ไต้หวันลุยกระชับสัมพันธ์การค้าและเศรษฐกิจกับไทย ส่งมือดีด้านการค้าและเศรษฐกิจเป็นทูตไต้หวันคนใหม่ประจำประเทศไทย
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ทำเนียบประธานาธิบดีไต้หวัน สาธารณรัฐจีนได้ประกาศคำสั่งแต่งตั้งผู้แทนไต้หวันประจำประเทศไทยคนใหม่ ได้แก่นายจางจวิ้นฝู ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งสำคัญในต่างประเทศหลายตำแหน่ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นตำแหน่งที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจและการค้าเป็นสำคัญ อาทิ เลขาฝ่ายเศรษฐกิจ สำนักงานผู้แทนไต้หวันในสหรัฐฯ สวิตเซอร์แลนด์ ผู้อำนวยการสำนักเศรษฐกิจ ประจำอินโดนีเซีย แคนาดา สหภาพยุโรปและเบลเยี่ยม ผู้อำนวยการกองกรมลิขสิทธิทรัพย์สินทางปัญญา ผู้อำนวยการกองกรมการค้าต่างประเทศ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ประธานกองทุนค้ำประกันเครดิตวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ผู้อำนวยการสำนักงานผู้แทนเจรจาการค้า และผู้แทนไต้หวันประจำประเทศเมียนมาคนแรก
การส่งผู้ช่ำชองด้านเศรษฐกิจและการค้าไปประจำประเทศไทย จะเห็นได้ว่า ไต้หวันให้ความสำคัญกับไทยในฐานะจุดศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจและการค้าในภูมิภาคอาเซียน การขยายปฏิสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจและการค้าระหว่างกันจึงมีความสำคัญในลำดับต้น ๆ ของการดำเนินความสัมพันธ์กับไทยของไต้หวัน
นายจวงซั่วฮั่น ผู้แทนไต้หวันประจำไทยคนที่แล้ว ลาออกจากตำแหน่งเนื่องจากถูกกล่าวหาว่ามีพฤติกรรมลวนลามทางเพศ ซึ่งพรรคฝ่ายค้านได้นำประเด็นดังกล่าวซักถามนายกรัฐมนตรีเฉินเจี้ยนเหริน และขอให้เขาขอโทษต่อประชาชนด้วย ซึ่งนายกฯ เฉินฯ ได้ตอบว่า หลังเกิดเหตุลวนลามทางเพศขึ้น ทุกฝ่ายก็รู้สึกเสียใจมาก และหวังว่าเหยื่อจะได้รับการคุ้มครองอย่างดีที่สุด และไม่ยอมอภัยให้แก่ผู้ก่อเหตุ และย้ำว่า เรื่องนี้ต้องให้ทุกฝ่ายร่วมมือกันป้องกันมิให้มีเหตุเช่นนี้เกิดขึ้นอีก ส่วนรัฐบาลก็ไม่อาจปัดความรับผิดชอบได้
นายจางจวิ้นฝู ทูตไต้หวันประจำประเทศไทยคนใหม่
ไต้หวันจับมือพันธมิตรในแอฟริกาสร้างคลังน้ำมันเชิงยุทธศาสตร์ที่เอสวาตินี
ในช่วงระหว่างการเยือนพันธมิตรสำคัญของไต้หวันในแอฟริกาคือประเทศเอสวาตินีของประธานาธิบดีไช่อิงเหวิน ไต้หวันได้จัดทำความตกลงความร่วมมือกับเอสวาตินีถึง 3 ฉบับ ในจำนวนนี้เป็นความตกลงด้านความร่วมมือเพื่อสร้างคลังน้ำมันยุทธศาสตร์ที่เอสวาตินี ซึ่งจะเป็นคลังน้ำมันที่สามารถสำรองน้ำมันได้ถึง 30 วัน นอกจากนี้ ยังมีความตกลงบันทึกความเข้าใจ “บันทึกข้อตกลงความร่วมมือกองทุนสินเชื่อหมุนเวียนรายย่อยสำหรับสตรี”และ “ข้อตกลงการเป็นพันธมิตรระหว่างเมืองเกาสงและเมืองอึมบาบานีของเอสวาตินี” ส่วนความร่วมมือก่อสร้างคลังน้ำมันยุทธศาสตร์เป็นไปตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการก่อสร้างระหว่างบริษัทการลงทุนและการพัฒนาในต่างประเทศ (OICD) ของไต้หวันกับบริษัทปิโตรเลียมของเอสวาตินี” โดยไต้หวันจะมีการสร้างคลังสำรองน้ำมันเชิงยุทธศาสตร์ให้กับเอสวาตินี เนื่องจากปัจจุบันเอสวาตินีมีน้ำมันสำรองเพียง 1 วันครึ่งเท่านั้น
ทั้งนี้ประธานาธิบดีไช่อิงเหวินเผยว่า 5 ปีที่ผ่านมา ไต้หวันกับเอสวาตินีมีปฏิสัมพันธ์ที่มีความใกล้ชิดมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ถึงแม้จะต้องเผชิญกับความท้าทายของโรคระบาด แต่ความร่วมมือในด้านต่างๆ ก็ไม่เคยหยุดชะงัก ไม่ว่าจะเป็นด้านสาธารณสุข การส่งเสริมสิทธิสตรี และเทคโนโลยีการเกษตร ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ทั้งสองฝ่ายจะมีความร่วมมือในภาคท้องถิ่นที่ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น
ประธานาธิบดีไช่อิงเหวิน (ซ้าย) ได้รับการต้อนรับจากกษัตริย์ Mswati III (ขวา) อย่างสมเกียรติ
กระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) เริ่มแผนรณรงค์เข้าร่วมสหประชาชาติด้วย “คลิป” สองภาษา
สหประชาชาติเปิดประชุมสมัชชาใหญ่ครั้งที่ 78 วันแรกเมื่อวันที่ 5 ก.ย. ที่ผ่านมา โดยกระทรวงการต่างประเทศ ไต้หวันได้เริ่มแผนรณรงค์เข้าร่วมสหประชาชาติ เผยแพร่คลิปเรื่องที่ 2 เป็นภาษาจีนกลางและภาษาอังกฤษ โดยตั้งชื่อว่า “Global Peace with Taiwan” หรือ “โลกสันติภาพ จับมือไต้หวัน” ประสานกับการออกบทความของนายอู๋จาวเซี่ย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ไต้หวัน “United for Peace in the World and Taiwan’s Inclusion in the UN” แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจจริงในการปกป้องสันติภาพโลกร่วมกับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ปกป้องผลประโยชน์และคุณค่าร่วมกันของสังคมโลก เพื่อแสวงหาการสนับสนุนไต้หวันเข้าร่วมสหประชาชาติจากประชาคมโลก
คลิปเรียกร้องประชาคมโลกสนับสนุนไต้หวันเข้าร่วมสหประชาชาติ (ภาษาจีน)
คลิป 30 วินาที สะท้อนให้เห็นถึงความคึกคักมีชีวิตชีวาของประชาธิปไตยไต้หวัน บทบาทสำคัญในห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมแผ่นชิปและอุตสาหกรรมอื่น ๆ ตลอดจนสถานะความเป็นจุดศูนย์กลางของการขนส่งสินค้าทั่วโลกของช่องแคบไต้หวัน รวมทั้งย้ำถึงคำมั่นสัญญาในการมุมานะพยายามของไต้หวันเพื่อปกป้องเสถียรภาพและสันติภาพในภูมิภาคและของโลก และในช่วงสุดท้ายได้บรรยายถึงแถลงการณ์ของการประชุมซัมมิท G7 ที่ย้ำให้เห็นถึงเสถียรภาพและสันติภาพบนช่องแคบไต้หวันเกี่ยวข้องอย่างแยกไม่ออกจากความเจริญรุ่งเรืองและความปลอดภัยของสังคมนานาชาติ เรียกร้องให้สหประชาชาติและประเทศต่าง ๆ เล็งเห็นถึงความสำคัญของปลอดภัยของช่องแคบไต้หวัน ร่วมแรงร่วมใจปกป้องคุณค่าแห่งประชาธิปไตยและแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกัน
ในตอนท้ายของคลิปดังกล่าว จบด้วยสโลแกน “UNited—Global Peace with Taiwan” เพื่อสะท้อนให้เห็นว่า ไต้หวันเป็นตัวแทนของไม้แห่งสันติภาพที่ยื่นออกไปโดยใช้สีธงของสหประชาชาติรูปวงรีเชื่อมต่อกับทั่วโลก เป็นสัญลักษณ์แสดงให้เห็นว่า การเข้าร่วมสหประชาชาติของไต้หวันจะนำมาซึ่งพลังแห่งการสร้างเสถียรภาพและสันติภาพของโลก เรียกร้องให้ทั่วโลกจับมือกับไต้หวัน สามัคคีเป็นหนึ่งเดียวปกป้องสันติภาพโลก
คลิปดังกล่าว จัดทำเป็นภาษาจีนกลางและภาษาอังกฤษ เผยแพร่ทางเว็ปไซต์ของกระทรวงการต่างประเทศ ยูทูบ เฟสบุุ๊ก ทวิตเตอร์ โชเชียลมีเดียต่าง ๆ เผยแพร่สู่ทั่วโลก ช่วยกันสนับสนุนไต้หวันเข้าร่วมกิจกรรมของสหประชาชาติ
คลิปเรียกร้องประชาคมโลกสนับสนุนไต้หวันเข้าร่วมสหประชาชาติ (ภาษาอังกฤษ)
สำหรับการเคลื่อนไหวในประชาคมโลกของไต้หวันได้รับการยอมรับและสนับสนุนจากหลายประเทศเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก
โดยเมื่อปลายเดือน ส.ค. สภาผู้แทนราษฎรของสหราชอาณาจักร หรืออังกฤษ ได้เปิดเผยรายงานของคณะกรรมาธิการต่างประเทศเรียกร้องให้รัฐบาลอังกฤษต้องต่อกรต้านทานภัยคุกคามจากจีนรวมทั้งปกป้องอธิปไตยของไต้หวันด้วย
รายงานดังกล่าวมีชื่อว่า “Tilting Horizons: the Integrated Review and the Indo-Pacific” ซึ่งเป็นรายงานที่จัดทำขึ้นเพื่อทบทวนนโยบายที่เอนเอียงของอินโดแปซิฟิก หรือ “Indo-Pacific Tilt” โดยในรายงานดังกล่าวได้เรียกร้องให้ฝ่ายบริหารต้องใช้ปฏิบัติการที่กระตือรือร้นและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของฝ่ายบริหารทั้งหมดเพื่อรับมือจีน อาศัยการ “ข่มขู่ทางการทูต” หรือ “deterrence diplomacy” ตลอดจนการบูรณาการด้านความปลอดภัย กลาโหมและการต่างประเทศเข้าด้วยกันอย่างเป็นเอกภาพ ป้องกันมิให้จีนเป็นภัยคุกคามต่ออธิปไตยและผลประโยชน์ของอังกฤษ รายงานนี้ยังชี้ว่าไต้หวันได้กลายเป็นประเทศอธิปไตยมีเอกราชของตนเองอย่างแท้จริง รัฐบาลอังกฤษควรให้ความช่วยเหลือไต้หวันให้รอดพ้นจากการคุกคามทางทหารของจีน และสนับสนุนให้ไต้หวันมีสิทธิในการตัดสินใจด้วยตนเอง เรียกร้องให้ฝ่ายบริหารยึดถือสหรัฐฯ และญี่ปุ่นเป็นแบบอย่าง เสริมปฏิสัมพันธ์ในระดับสูงระหว่างไต้หวันกับอังกฤษให้มากขึ้น ซึ่งครอบคลุมถึงการไปมาหาสู่และความร่วมมือทางการค้าและเศรษฐกิจ ตลอดจนสนับสนุนไต้หวันเข้าร่วมในความตกลง CPTPP (ข้อตกลงความครอบคลุมและความก้าวหน้าเพื่อหุ้นส่วนทางการค้าภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก หรือชื่อเต็มว่า Comprehensive and Progressive Agreement for Trans-Pacific Partnership)
ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศ ไต้หวัน สาธารณรัฐจีนได้แสดงความขอบคุณต่อการที่คณะกรรมาธิการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎรของอังกฤษ ที่แสดงจุดยืนสนับสนุนไต้หวัน