๑. มอริส จาง เป็นตัวแทนผู้นำไต้หวันเข้าร่วมประชุม APEC ที่ไทย พบผู้นำหลายชาติชี้แจง 3 จุดยืนของไต้หวัน
นายมอริส จาง หรือ มอริส จาง ผู้ก่อตั้งบริษัท TSMC ผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ระดับโลก ของไต้หวัน เป็นตัวแทนผู้นำไต้หวัน เข้าร่วมการประชุมผู้นำเศรษฐกิจ APEC ที่กรุงเทพประเทศไทย ระหว่างวันที่ 18-19 พ.ย. ที่ผ่านมา นอกจากได้พบกับพลอ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทยในฐานะเจ้าภาพแล้ว ยังได้พบปะแบบนอกรอบกับนายลีเซียนลุง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ และได้ใช้โอกาสในช่วงงานเลี้ยงรับรองสนทนากับนายแอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ของสหรัฐฯ ชี้แจงเกี่ยวกับ 3 จุดยืนของไต้หวันที่ได้รับมอบหมายจากประธานาธิบดีไช่อิงเหวิน ได้แก่ ภูมิภาคต่างๆ ต้องพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับความเห็นต่าง, มุ่งมั่นให้เกิดการเปิดกว้างด้านการค้าเสรีและการแข่งขันอย่างยุติธรรม เพื่อความปลอดภัยและประสิทธิภาพของห่วงโซ่อุปทาน และการสร้างสมดุลของการพัฒนาด้านเศรษฐกิจอย่างเหมาะสมซึ่งครอบคลุมไปถึงความยั่งยืนในอนาคต
นายมอริส จาง (ขวา) สนทนาอย่างเป็นกันเองกับนายลีเซียนลุง (ซ้าย) นรม. สิงคโปร์ ระหว่างการประชุมผู้นำเศรษฐกิจ APEC
สำหรับในส่วนของการประชุมระดับรัฐมนตรี APEC ไต้หวันได้ส่งนายเติ้งเจิ้นจง รัฐมนตรีประจำสภาบริหารในฐานะที่ผู้แทนการค้าไต้หวัน และนายก่งหมินซิง ประสภาพัฒนาแห่งชาติเข้าร่วมการประชุม ซึ่งนอกจากจะเป็นการประชุมอย่างเป็นทางการแล้ว ยังได้มีโอกาสพบหารือกับนาง Katherine Chi Tai ผู้แทนการค้าของสหรัฐฯ ที่เข้าร่วมการประชุมในคราวนี้ด้วย ซึ่งนายเติ้งเจิ้นจง ระบุว่า ได้มีโอกาสพูดคุยกับผู้แทนการค้าสหรัฐฯ และได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในส่วนที่ไต้หวันให้ความสนใจในทุกประเด็น รวมไปถึงขอแรงสนับสนุนไต้หวันเข้าเป็นสมาชิก CPTPP
นายมอริส จาง (ซ้าย) ทักทายกับนางกมลา แฮร์รีส รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในการประชุม APEC ที่ กทม.
๒. ไต้หวันเร่งพัฒนาอุตสาหกรรมแผ่นชิป ทิ้งห่างคู่แข่ง
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีหรือสภาบริหารของไต้หวัน ได้มีมติอนุมัติร่าแก้ไขกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมอุตสาหกรรมนวัตกรรม วรรค 2 มาตรา 10 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ระหว่างวันที่ 1 ม.ค. 2566 - 31 ธ.ค. 2573 ซึ่งสือไต้หวันตั้งชื่อการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวว่า “กฎหมายแผ่นชิป ฉบับไต้หวัน” ซึ่งจะมีสาระสำคัญในการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการทุ่มทุนให้แก่การวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตแผ่นชิปของไต้หวันให้ประเทศคู่แข่งไล่ตามไม่ทัน
การแก้ไขกฎหมายดังกล่าวในครั้งนี้ ได้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสิทธิพิเศษทางด้านภาษี อาทิ ผู้ประกอบการมีสิทธิที่จะนำเงินค่าใช้จ่ายที่ใช้เพื่อการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยี 25% ของจำนวนทั้งหมดมาหักลดหย่อนภาษีการค้าของตนได้ บริษัทยักษ์ใหญ่เซมิคอนดักเตอร์อย่าง TSMA และ UMC สัญชาติไต้หวัน ต่างแสดงท่าทียินดีต้อนรับการแก้กฎหมายดังกล่าว
เพื่อรับมือกับแรงกดันที่เกิดจากการแข่งขันของห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก คณะรัฐมนตรีไต้หวันได้ให้ความเห็นชอบร่างแก้ไขกฎหมายนวัตกรรมอุตสาหกรรม วรรค 2 มาตรา 10 และมาตรา 72 เพื่อส่งให้สภานิติบัญญัติพิจารณาอนุมัติต่อไป
นอกจากการลดหย่อนภาษีการค้าจากค่าใช้จ่ายการวิจัยพัฒนา 25% แล้ว ยังมีสิทธินำค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อเครื่องจักรอุปกรณ์ทันสมัย 5% มาหักลดหย่อนภาษีการค้าในปีนั้นได้อีกด้วย
บริษัทไต้หวันเซมิคอนดักเตอร์หรือ TSMC ยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ระดับโลกของไต้หวันระบุว่า จะลงทุนในไต้หวันอย่างต่อเนื่อง และยินดีที่มีการแก้ไขกฎหมายดังกล่าว ส่วนบริษัท UMC ผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ยักษ์ใหญ่อีกรายของไต้หว้นระบุว่า บริษัทจะลงทุนเกี่ยวกับกระบวนการผลิตที่มีความทันสมัยและก้าวหน้าต่อไป แม้จะมีการกำหนดคุณสมบัติ ซึ่งยังไม่แน่ใจว่า จะมีสิทธิเหล่านี้หรือไม่ แต่การแก้กฎหมายดังกล่าว เป็นการส่งเสริมให้ผู้ประกอบมุ่งพัฒนาไปสู่การวิจัยค้นคว้านวัตกรรม จึงรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่ง
ส่วนบริษัทมีเดียเทค ระบุเพียงว่า กำลังศึกษารายละเอียดของกฎหมายนี้อยู่ แต่ก็หวังว่าจะครอบคลุมทั้งในส่วนของการออกแบบและการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ รวมทั้งมีมาตรการต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับความต้องของผู้ประกอบการที่อาจจะมีเงื่อนไขแตกต่างกัน
นอกจากอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ที่จะได้รับสิทธิพิเศษเหล่านี้แล้ว อุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า 5จี ดาวเทียมวงโคจรต่ำ ก็จะได้รับสิทธินี้เช่นเดียวกัน เพียงแต่มีคุณสมบัติตามที่ระบุเท่านั้น อาทิ ต้องมีงบลงทุนด้านการวิจัยพัฒนาในจำนวนที่แน่นอน ผลประกอบการที่ต้องชำระภาษีอยู่ในระดับที่แน่นอน โดยปี 2023 อยู่ในระดับ 12% 2024 อยู่ในระดับ 15%
คุณหลิวเพ่ยเจิน ผู้จัดการคลังข้อมูลอุตสาหกรรม สถาบันวิจัยเศรษฐกิจไต้หวัน มีความเห็นว่า ผลกระทบจากโควิด สงครามเทคโนโลยีระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ทำให้เซมิคอนดักเตอร์กลายเป็นสินค้ายุทธศาสตร์สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นยุโรป สหรัฐฯ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ต่างออกนโยบายในการพัฒนาอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของตน รวมทั้งการเปิดกองทุนขนาดใหญ่ เพื่อให้การสนับสนุนแก่ผู้ประกอบการ ดึงดูดนักลงทุนจากทั่วโลกให้เข้าไปลงทุน อย่างของไต้หวันก็จะมี TSMC เป็นซัพพลายเยอร์ เป็นเป้าหมายที่หลายประเทศพยายามเชื้อเชิญให้ไปลงทุนในประเทศของตน
สำหรับในส่วนของรัฐบาลไต้หวันที่ต้องพยายามรักษาฐานะยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ยักษ์ใหญ่ระดับโลกของตน ก็ได้ออกกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคุณหลิวเพ่ยเจิน ระบุว่า เป็นผลดีต่อการลดแรงดึงดูดอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของประเทศอื่น ๆ เพื่อให้อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ในไต้หวันลงทุนในไต้หวันต่อไป
ส่วนบริษัทหลักทรัพย์ในไต้หวันก็มีความเห็นว่า ผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อ ประกอบกับนโยบายหดตัวทางการเงินของธนาคารกลางหลายประเทศ ทำให้อุตสาหกรรมเทคโนโลยีจะอยู่ในสภาพนำหุ้นสต๊อกออกจากจำหน่ายในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้และสองไตรมาสแรกของปีหน้า ผลประกอบการก็จะหดตัวลง ส่วน TSMC ซึ่งเป็นผู้ประกอบการเซมิคอนดักเตอร์ระดับบนสูด ก็เพิ่งจะเข้าสู่ช่วงปรับตัวลดลง การออกกฎหมายนี้จะเป็นผลดีต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์
