:::

ชีพจรเศรษฐกิจ วันพฤหัสบดีที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๕

  • 16 June, 2022
ชีพจรเศรษฐกิจ
ชีพจรเศรษฐกิจ
ชีพจรเศรษฐกิจ
ช็อกโกแลตอายุนับร้อยปีลิทัวเนียขายดีในไต้หวัน
ชีพจรเศรษฐกิจ
ชีพจรเศรษฐกิจ
ชีพจรเศรษฐกิจ
ไต้หวันขอบคุณลิทัวเนียบริจาควัคซีนให้ไตหวันในยามาดแคลน

๑. นักวิชาการเตือนไต้หวันต้องระวังอย่าบุ่มบ่ามขึ้นดอกเบี้ย หากเงินเฟ้อสหรัฐฯพุ่ง 

          ในช่วงที่ผ่านมา สหรัฐฯ ตกอยู่ในสภาพภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรง โดยล่าสุดเดือนที่แล้วพุ่งถึง 8.6% ทุบสถิติในรอบ 40 ปี ซึ่งจะส่งผลให้การประชุมคณะกรรมการบริหารของธนาคารกลางไต้หวันในสัปดาห์นี้ตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยหรือไม่ นักวิชาการเห็นว่า ภาวะเงินเฟ้อในไต้หวันยังไม่รุนแรงเท่ากับในสหรัฐฯ ประกอบกับช่วงนี้ไต้หวันตกอยู่ในสภาพการระบาดของโควิดค่อนข้างรุนแรงด้วย การเสี่ยงขึ้นดอกเบี้ยในตอนนี้ อาจทำให้การบริโภคลดลง จึงควรพิจารณากันอย่างรอบคอบถึงผลที่จะตามมา 

          กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ ระบุว่า ดัชนีราคาสินค้าผู้บริโภคในสหรัฐฯ เมื่อเดือน พ.ค. หรือ CPI พุ่งขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว  8.6% ทุบสถิติในรอบ 40 ปี ซึ่ง ศ. อู๋ต้าเยิ้น แห่งคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยจงหยาง ของไต้หวัน มีความเห็นว่า CPI เดือน พ.ค. พุ่งสูงขึ้นกว่าที่คาดไว้ แสดงว่า ปัญหาภาวะเงินเฟ้อของสหรัฐฯ รุนแรงมาก และยังไม่มีแนวโน้มจะปรับตัวดีขึ้น ที่สำคัญเนื่อจากสงครามยูเครนเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ราคาพลังงานและอาหารขยับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าทั่วโลก

          นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยที่จีนยังคงดำเนินนโยบาย "ผู้ติดเชื้อเป็นศูนย์" มีการล็อกดาวน์ต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่การผลิตอย่างต่อเนื่อง ทำให้ราคาสินค้าในสหรัฐฯ มีแรงกดดันเพิ่มขึ้น ซึ่งคาดว่า FED ของสหรัฐฯ อาจขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.5% ในสัปดาห์นี้ 

          ส่วนทางด้านคณะกรรมการบริหารธนาคารกลางไต้หวันจะเปิดการประุมไตรมาสสองในวันนี้ (16 มิ.ย.) ซึ่งถูกจับตามองว่าจะปรับขึ้นดอกเบี้ยเช่นเดียวกับของสหรัฐฯ หรือไม่ คุณหลินฉี่เชา นักวิชาการทางเศรษฐศาสตร์อันดับ 1 แห่งธนาคารคาเธ่ย์ ยูไนเต็ด ไต้หวัน วิเคราะห์ว่า สามเงื่อนไขที่ธนาคารควรพิจารณาขึ้นดอกเบี้ย ประกอบไปด้วย ภาวะเงินเฟ้อในไต้หวัน สถานการณ์การระบาดของโควิดส่งผลกระทบต่อการบริโภคและการผลิตภายใน และทิศทางนโยายทางการเงินของธนาคารกลาง 

          คุณหลินฯ ระบุอีกว่า ตอนนี้ดูเหมือนว่า สองเงื่อนไขจะมีพร้อมแล้ว ส่วนเงื่อนไขผลกระทบจากโควิดที่มีต่อการริโภคภายในคงจะเกิดชึ้นในช่วงสองเดือนนี้ สัญญานบรรยากาศทางเศรษฐกิจเดือน เม.ย. ก็ลดลงเหลือ 28 แล้ว เชื่อว่าประเด็นดังกล่าวเป็นประเด็นสำคัญที่จะมีการถกเถียงกันในที่ประชุมวันนี้ และเป็นประเด็นที่ธนาคารกลางยากที่จะตัดสินใจได้ 

          เขาวิเคราะห์ว่า ในช่วงนี้ธนาคารกลางของหลายประเทศได้ขึ้นดอกเบี้ยของตนอย่างต่อเนื่อง บางประเทศขึ้นรวดเดียว 0.5% ทำให้การขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางไต้หวันในครั้งนี้เป็นสิ่งที่ต้องเป็นไปแต่อาจปรับขึ้นเพียง 0.125% 

          อย่างไรก็ดี ศ. อู๋ต้าเยิ่น แห่ง ม. จงหยาง ไต้หวัน เตือนว่า การขึ้นดอกเบี้ยจะเป็นผลเสียต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ อย่างในแง่มุมของเศรษฐกิจครอบครัว การขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะทำให้เพิ่มภาระเงินกู้บ้าน และรถด้วย หากค่าใช้จ่ายของครอบครัวเพิ่มขึ้นมากก็ต้องไปกระทบกับค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ของครอบครัว ส่งผลกระทบต่อผลประกอบการของโรงงานต่าง ๆ จนอาจทำให้เศรษฐกิจถดถอยได้ 

          ศ. อู๋ฯ ระบุในตอนท้ายว่า สมาชิก FED ได้เคยเสนอว่า แม้ภาวะเงินฟ้อจะค่อนข้างรุนแรง แต่ต้องคำนึงถึงต้นทุนทางเศรษฐกิจที่ต้องจ่ายด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีผู้ว่างงานเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สหรัฐฯ ก็อาจจะหยุดการขึ้นดอกเบี้ยในเดือน ก.ย. หรืออาจต้องปรับลดดอกเบี้ยในปีหน้า 

ศ. อู๋ต้าเยิ่น แห่ง ม. จงหยาง ไต้หวัน

๒. ธนาคารกลางไต้หวันย้ำเจรจาสหรัฐฯ ต่อเนื่องแก้ปัญหาถูกระบุเป็นรายชื่อประเทศที่แทรกแซงค่าเงินของสหรัฐฯ 

          เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา กระทรวงการคลังของสหรัฐฯ ได้ประกาศรายงานเกี่ยวกับนโยบายอัตราแกลเปลี่ยนในรอบครึ่งปี ซึ่งธนาคารกลางไต้หวันระบุว่า เนื่องจากไต้หวันเป็นประเทศที่จัดอยู่ในดัชนีทั้งการได้เปรียบดุลการค้ากับสหรัฐฯและได้ดุลบัญชีเดินสะพัด ทำให้สหรัฐฯ รวมเอาไต้หวันอยู่ในรายชื่อประเทศที่ต้องจับตา โดยในช่วง 1 ปีต่อจากนี้ ไต้หวันจะมีการเจรจาอย่างใกล้ชิดกับสหรัฐฯ ในประเด็นอัตราแลกเปลี่ยน 

         ธนาคารกลางไต้หวันระบุในแถลงข่าวเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ได้ประกาศรายงานดังกล่าว แต่มิได้ระบุคู่ค้าที่เป็นคู่แข่งสำคัญของตนอยู่ในรายชื่อที่มีการแทรกแซงค่าเงิน 

         ธนาคารกลางไต้หวันระบุว่า รายงานนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนครั้งนี้ ในส่วนของไต้หวันมีเพียงประเด็นดุลการค้าและเงินบัญชีเดินสะพัดเท่าน้้นที่อยู่ในสภาพได้เปรียบดุล และถูกจับตามองจากสหรัฐฯ เป็นพิเศษ และเนื่องจากธนาคารกลางไต้หวันมีการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในสัดส่วนที่ไม่เกินมาตรฐานของสหรัฐฯ ดังนี้น จึงยังคงระบุให้ไต้หวันเป็นเพียงรายชื่อที่ต้องจับตา (Monitoring List)เท่านั้น ซึ่งในช่วงหนึ่งปีต่อจากนี้ ไต้หวันต้องเจรจาอย่างใกล้ชิดกับสหรัฐฯ ในประเด็นดังกล่าว 

         ธนาคารกลางไต้หวันระบุอีกว่า ตั้งแต่ เม.ย. ปีที่แล้วจนถึงปัจจุบัน ไต้หวันได้เปิดการเจรจากับสหรัฐฯ ในประเด็นดังกล่าวหลายรอบแล้ว แสดงจุดยืนที่ชัดเจนของไต้หวันให้สหรัฐฯ รับทราบ รายงานนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนของกระทรวงการคลังาฃสหรัฐฯ ระบุว่า ทั้งสองฝ่ายได้ปรึกษาหารือกันอย่างสร้างสรรค์และบรรลุถึงความเข้าใจร่วมกันในประเด็นที่ฝ่ายสหรัฐฯ ให้ความสนใจ

         ธนาคารกลางไต้หวันย้ำว่า ช่องทางในการติดต่อทำความเข้าใจกับกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ เป็นไปโดยราบรื่น  

         รายงานนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนของกระทรวงการคลัง สหรัฐฯ ในครั้งนี้ เป็นการจับตาในดัชนี 3 รายการ ได้แก่ การค้าสินค้าและภาคบริการของสหรัฐฯ อยู่ในสภาพขาดดุลเกิน 1.5 หมื่นล้านดอลลาร ดัชนีตัวที่ 2 ได้แก่ บัญชีเดินสะพัดได้เปรียบดุลเกิน 3% ของ GDP หรือการทดลองคำนวนโดยกระทรวงการคลังสหรัฐฯ เกินกว่า 1% ของ GDP ดัชนีตัวสุดท้ายคือ ซื้อเงินตราต่างประเทศในปริมาณสุทธิเกินกว่า 2% ของ GDP และมีเงินตราต่างประเทศโอนเข้าสุทธิต่อเนื่องกัน 8 เดือน ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา 

 

๓.  วัคซีนทำช็อกโกแล็ตลิทัวเนียขายดีเป็นเทน้ำเทท่าในไต้หวัน 

           ช็อกโกแลตยี่ห้อดังจากลิทัวเนีย "รูทา" (Ruta) ผลิตจำหน่ายมาร่วมร้อยปี นำเข้ามาจำหน่ายในไต้หวันโดยคุณหวงฯ กับคุณเฉิน สองสามีภรรยา เมื่อลองนึกถึงในช่วงที่ลิทัวเนียประกาศบริจาควัคซีนให้ไต้หวันเมื่อปีที่แล้ว หน้าร้านขนาดเพียงไม่ถึง 20 ตรม. ที่ตั้งอยู่ข้างอนุสรณ์สถาน ดร. ซุนยัดเซ็น ในกรุงไทเป มีผู้คนเข้าคิวเพื่อซื้อช็อกโกแลตจากลิทัวเนียยาวเหยียด ผู้คนสั่งซื้อทั้งที่เป็นใบสั่งซื้อภาษาจีนและภาษาลิทัวเนียพร้อมแนบคำขอบคุณรัฐบาลลิทัวเนีย 

สองสามีภรรยาไต้หวันนำเข้าช็อกโกแลตจากลิทัวเนีย

           ก่อนหน้านี้ ตอนที่สามีภรรยาคู่นี้เริ่มนำเข้าช็อกโกแลตจากลิทัวเนียเข้ามาจำหน่ายในไต้หวันใหม่ ๆ มักจะต้องอธิบายจนเสียงแหบเสียงแห้งถึงชื่อเสียงและความอร่อยของช็อกโกเแลตจากลิทัวเนีย รวมไปถึงประเทศลิทัวเนียตั้งอยู่ส่วนไหนของโลก แต่ตอนนี้พอลูกค้าเดินเข้าร้านก็จะระบุชื่อ "ลูทา" เลย ความฮอทก็บอกผ่านยอดขาย ปีที่แล้วยอดขายโตเท่าตัว พุ่งทะลุหลักสิบล้าน ความร้อนแรงของเงินไต้หวัน ทำให้สินค้าบนชั้นวางขายหมดเกลี้ยง สร้างความเซอร์ไพร์สให้แก่บริษัทแม่ที่ลิทัวเนียเป็นอย่างยิ่ง 

           ลิทัวเนีย กลายเป็นประเด็นยอดฮิตในไต้หวัน เป็นสิ่งที่สองสามีภรรยาคาดคิดไม่ถึง ส่วนใหญ่พอพูดถึงยี่ห้อสินค้า ก็มักจะคิดถึงประเทศผู้ผลิตอย่าง อีเกีย ก็จะคิดถึงสวีเดน จึงคิดว่าที่ชาวไต้หวันแห่กันมาอุดหนุนช็อกโกแลตลูทาก็เป็นเพราะผลิตจากบิทัวเนีย ส่วนคุณหวงฯ มักจะบอกว่า "ยังไงก็ยังรู้สึกว่าไม่พออยู่ดี อยากหาสินค้าใหม่ ๆ ให้มากขึ้น" จึงสมัครเข้าร่วมสัมนาการจัดซื้อสินค้ายุโรปที่จัดโดยสมาคมพัฒนาความสัมพันธ์ทางการค้ากับต่างประเทศหรือ TAITRA จึงมีโอกาสได้พบกับ Rolandas Pridotkasประธานบริหารบริษัทลูทา ในเดือน มิ.ย. 2017 เจรจาขอเป็นตัวแทนจำหน่ายช็อกโกแลตที่มีประวัติยาวนานกว่าร้อยปี แต่กว่าจะประสบความสำเร็จได้ก็ต้องใช้เวลานานกว่าครึ่งปี ลูทา จึงยินดีให้สองสามีภรรยาคู่นี้เป็นตัวแทนจำหน่ายในไต้หวันในปลายปีเดียวกัน 

ช็อกโกแลตอายุนับร้อยปีลิทัวเนีย ขายดีเป็นเทน้ำเทท่าในไต้หวั

          เมื่อนำเข้ามาจำหน่ายในไต้หวันแล้ว ก็ต้องคิดหาช่องทางจำหน่ายและประชาสัมพันธ์โฆษณาให้ชาวไต้หวันรู้จักมากขึ้น กระทั่งโควิดระบาด ไต้หวันบริจาคหน้ากากอนามัยให้ลิทัวเนีย หลังจากนั้น ในช่วงที่ไต้หวันประสบปัญหาขาดแคนวัคซีนเพราะจีนพยายามขัดชวางในทุกช่องทาง ลิทัวเนียก็ได้บริจาควัคซีนให้ไต้หวันแม้จะเป็นจำนวนไม่กี่หมื่นโดส แต่ก็กล่าวได้ว่าเหมือนกับการยื่นความช่วยเหลือให้ในยามยาก แม้จะเป็นสิ่งขอน้อยนิด แต่ก็สามารถข่วยชีวิตคนได้อย่างทันท่วงก็จะมีประโยชน์มากกว่าการหยิบยื่นสิ่งของจำนวนมากให้คนที่มีทุกอย่างพร้อมมูลแล้ว ทำให้กระแสลิทัวเนียฟีเวอร์ขึ้นสู่กระแสสูงผู้คนสนับสนุนสินค้าจากลิทัวเนียอย่างเนืองแน่นเพื่อแสดงความขอบคุณในน้ำใจที่ลิทัวเนียมอบให้ไต้หวัน ทั้ง ๆ ที่ลิทัวเนียก็มีวัคซีนอย่างจำกัดจำเขี่ย ยังอุตสาห์ยื่นมือให้ความช่วยเหลือไต้หวัน อาคารไทเป 101 ยังได้แปรอักษรบนอาคารที่เป็นแลนด์มาร์กไทเประดับโลกว่า TWN love LTU 台灣愛立陶宛

ผู้จัดรายการ

ความคิดเห็นที่เกี่ยวข้อง