวงการต่างประเทศ ไต้หวัน สาธารณรัฐจีน ระบุว่า การผ่านญัตติดังกล่าวของสหรัฐฯ ชี้ให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่า สองพรรคการเมืองในสองสภาของสหรัฐฯ ต่างมีจุดยืนเดียวกันอย่างเข้มข้นที่ให้การสนับสนุนไต้หวันเข้าร่วมการประชุม WHA กระทรวงการต่างประเทศไต้หวันต้องขอขอบคุณต่อแรงสนับสนุนไต้หวันของสหรัฐฯ ด้วยความจริงใจ
ทางด้านนายเฉินสือจง รัฐมนตรีสาธารณสุข ไต้หวันระบุว่า ในช่วงนี้ไต้หวันมีการระบาดของโควิด-19 ค่อนข้างรุนแรง จึงคิดว่าคงจะยังไม่เหมาะสมที่จะเดินทางไปร่วมการประชุม WHA เพราะสถานะของตนในตอนนี้คือ ผู้อำนวยการศูนย์บัญชาการควบคุมโรคระบาดไต้หวัน ต้องติดตามสถานการณ์ทุกอย่างอย่างใกล้ชิด
๒. ไต้หวันต้องมีหลักประกันที่จะหลุดพ้นจากการรุกรานของจีน
นางลิซ ทรูส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เครือจักรภพ และการพัฒนา แห่งอังกฤษ ได้กล่าวแสดงความวิตกกังวลต่อสถานการณ์บนช่องแคบไต้หวันหลายครั้ง ซึ่งล่าสุดเมื่อวันที่ 27 เม.ย. ที่ผ่านมา นางฯ ได้ระบุในการกล่าวปาฐกถาในหัวข้อพัฒนาการของสถานการณ์ระหว่างประเทศที่กรุงลอนดอนว่า ทุกประเทศจะต้องเคารพกฎระเบียบกติกาสากล ซึ่งรวมถึงจีนด้วย และได้เตือนว่า ปักกิ่งกำลังเร่งพัฒนากองทัพที่มีสมรรถนะการสู้รบสูงมาก สามารถยิงขีปนาวุธได้ไกลถึงยุโรป นอกจากนี้ นางฯ ยังได้ยกตัวอย่างไต้หวันว่า นาโต้ต้องหาวิธีการที่จะเป็นฝ่ายกำราบภัยคุกคามในอินโดแปซิฟิก มีวิสัยทัศน์กว้างไกลออกไปมากกว่าที่จะอยู่ในรัศมีเพียงเฉพาะสมาชิกของนาโต้เท่านั้น อย่างญี่ปุ่น และออสเตรเลีย เพื่อเป็นหลักประกันให้แก่การปกป้องอินโดแปซิฟิก พร้อมกันนี้นางยังได้กล่าวถึงไต้หวันเป็นพิเศษว่า “เราจำเป็นต้องสร้างหลักประกันให้แก่สมรรถนะการป้องกันตนเองของการเมืองประชาธิปไตยของไต้หวัน”
นางลิซ ทรูส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เครือจักรภพ และการพัฒนา แห่งอังกฤษ
กระทรวงการต่างประเทศ ไต้หวันได้แสดงความขอบคุณต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอังกฤษที่แสดงความวิตกต่อสถานการณ์บนช่องแคบไต้หวันหลายครั้ง ซึ่งก่อนหน้านี้เมื่อเดือน ต.ค. ปีที่แล้ว ก็กล่าวว่า การรุกล้ำเขตแสดงตนหรือ ADIZไต้หวันของจีนเป็นพฤติกรรมที่อันตราย และอาจกลายเป็นจุดปะทุกันได้ นอกจากนี้ เมื่อเดือน ก.พ. ปีนี้ นางฯ ยังได้ระบุว่า หากประเทศตะวันตกไม่ทำตามคำมั่นสัญญาในการให้ความช่วยเหลือต่อยูเครน ก็จะก่อผลเสียอย่างร้ายแรงให้แก่ทั่วโลก ซึ่งรวมถึงไต้หวันด้วย
๓. ไต้หวันจับมือกับอีก 55 ประเทศ ลงสัตยาบรรณ Future Of The Internet
เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา สหรัฐฯ ได้เชิญตัวแทนจากประเทศต่าง ๆ รวม 55 ประเทศ จัดการประชุมและลงสัตยาบรรณในคำประกาศ ฟิวเจอร์ออฟเดอะอินเตอร์เน็ต (Future Of The Internet) หรือ DFI เพื่อปกป้องระบอบประชาธิปไตย ปกป้องความเป็นปัจเจกบุคคล และส่งเสริมเศรษฐกิจทั่วโลกให้เป็นเศรษฐกิจเสรี คำประกาศระบุว่า “การถือกำเนิดขึ้นของลัทธิอำนาจนิยมดิจิทัล” ได้กดดันเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการเสนอข่าว ทั้งยังปล่อยข่าวเท็จหรือข่าวปลอมผ่านเครือข่ายระบบอินเตอร์เน็ตอีกด้วย
ประเทศที่ลงนามในสัตยาบรรณนี้นอกจากไต้หวันแล้วยังประกอบไปด้วย ออสเตรเลีย อังกฤษ แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี ญี่ปุ่น ประเทศพัฒนาแล้ว และยังมีประเทศกำลังพัฒนา อาทิ อาร์เจนตินา ไซปรัส เคนยา มอนโตนิโก สโลวาเนีย และยูเครนที่กำลังต้องเผชิญหน้ากับภัยสงครามรุกรานจากรัสเซีย
เจ้าหน้าที่อาวุโสของรัฐบาลที่เข้าร่วมการประชุมท่านหนึ่งบอกว่า “ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา รัสเซียได้อาศัยการทำสงครามข่าวสาร โดยการปล่อยข่าวปลอม เซ็นเซอร์ข่าวทางอินเตอร์เน็ต และสั่งบล๊อกหรือปิดเว็บไซต์รวมทั้งโจมตีเว็บไซต์ของยูเครน นอกจากนี้ เขายังระบุว่า ตอนนี้จีนได้ใช้วิธีการเดียวกับที่รัสเซียใช้ เพราะฉะนั้นรัสเซียมิได้โดดเดี่ยวเดียวดายอีกต่อไป