ไต้หวันร่วมโครงการแถลงเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์วิทยุศึกษาไขความลับในเอกภพ
สภาวิจัยแห่งชาติของไต้หวันเข้าร่วมโครงการเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์วิทยุ (Event Horizon Telescope – EHT) โครงการการสังเกตการณ์ขนาดใหญ่ที่รวมกล้องโทรทรรศน์ทั่วโลกศึกษาไขความลับในเอกภพ ในวันที่ 12 พ.ค.2565 สภาวิจัยแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์ของไต้หวัน และหน่วยงานอื่นๆรวม 6 แห่งทั่วโลกร่วมกันแถลงข่าวเปิดเผยรายละเอียดหลุมดำใจกลางกาแล็กซี ดาว Sagittarius A (Sgr A) ถือเป็นความสำเร็จก้าวใหญ่ด้านดาราศาสตร์
หลังจากในปี 2019 เครือข่ายกล้องโทรทรรศน์วิทยุ (Event Horizon Telescope : EHT) สามารถถ่ายภาพหลุมดำหลุมดำมวลยวดยิ่ง (Supermassive Black Hole) ที่อยู่บริเวณใจกลางกาแล็กซี M87 ในบริเวณกลุ่มดาวหญิงสาว ห่างจากโลกประมาณ 55 ล้านปีแสง และมีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ประมาณ 6,500 ล้านเท่า นันเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์
ในวันที่ 12 พ.ค. ที่ผ่านมาได้มีการเปิดเผยภาพหลุมดำ Sagittarius A (Sgr A) ใจกลางกาแล็กซี ถือเป็นความสำเร็จก้าวใหญ่ด้านดาราศาสตร์ก้าวใหญ่ ทำให้นักดาราศาสตร์เข้าใจเกี่ยวกับหลุมดำมวลยิ่งยวดมากขึ้น และผลลัพธ์ที่ได้ตรงกับที่เคยพยากรณ์โดยทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์ ซึ่งการบันทึกภาพหลุมดำต้องอาศัยกล้องโทรทรรศน์ที่มีขนาดใหญ่จำนวนมากเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์ทั่วโลก ด้วยเทคนิคที่เรียกว่า “อินเทอร์เฟอโรเมทรี” เป็นการอาศัยกล้องโทรทรรศน์วิทยุที่อยู่ทั่วทุกมุมโลกให้ทำงานร่วมกันประหนึ่งราวกับเป็นส่วนหนึ่งของจานรับสัญญาณวิทยุขนาดใหญ่ ที่ประกอบขึ้นเป็นกล้องโทรทรรศน์เสมือนที่มีขนาดใหญ่พอๆ กับโลกทั้งใบ เพื่อสังเกตการณ์ในครั้งนี้
สภาวิจัยแห่งชาติยังชี้ด้วยว่า ไต้หวันเป็น 1 ในสมาชิกโครงการ EHT ซึ่งมีอยู่ 13 ประเทศ การค้นพบในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าไต้หวันมีความทัดเทียมเป็นส่วนหนึ่งของการค้นพบด้านวิทยาศาสตร์ของโลก