ในวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 นายหลิวหยางเหว่ย (劉揚偉) ประธานกลุ่มของ Hon Hai Precision Industry Co. หรือ Foxconn Technology Group ประชุมทางวิดีโอร่วมกับนายนายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท จำกัด มหาชน ลงนามบันทึกความทรงจำระหว่างกันในการจัดตั้งแพลตฟอร์มยานยนต์ จะเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการไทยขยายตลาดยานยนต์ไฟฟ้าในไทยอาเซียนในด้านการผลิตและการจำหน่าย
แพลตฟอร์มที่จัดตั้งขึ้นเป็นระบบนิเวศอย่างหนึ่ง ประสานรวมกับเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด ในห่วงโซ่การผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ได้แก่ การผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ แบตเตอรี่และอุปกรณ์การชาร์จแบตเตอรี่ ระบบดังกล่าวนี้จะอยู่ใน MIH ที่เป็นแพลตฟอร์มใหญ่ที่มีพันธมิตรของ Hon Hai Precision อยู่จำนวนมาก เป็นการเปิดกว้างเพื่อให้ผู้ที่พัฒนา หรือผู้ผลิตสามารถใช้ซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ที่สมบูรณ์ในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งความร่วมมือทั้งสองฝ่ายในครั้งนี้ ปตท ถือเป็นผู้ที่มีองค์ความรู้เกี่ยวกับตลาดในประเทศไทย การจัดจำหน่าย และเครือข่ายรวมทั้งมีลูกค้าจำนวนมาก ส่วนหงไห่อยู่ในฐานะเป็นผู้ผลิตด้านอัจฉริยะรายใหญ่ของโลกมีความเชี่ยวชาญโซลูชั่นเทคโนโลยีด้านยานยนต์ไฟฟ้า จะร่วมกันพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้ารูปโฉมใหม่ในประเทศไทย สนับสนุนประเทศไทยในด้านลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและถือเป็นอนาคตแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วย
ที่ผ่านมาไต้หวันพลาดโอกาสในการพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์ มีผู้วิเคราะห์ว่า เนื่องจากไม่มีเทคโนโลยีเครื่องยนต์ แต่ในยุคที่ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่กำลังเป็นกระแสของโลกนี้ ไต้หวันมีโอกาสก้าวเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมได้ เนื่องจาก TESLA จัดซื้อชิ้นส่วนจากไต้หวันสูงถึง 75% ตามข้อมูลสถิติแนวโน้มของโลกชี้ว่า รถไฟฟ้ากำลังจะแซงหน้ารถน้ำมัน เริ่มเห็นรถไฟฟ้ามีอัตราขยายตัวสูงกว่ารถน้ำมันแล้ว เนื่องจากช่วยแก้ปัญหามลภาวะ ปกป้องสุขภาพมนุษย์ รัฐบาลประเทศต่างๆ จึงสนับสนุนการพัฒนารถไฟฟ้า
แม้ไต้หวันยังไม่ประสบความสำเร็จในตลาดรถยนต์น้ำมัน แต่ก็พยายามหันมาพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าให้เป็นอุตสาหกรรมดาวรุ่งแขนงใหม่ โดยใช้พื้นฐานจากอุตสาหกรรมจักรยานยนต์ไฟฟ้า ทั้งนี้ ในไต้หวันมีผู้ใช้จักรยานยนต์ 14 ล้านคัน ถือว่าตลาดในประเทศใหญ่เพียงพอสำหรับรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมจักรยานยนต์ไฟฟ้า อีกทั้งประเทศต่างๆ เริ่มห้ามการขายรถจักรยานยนต์น้ำมัน รวมทั้งมีการกำหนดเวลาเลิกใช้รถน้ำมัน และไต้หวันเองก็มีความสามารถในการผลิตรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าโดยใช้ชิ้นส่วนในประเทศ 100% นอกจากอุตสาหกรรมตัวรถ ยังมีระบบอื่นๆ ที่สร้างมูลค่าเพิ่มได้ เช่น ระบบควบคุมอัจฉริยะ มอเตอร์ แบตเตอรี่ ระบบการชาร์จและเปลี่ยนแบตเตอรี่
ในกระแสทั่วโลกให้ความสำคัญต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมพยายามสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมจักรยานยนต์ไฟฟ้า โดยใช้นโยบายภาษีปกป้องอุตสาหกรรมภายใน การเก็บภาษีนำเข้าของประเทศในเอเชีย เช่น เวียดนาม 50% อินโดนีเซีย 40% ไทย 60% ฟิลิปปินส์ 30% อินเดียสูงถึง 175.1% ไต้หวันจำเป็นต้องดำเนินนโยบายหรือมาตรการเพื่อสนับสนุนการพัฒนาจักรยานยนต์ไฟฟ้าด้วย