:::

กระแสประชาธิปไตย วันจันทร์ที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖

  • 20 February, 2023
กระแสประชาธิปไตย
รองประธานาธิบดีไล่ชิงเต๋อ หัวหน้าพรรค DPP
กระแสประชาธิปไตย
นายเฉินจงเยี่ยน อดีตโฆษกรัฐบาลไต้หวัน
กระแสประชาธิปไตย
นางแมรี เอลิซาเบธ ทรัสส์ (ขวา) อดีตนายกรัฐมตรีของอังกฤษ
กระแสประชาธิปไตย
นาง Wendy Ruth Sherman (ขวา) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สหรัฐฯ
กระแสประชาธิปไตย

๑. สถานการณ์การเมืองภายในไต้หวัน  

          เริ่มต้นกันที่ข่าวฉาวของอดีตรัฐมนตรีช่วยมหาดไทยหรือ มท. 2 ของไต้หวัน ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งโฆษกรัฐบาลได้เพียง 18 วัน แต่ต้องลาออกและได้รับอนุมัติจากนายกรัฐมนตรีแล้วเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากถูก ส.ส. พรรคฝ่ายค้านกล่าวหาว่า เมื่อ 11 ปีก่อน มีพฤติกรรม รับสินบนจากผู้ประกอบการในรูปของ “บริการทางเพศ” บ่อยครั้ง แม้ตอนแรกเขาจะออกมาปฏิเสธ แต่สุดท้ายก็ต้องยื่นใบลาออกจากแรงกดดันที่เกิดขึ้นและจำนนต่อหลักฐานที่มีทั้งแชท และภาพถ่ายจำนวนไม่น้อย

นายเฉินจงเยี่ยน อดีตโฆษกรัฐบาลไต้หวัน ลาออกจากตำแหน่งรับผิดชอบข่าว "ฉาว" 

          ส่วนการเมืองในไต้หวันอีกเรื่องหนึ่งซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับเรื่องแรก คือการปฏิรูปพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าหรือพรรค DPP พรรครัฐบาล ของรองประธานาธิบดีไล่ชิงเต๋อ ในฐานะหัวหน้าพรรคดีพีพี เริ่มต้นที่กวาดล้างเงินเทา ค้ายาเสพดิด และค้าอาวุธ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีประวัติเหล่านี้และถูกสั่งฟ้อง ก็จะถูกลงโทษห้ามลงสมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรค ยกเลิกระเบียบของพรรคที่ให้ผู้ที่เคยรับโทษติดคุกมาแล้ว 10 ปี มีสิทธิกลับมาลงสมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรคได้ หมายความว่า แม้จะกลับเนื้อกลับตัวแล้วแต่ถ้าเคยมีประวัติเหล่านี้มาก็หมดสิทธิดำรงตำแหน่งในพรรคและลงสมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรคด้วย ทั้งนี้ นักวิจารณ์การเมืองในไต้หวันได้วิเคราะห์ว่า การใช้มาตรการเหล่านี้ของหัวหน้าพรรคฯ ทำให้ผู้ได้รับผลกระทบไม่พอใจ จึงเริ่มปฏิบัติการล้างแค้น เป้าหมายแรกก็คือนายเฉินจงเหยี่ยน ที่เป็นนักการเมืองในซีกของหัวหน้าพรรคท่านนี้ แม้เวลาจะผ่านไปแล้วถึง 11 ปี แต่ก็ขุดขึ้นมาจนนายเฉินฯ ต้องลาออกจากตำแหน่งโฆษกรัฐบาล 

รองประธานาธิบดีไล่ชิงเต๋อ หัวหน้าพรรค DPP 

๒. ประธานาธิบดีปารากวัยเยือนไต้หวันอย่างเป็นทางการ 

             ประธานาธิบดี Mario Abdo Benítez แห่งปารากวัย ได้เดินทางเยือนไต้หวันอย่างเป็นทางการในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งประธานาธิบดีไช่อิงเหวิน ผู้นำไต้หวันได้ให้การต้อนรับในฐานะอาคันตุกะของรัฐบาล มีการยิงสลุตและตรวจพลสวนสนามอย่างสมเกียรติ ซึ่งเขาได้กล่าวขณะพบหารือกับประธานาธิบดีไช่ฯ ว่า ในยุคสมัยแห่งความไม่แน่นอนเช่นนี้ และต้องเผชิญหน้ากับความระส่ำระสายของสถานการณ์โลก ยิ่งจำเป็นต้องการความสามัคคีและความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นระหว่างปารากวัยกับสาธารณรัฐจีน นอกจากนี้ เขาก็ย้ำจุดยืนสนับสนุนไต้หวันเข้าร่วมกิจกรรมนานาชาติอย่างแข็งขัน เนื่องจากโลกนี้ยังต้องการไต้หวัน และไต้หวันก็ต้องการโลกนี้เช่นเดียวกัน 

           ทั้งนี้ ปารากวัยกำลังจะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่ในเดือน เม.ย. นี้ ซึ่ง ประธานาธิบดีเบนิเตส ก็กำลังจะครบวาระการดำรงตำแหน่งผู้นำปารากวัย จึงได้อาศัยช่วงสุดท้ายของการดำรงตำแหน่งผู้นำปารากวัยเยือนไต้หวัน เพื่อแสดงจุดยืนอย่างแรงกล้าในการสนับสนุนไต้หวัน 

           ประธานาธิบดีไช่ฯ ได้ให้การต้อนรับประธานาธิบดีเบนิเตส ด้วยการยิงสลุตและตรวจพลสวนสนาม และได้พบหารือที่ทำเนียบประธานาธิบดีไต้หวัน กรุงไทเป โดยผู้นำไต้หวันระบุว่า ต้องขอบคุณท่านประธานาธิบดีฯ กล่าวสนับสนุนไต้หวันในเวทีประชาคมโลก สนับสนุนไต้หวันเข้าร่วมกิจกรรมระหว่างประเทศ และยังได้อาศัยรูปแบบต่าง ๆ แสดงจุดยืนสนับสนุนไต้หวัน ผู้นำไต้หวันย้ำว่า ไต้หวันกับปารากวัยสามารถจับมือกันเพื่อสร้างคุณูปการให้แก่โลก เชื่อว่าไม่ว่าจะต้องเผชิญหน้ากับการระบาดของโควิดหรือการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ หรือเผชิญหน้ากับลัทธิอำนาจนิยมที่กำลังท้าทายทั่วโลก ซึ่งต้องสามัคคีเป็นหนึ่งเดียว ร่วมกันแสวงหาคว่ามผาสุกให้แก่มวลมนุษยชาติ 

           ทางด้านประธานาธิบดีเบนิเตส ได้กล่าวตอบว่า ไต้หวันมีสำนวนหนึ่งบอกว่า “หากดวงสมพงษ์กัน ก็จะได้พบกันแม้ไกลเป็นหมื่นลี้”   ซึ่งสามารถนำมาบรรยายให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างปารากวัยกับไต้หวัน แต่ความสัมพันธ์ทวิภาคีโดยไม่มีการขาดตอนหรือหยุดชะงักลงระหว่างปารากวัยกับไต้หวันในช่วงเกินกว่า 60 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลของสองประเทศได้เสริมสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การค้า วัฒนธรรม ในทุกมิติระหว่างกัน บนพื้นฐานของความจริงใจและความร่วมมือระหว่างกัน เติบใหญ่เข้มแข็งยิ่งขึ้น รัฐบาลไต้หวันได้ให้ความช่วยเหลือความร่วมมือด้านเทคโนโลยีที่มีค่ายิ่ง ช่วยเหลือให้ชาวปารากวัยพัฒนามิติที่เป็นปมเงื่อนสำคัญในการพัฒนาประเทศ อาทิ ด้านการสาธารณสุขและการแพทย์ การศึกษา และการอบรมบ่มเพาะบุคลากร 

          นอกจากนี้ เขายังได้ย้ำจุดยืนของปารากวัยว่า ปารากวัยสนับสนุนการเข้าร่วมในกลไกของสหประชาชาติของสาธารณรัฐจีน เชื่อว่า ไต้หวันมีความสามารถที่จะอุทิศตนให้แก่ประชาคมโลก ช่วยเหลือให้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกเอาชนะความท้าทายที่ชาวโลกต้องเผชิญหน้า และเชื่อว่าไต้หวันก็ต้องการโลก โลกก็ต้องการไต้หวัน 

 

๓. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ เรียกร้องประเทศต่าง ๆ ร่วมส่งเสียงเตือนปักกิ่งอย่าได้รุกรานไต้หวัน

อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษก็เรียกร้องประชาคมต้องรีบปฏิบัติการช่วยเหลือไต้หวันก่อนจะสายเกินแก้

           นาง Wendy Ruth Sherman รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สหรัฐฯ ได้รับเชิญให้เข้าร่วมการสัมนาของ สถาบันวิจัย The Brookings Institution คลังสมองของสหรัฐฯ ซึ่งนางได้กล่าวย้ำว่า หากเกิดการปะทะกันทางทหารขึ้นบนช่องแคบไต้หวัน ก็จะกระทบต่อเศรษฐกิจและความปลอดภัยของทั่วโลก ดังนั้น ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกจึงควรช่วยกันเตือนปักกิ่งว่าอย่าได้ใช้กำลังอาวุธต่อไต้หวัน นอกจากนี้ นางฯ ยังระบุว่า หวังว่าจีนจะไม่อาศัยการเยือนไต้หวันของสมาชิกรัฐสภาของสหรัฐฯ เป็นข้ออ้างในการใช้กำลังทหารต่อไต้หวัน 

           นางเชอร์แมน ยังได้ระบุถึงความตั้งใจที่จะรวมไต้หวันของนายสีจิ้นผิง ประธานาธิบดีของจีน ว่า สหรัฐฯ มีความเห็นอย่างหนักแน่นว่า ไม่ควรมีการเปลี่ยนแปลงสถานะปัจจุบันโดยพลการฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียว ซึ่งจะเป็นการทำลายเสถียรภาพและสันติภาพบนช่องแคบไต้หวัน ส่วนนโยบาย “จีนเดียว” ของสหรัฐฯ ก็จะใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ในการสนับสนุนไต้หวันและสนับสนุนการเสริมศักยภาพให้ไต้หวันสามารถป้องกันตนเองได้ และหวังว่าจีนจะไม่อาศัยการเยือนไต้หวันของสมาชิกรัฐสภาสหรัฐฯเป็นข้ออ้างในการใช้กำลังทหารรุกรานไต้หวัน 

           นางเชอร์แมน ยังได้กล่าวถึงความสำคัญของไต้หวันว่า สินค้าทั่วโลกกว่าครึ่งหนึ่งต้องผ่านช่องแคบไต้หวัน หากช่องแคบไต้หวันเกิดสงครามขึ้น ไม่เพียงแต่จะส่งผลกระทบต่อเอเชียเท่านั้น หากยังจะกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยและความเจริญรุ่งเรืองของทั่วโลกด้วย นางฯ ยกตัวอย่างสงครามรุกรานยูเครนของรัสเซียว่า สงครามดังกล่าวส่งผลกระทบต่อพลังงาน และอาหารทั่วโลกอย่างรุนแรง รวมทั้งทำให้ทั่วโลกตกอยู่ในภาวะเงินเฟ้อรุนแรงยิ่งขึ้น “การปะทะกันบนช่องแคบไต้หวันก็อาจทำให้เกิดสถานการณ์ในลักษณะเดียวกันขึ้น”

 นาง Wendy Ruth Sherman (ขวา) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สหรัฐฯ

          ส่วนนางแมรี เอลิซาเบธ ทรัสส์ อดีตนายกรัฐมตรีของอังกฤษ ได้รับเชิญให้กล่าวสุนทรพจน์ในที่ประชุมสหพันธ์นโยบายจีนระหว่างรัฐสภาหลายประทศ หรือ Inter-Parliamentary Alliance on China  (IPAC) ที่ญี่ปุ่น เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งนางฯ ได้ใช้เวลาส่วนใหญ่กล่าวถึงการ “ต้านจีนหนุนไต้หวัน” โดยย้ำว่า รัฐบาลของประเทศต่างๆ จะต้องส่งสัญญานให้จีนได้รับรู้ว่า หากจีนใช้กำลังทหารต่อไต้หวันจะเป็นการดำเนินยุทธศาสตร์ที่ผิดพลาด” 

          อดีตผู้นำอังกฤษระบุว่า “เมื่อปีที่แล้ว จีนได้ส่งเครื่องบินทหารจำนวนถึง 1700 ลำ รุกล้ำเขตแสดงตนทางอากาศของไต้หวัน หรือ ADIZ ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้านี้ ส่วนปีนี้ จีนก็มีการซ้อมรบยิงกระสุนจริง จึงขอเรียกร้องให้ประเทศต่างๆ  ต้องเร่งกระชับความสัมพันธ์กับไต้หวันให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น 

          นอกจากนี้ นางฯ ยังได้เรียกร้องให้ประชาคมโลกต้องพิจารณาหาวิธีการให้ความช่วยเหลือไต้หวันทั้งทางด้านกลาโหม เศรษฐกิจ และการเมือง แสดงความสนับสนุนต่อไต้หวันอย่างแข็งขัน 

นางแมรี เอลิซาเบธ ทรัสส์ (ขวา) อดีตนายกรัฐมตรีของอังกฤษ

          ส่วนสหรัฐฯ โดยนาย JimRisch  วุฒิสมาชิกประธานคณะกรรมาธิการต่างประเทศ สหรัฐฯ และนาย RogerWicker ประธานคณะกรรมาธิการกิจการทหารวุฒิสภา สหรัฐฯ ร่วมกับนายMichael McCaul ประธานคณะกรรมาธิการต่างประเทศ และนาย Mike Roger ประธานคณะกรรมาธิการทหาร สภาผู้แทนราษฎร สหรัฐฯ ทำหนังสือถึงประธานาธิบดีโจ ไบเดน ย้ำความสำคัญของการสนับสนุนไต้หวัน และเรียกร้องให้ผู้นำสหรัฐฯ สั่งการให้ฝ่ายบริหารและงบประมาณของทำเนียบขาวต้องจัดสรรงบประมาณสนับสนุนด้านการทหารโดยไม่ต้องใช้คืนให้แก่ไต้หวัน จำนวน 2 พันล้านดอลลาร์ ในปีงบประมาณ 2024

 

ผู้จัดรายการ

ความคิดเห็นที่เกี่ยวข้อง