close
Rti Thaiดาวน์โหลด Rti App
Open
:::

กระแสประชาธิปไตย วันจันทร์ที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๖๕

  • 19 September, 2022
กระแสประชาธิปไตย
รมว. กลาโหม สหรํฐฯ และ รมว. กลาโหม ญี่ปุ่น ประชุมร่วมอีกครั้งที่กรุงวอชิงตัน ดีซี ย้ำความสำคัญของเสถียรภาพและสันติภาพบนช่องแคบไต้หวัน
กระแสประชาธิปไตย
Inter-Parliamentary Alliance on China (IPAC) ร่วมย้ำจุดยืนรักษาเสถียรภาพและสันติภาพบนช่องแคบไต้หวัน
กระแสประชาธิปไตย
บ่อหยั่น! คณะวุฒิสมาชิกสหรัฐฯ เยือนไต้หวันอย่างต่อเนื่อง หลังจีั่
กระแสประชาธิปไตย
โฉมหน้าสองวุฒิสมาชิกสหรัฐฯ ที่ร่วมกันเสนอกฎหมายที่เป็นมิตรต่อไต้หวัน และสาระสำคัญของ Taiwan Policy Act 2022
กระแสประชาธิปไตย
คณะกรรมาธิการต่างประเทศ วุฒิสภา สหรัฐฯ รับรองร่างกฎฆมายว่าด้วย Taiwan Policy Act 2022 (ภาพจากสำนักข่าวรอยเตอร์)

๑. สหรัฐฯ ผ่านกฎหมายนโยบายไต้หวัน กระชับสัมพันธ์แน่นแฟ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน 

            คณะกรรมาธิการ วุฒิสภา ของสหรัฐฯ มีมติเห็นด้วยอย่างท่วมท้นถึง 17:5 รับรองร่างกฎหมายนโยบายไต้หวัน หรือTaiwan Policy Act ซึ่งเป็นกฎหมายที่จะให้การสนับสนุนในการป้องกันการรุกรานจากจีน และยกระดับฐานะทางการทูตของไต้หวันในประชาคมโลก ซึ่งถูกจับตามองจากฝ่ายต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจีนที่ได้ขู่ไว้ก่อนหน้านี้ว่า กฎหมายนี้เป็นความพยายามของพรรคดีพีพีที่พยายามดึงสหรัฐฯ เข้ามายุ่งเกี่ยวกับปัญหาไต้หวัน พร้อมย้ำว่า ปัญหาไต้หวันเป็นปัญหาการเมืองภายในของจีน ความพยายามในการแยกไต้หวันเป็นเอกราชจะไม่มีวันประสบความสำเร็จ ส่วน สว. สหรัฐฯ ก็ระบุว่า การผ่านร่างกฎหมายฉบับนี้ไม่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงนโยบายของสหรัฐฯ แต่เป็นการแสดงจุดยืนอย่างแข็งขันที่ให้การสนับสนุนไต้หวันอย่างเต็มที่

            สาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ประกอบไปด้วย การให้เงินช่วยเหลือเพื่อจัดซื้ออาวุธแก่ไต้หวัน มูลค่า 4500 ล้านดอลลาร์ ในช่วงระยะเวลา 4 ปีข้างหน้า การคว่ำบาตรเจ้าหน้าที่จีน การรับรองสถานะพันธมิตรนอกนาโต้ เรียกร้องให้กระทรวงการต่างประเทศประสานงานเพื่อเปลี่ยนชื่อสำนักงานไต้หวันในสหรัฐฯ เป็นสำนักงานผู้แทนไต้หวัน การรับรองกฎหมายฉบับนี้ถูกมองว่าเป็นกฎหมายเพื่อการปฏิรูปนโยบายต่อไต้หวันของสหรัฐฯ ครั้งสำคัญที่สุดนับตั้งแต่ปี 1979 เป็นต้นมา ซึ่งรวมถึงนโยบายด้านการทหาร การทูต เพื่อเสริมความสัมพันธ์ระหว่างไต้หวันกับสหรัฐฯ ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น 

           "กฎหมายนโยบายไต้หวัน 2022" หรือ Taiwan Policy Act 2022 ฉบับนี้เสนอโดยวุฒิสมาชิก  Bob Menendez ประธานคณะกรรมาธิการต่างประเทศ วุฒิสภา สหรัฐฯ ร่วมกับนาย Lindsey Graham วุฒิสมาชิก ใช้เวลาในการพิจารณานานกว่า 2 ชม. ในที่สุดก็ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมาธิการทั้ง 22 ท่าน จากสองพรรคการเมืองสำคัญ

           นาย Bob Menendez ระบุว่า ร่างกฎหมายที่ผ่านการรับรองมีการแก้ไขเพียงเล็กน้อยเท่านั้น สาระสำคัญในลักษณะสัญลักษณ์ประกอบไปด้วย การเปลี่ยนชื่อสำนักงานผู้แทนไต้หวัน การยกระดับ ผอญ. เอไอที ต้องผ่านการอนุมัติจากวุฒิสภา ให้เป็นไปในลักษณะของข้อเสนอแนะ แต่เนื้อหาหลักยังคงเดิม นาย Bob Menendez ได้เยือนไต้หวันเมื่อ เม.ย.ที่ผ่นมา และเสนอกฎหมายนี้หลังกลับจากการเยือนไต้หวัน 

           นายชิวฉุยเจิ้ง รองประธานคณะกรรมการกิจการจีนแผ่นดินใหญ่หรือ MAC ไต้หวัน ในฐานะโฆษกได้แสดงความยินดีที่สหรัฐฯ ผ่านกฎหมายดังกล่าว ชี้ชัดถึงจุดยืนอันแน่วแน่แข็งแกร่งในการสนับสนุนไต้หวันของสหรัฐฯ ซึ่งไต้หวันได้พยายามอย่างเต็มที่ในการรักษาเสถียรภาพและสันติภาพบนช่องแคบไต้หวันมาโดยตลอด พร้อมทั้งเรียกร้องให้จีนอย่าได้ประเมิณสถานการณ์และตัดสินใจผิดพลาด อ้างเหตุต่างๆ ยั่วยุและคุกคามไต้หวัน 

นาย Bob Menendez (ซ้าย) และนาย Lindsey Graham (ขวา) สอง สว. สหรัฐฯ ที่ร่วมกันเสนอกฎหมาย TAIWAN POLICY 2022 (ภาพจาก CNA)

๒. IPAC ออกแถลงการณ์ร่วมย้ำจุดยืนปกป้องเสถียรภาพและสันติภาพบนช่องแคบไต้หวัน ผ่านเครือข่ายรัฐสภาของแต่ละประเทศสมาชิก 

           Inter-Parliamentary Alliance on China หรือ IPAC ซึ่งประกอบขึ้นจากการรวมตัวของสมาชิกรัฐสภาประเทศต่าง ๆ ใน 5 ทวีป และรัฐสภายุโรป ได้จัดการประชุมใหญ่ที่กรุงวอชิงตันในสหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา และได้ออกแถลงการณ์ร่วมประกาศจุดยืนอาศัยเครือข่ายรัฐสภาของแต่ละประเทศสมาชิก ร่วมกันปกป้องเสถียรภาพ สันติภาพ และความปลอดภัยด้านการค้าและเศรษฐกิจของไต้หวัน ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้แสดงความขอบคุณจากใจและยินดีที่สนับสนุนไต้หวัน

          ในแถลงการณ์ร่วมดังกล่าวได้ประณามการซ้อมรบและการคุกคามด้วยกำลังอาวุธต่อไต้หวันของจีน ในช่วงที่ผ่านมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งไม่อาจมองข้ามหรือละเลยภัยคุกคามดังกล่าวได้ ไต้หวันเป็นประเทศประชาธิปไตยที่รักในสันติภาพ เต็มไปด้วยเสรีภาพ สิทธิมนุษยชนและคุณค่าแห่งระบอบนิติรัฐ โดย IPAC จะสามัคคีกับไต้หวันเพื่อต่อต้านภัยคุกคามจากจีนและปกป้องสันติภาพ คัดค้านการใช้กำลังทหารเปลี่ยนแปลงสถานะปัจจุบันบนช่องแคบไต้หวันโดยพลการ พร้อมทั้งเรียกร้องให้รัฐบาลของประเทศต่าง ๆ คัดค้านการคุกคามทางทหารและเศรษฐกิจการค้า นอกจากนี้ ยังจะร่วมกันผลักดันให้สมาชิกรัฐสภาของประเทศต่าง ๆ เยือนไต้หวัน ยกระดับฐานะสำนักงานไต้หวันที่ประจำในต่างประเทศ ตลอดจนให้ความช่วยเหลือไต้หวันเข้าร่วมกิจกรรมขององค์กรระหว่างประเทศอย่างมีความหมาย อาทิ องค์การอนามัยโลก (WHO)องค์การการบินพลเรือนสากล (ICAO) ตำรวจสากล (INTERPOL) และอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) นอกจากนี้ ยังเรียกร้องให้ประเทศต่าง ๆ ส่งสัญญานให้จีนเข้าใจว่า การรุกรานทางทหารตอไต้หวันจะต้องจ่ายค่าตอบแทนอย่างสาสมและจะพิจารณาเสริมการคว่ำบาตรเพื่อรับมือกับการคุกคามทางทหาร อาศัยกลไกของรัฐบาลบีบบังคับทางเศรษฐกิจเพื่อเป็นหลักประกันให้แก่ความสัมพันธ์กับไต้หวัน สนับสนุนการจัดทำความตกลงเพื่อการพัฒนาการค้าและการลงทุน

          IPAC ประกอบไปด้วยสมาชิกรัฐสภาจาก 29 ประเทศ ได้แก่ รัฐสภายุโรป และสหรัฐฯ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี เช็ก อิตาลี ออสเตรเลีย เบลเยี่ยม แคนาดา อินเดีย อิตาลี ญี่ปุ่น และลิทัวเนีย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างสมาชิกรัฐสภาของประเทศที่มีอุดมการณ์ประชาธิปไตย อาศัยกลไกการออกกฎหมายของรัฐสภาของแต่ละประเทศ เพื่อเรียกร้องให้ทางการจีนเคารพกฎระเบียบประชาคมโลก ความปลอดภัยทั่วโลก และสิทธิมนุษยชนโลก ซึ่งจะส่งผลต่อนานาชาติอย่างลึกซึ้ง นับตั้งแต่ที่ IPAC ก่อตั้งขึ้นเมื่อ มิ.ย. ปี 2020 ได้แสดงท่าทีสนับสนุนไต้หวันมาโดยตลอดหลายครั้งหลายหน ซึ่งรวมถึงสนับสนุนลิทัวเนียพัฒนาความสัมพันธ์กับไต้หวัน เรียกร้องให้WHO รับไต้หวันเข้าร่วมประชุม WHA ตลอดจนเขาร่วมการประชุม กลไก และกิจกรรมทุกอย่างของ  WHO นอกจากนี้ IPAC ยังได้เชิญนายอู๋เจาเซี่ย รมว. กต. ไต้หวัน เข้าร่วมประชุมออนไลน์ประจำปีเป็นครั้งแรกด้วย เรียกร้องให้แนวร่วมพันธมิตรประชาธิปไตยทั่วโลกร่วมกันปกป้องเสรีภาพและประชาธิปไตย กระทรวงการต่างประเทศ ไต้หวันระบุว่า ไต้หวันจะร่วมมือกับ IPAC และหุ้นส่วนในประชาคมที่มีอุดมการณ์ใกล้เคียงกัน ปกป้องเสถียรภาพและสันติภาพบนช่องแคบไต้หวันและภูมิภาคอินโดแปซิฟิก ปกป้องหัวใจแห่งคุณค่าร่วมกันของแนวร่วมประชาธิปไตยโลก  

สมาชิกรัฐสภาทั่วโลก IPAC ประชุดสุดยอดที่กรุงวอชิงตันยืนหยัดสนับสนุนไต้หวัน

(ภาพจาก สำนักข่าว LTN)

 ๓. สองรัฐมนตรีกลาโหมย้ำความสำคัญเสถียรภาพและสันติภาพบนช่องแคบไต้หวัน

           เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา นาย Hamada Yasukazu รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ญี่ปุ่นได้ร่วมประชุมกับนาย Lloyd Austinรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สหรัฐฯ ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี ซึ่งทั้งสองได้มีความเห็นย้ำอีกครั้งเกี่ยวกับความสำคัญของเสถียรภาพและสันติภาพบนช่องแคบไต้หวัน และต่างมีความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกันเกี่ยวกับการแก้ปัญหาความขัดแย้งบนช่องแคบไต้หวันให้อาศัยสันติวิธีเท่านั้น 

          กระทรวงกลาโหม ญี่ปุ่นได้ออกแถลงข่าวเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวว่า นาย Hamada Yasukazu รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ญี่ปุ่น ได้พบหารือเป็นครั้งแรกกับรัฐมนตรีกลาโหม สหรัฐฯ เมื่อวันที่ 14 ก.ย. ที่ผ่านมา นานประมาณ 95 นาที 

         แถลงข่าวของกลาโหม ญี่ปุ่นระบุว่า ทั้งสองรัฐมนตรีได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักประกันในความปลอดภัยบริเวณโดยรอบของพันธมิตรความปลอดภัยระหว่างสหรัฐฯ กับญี่ปุ่น ซึ่งอยู่ในสภาพเขม็งเกลียวยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหตุการซ้อมยิงขีปนาวุธของจีนที่ยิงตกลงในเขตน่านน้ำเศรษฐกิจของญี่ปุ่น หรือ EEZ ซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างเห็นพ้องว่าเป็นปัญหาสำคัญต่อหลักประกันในความปลอดภัยแห่งชาติและความปลอดภัยของประชาชนชาวญี่ปุ่นด้วย ซึ่งสมควรที่จะต้องถูกประณาม 

        นอกจากนี้ รัฐมนตรีกลาโหมของทั้งสองประเทศต่างยืนยันความสำคัญของเสถียรภาพและสันติภาพบนช่องแคบไต้หวันอีกครั้ง และแสดงความคาดหวังว่า ประเด็นช่องแคบไต้หวันจะอาศัยสันติวิธีมาแก้ปัญหาความไม่ลงรอยระหว่างกัน และเห็นว่าจะไม่ยอมให้มีการใช้กำลังอาวุธมาเปลี่ยนแปลงสถานะปัจจุบันในภูมิภาคอินโดแปซิฟิกโดยพลการ และเห็นว่า สหรัฐฯ กับญี่ปุ่นควรร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดไร้รอยต่อ

การประชุมร่วมรัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ - ญี่ปุ่น

(ภาพจากสำนักข่าว LTN)

ผู้จัดรายการ

ความคิดเห็นที่เกี่ยวข้อง