close
Rti Thaiดาวน์โหลด Rti App
Open
:::

ชีพจรเศรษฐกิจ วันพฤหัสบดีที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๖๖

  • 23 March, 2023
ชีพจรเศรษฐกิจ
นายเซวียรุ่ยหยวน (กลาง) รมว. สาธารณสุข ไต้หวัน
ชีพจรเศรษฐกิจ
ชีพจรเศรษฐกิจ
ชีพจรเศรษฐกิจ
ชีพจรเศรษฐกิจ
นาย Chris Miller ผู้เขียนหนังสือ "สงครามแผ่นชิป"

๑. เจ้าพ่อเซมิคอนดักเตอร์ไต้หวันฟันธงแผ่นชิปหยุดเติบโต เข้าสู่การแข่งขันยุคใหม่ 

         เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา นายจางจงโหมว หรือมอริส จาง ผู้ก่อตั้งไต้หวันเซมิคอนดักเตอร์หรือ TSMC ยักษ์ใหญ่อุตสาหกรรมผลิตแผ่นชิประดับโลกของไต้หวัน ได้เข้าร่วมงานเปิดตัวหนังสือ “สงครามแผ่นชิป” ที่เขียนโดยนาย Chris Miller โดยระบุว่า ปัจจุบันห่วงโซ่อุปทานแผ่นชิปได้ขยับเข้าสู่จีนแผ่นดินใหญ่และประเทศอื่น ๆ กลายเป็นสองขั้ว ทำให้โลกาภิวัฒน์เซมิคอนดักเตอร์สิ้นสุดลงแล้ว ส่วนการค้าเสรีแม้จะยังไม่ตายสนิทแต่ก็ใกล้หมดลงหายใจแล้ว ทำให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแผ่นชิปหยุดชะงักหรือไม่มีการเติบโตอีก รวมทั้งก้าวสู่การแข่งขันยุคใหม่ที่มีความแตกต่างจากในอดีตแบบหน้ามือเป็นหลังมือ 

รอง ปธน. ไล่ชิงเต๋อ (ซ้าย) มอริส จาง (กลาง) Chris Miller (ขวา) 

         ในการสนทนาระหว่างผู้เขียนกับนายมอริส จาง ได้รับความสนใจจากตัวแทนสถานทูตต่าง ๆ ในไต้หวันกว่า 15 แห่ง และรองประธานาธิบดีไล่ชิงเต๋อ เข้าร่วมรับฟังการสนทนาดังกล่าวด้วย ซึ่งมีอยู่ช่วงหนึ่งที่นายมอริส ถามผู้เขียนว่า หากไม่เกิดสงครามขึ้น ห่วงโซ่การผลิตแผ่นชิปจะก้าวไปในทิศทางใดในอีก 5 ปีข้างหน้า ซึ่งนาย Miller บอกว่า การควบคุมการส่งของสหรัฐฯ จะทำให้ห่วงโซ่การผลิตแบ่งเป็นสองขั้วอย่างชัดเจน ซึ่งปัจจุบัน เมมโมรี่กระจุกตัวผลิตที่เกาหลีใต้ ส่วนแผ่นชิปการคำนวนก็กระจุกตัวผลิตในจีนและไต้หวัน แต่ในอนาคตลักษณะของการกระจุกตัวจะกระจายออกไปมากขึ้น การจำหน่ายเซมิคอนดักเตอร์ในตลาดโลก แต่ละประเทศจะมีการปรับตัวของส่วนแบ่งตลาดในประเทศของตน 

นาย Chris Miller เปิดตัวหนังสือ "สงครามแผ่นชิป" 

         นายมอริส จาง ตอบว่า จุดนี้เป็นจุดที่เขาอย่ากชี้แจงเห็นต่างว่า เหตุสำคัญที่มีการผลิตกระจุกตัวอยู่ในบางประเทศก็คือความได้เปรียบของศักยภาพในการแข่งขันของตน หากสหรัฐฯ มีความได้เปรียบที่การออกแบบ ส่วนไต้หวัน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น จะมีศักยภาพความได้เปรียบที่การผลิต ปัจจัยสำคัญที่สุดก็คือคนและวัฒนธรรมในการทำงาน การผลิตแผ่นชิปจะผลิตตลอด 24 ชม. สายการผลิตจะหยุดไม่ได้ มิเช่นนั้นต้นทุนจะพุ่งสูงขึ้น ปัจจุบันแผ่นชิปกระจายอยู่ทุกหนทุกแห่ง มาจากต้นทุนลดลง ย้อนกลับไปเมื่อ 50 ปีก่อน ยังไม่มีไอซี ตอนนั้น แผ่นเซอร์กิตราคาสูงถึงแผ่นละ 2-3 ดอลลาร์ แต่ตอนนี้ ในโทรศัพท์มีแผงเซอร์กิตเป็นหมื่นล้านชิ้น ทำให้ต้นทุนเหลือเพียง 1 ใน 1 หมื่นล้าน ทำให้ต้นทุนลดลง 

        ทางด้านนโยบายสกัดการพัฒนาแผ่นชิปของจีนโดยสหรัฐฯ นายมอริสฯ ระบุว่า ตนเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง แต่ก็ต้องข้อสังเกตว่า ทำไมจนถึงปัจจุบันสหรัฐฯ จึงไม่รวมไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย “บริษัทที่เป็นมิตรในต่างประเทศ” ทำให้หลาย ๆ ฝ่ายวิเคราะห์ว่า เป็นการเตือนรองประธานาธิบดีไล่ชิงเต๋อที่อยู่ในการสัมนาว่า สหรัฐฯ ยังคงมองว่าช่องแคบไต้หวันเป็นจุดที่อันตรายที่สุด และหากเกิดเหตุรุนแรงขึ้นบนช่องแคบไต้หวัน สหรัฐฯ จะไม่ยื่นเข้ามาให้ความช่วยเหลือ 

 

๒. ไต้หวันเตรียมจับมือประเทศมุ่งใต้ใหม่ ปลูกยาจีนแก้ปัญหาขาดแคลนยาจีน  

           สัปดาห์ที่ผ่านมา ประเด็นเรื่องยาขาดแคลนในไต้หวันก็เป็นประเด็นร้อนพอสมควร นอกจากขาดแคลนยาแผนปัจจุบันแล้ว ในส่วนของยาจีนก็อยู่ในสภาพต้องพึ่งพาการนำเข้าจากจีน ซึ่งปัจจุบันไต้หวันยังไม่มีระบบการเตือนปริมาณยาจีนเมื่อมีปริมาณในสต๊อกลดลงถึงในระดับที่น่าวิตกว่าจะเกิดการขาดแคลนขึ้น โดยนายเซวีย รุ่ยหยวน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขไต้หวัน สาธารณรัฐจีน ได้ย้ำว่า ต้องรวมยาจีนเข้าไปอยู่ในระบบเตือนการขาดแคลนยาจีน และคาดว่าจะสามารถเริ่มดำเนินการระบบดังกล่าวได้ภายในเดือน เม.ย. นี้ นอกจากนี้ ท่านรัฐมนตรีสาธารณสุขยังได้ย้ำว่า เพื่อกระจายความเสี่ยง จะร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ พัฒนายาจีนให้สามารถพึ่งตนเองได้ทั้งทางด้านการผลิตและการจัดจำหน่าย รวมทั้งจะขยายความร่วมมือกับประเทศมุ่งใต้ใหม่ด้วย แต่ยังต้องมีการประเมินเรื่องสภาพแวดล้อมต่าง ๆ อาทิ อุณหภูมิและสภาพดินในไต้หวันและในต่างประเทศว่าเหมาะสมที่จะปลูกยาจีนหรือไม่อย่างไร

           นายเซวียฯ ได้ระบุในงานสัมนาสมาคมยาจีนไต้หวันว่า ระบบเตือนการขาดแคลนยาที่ใช้ในปัจจุบันจะเตือนเฉพาะยาแผนปัจจุบันเท่านั้น ประกอบกับอยู่ภายใต้การดูแลของกรมอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ทำให้ครอบคลุมค่อนข้างแคบ ในอนาคตจะยกระดับเป็นส่วนหนึ่งในอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานระดับกระทรวง โดยจะรวมเอายาจีนเข้าอยู่ในระบบดังกล่าวด้วย ครอบคลุมถึงวัตถุดิบยาจีน และยาจีนสำเร็จรูป เพื่อให้ระบบสามารถรับมือและการจัดสรรได้อย่างทั่วถึง

           นอกจากนี้ เขายังได้กล่าวถึงผลกระทบต่อทั่วโลกจาก ศก. การเมืองและการระบาดของโรคระบาด  ทำให้วัตถุดิบและยาสำเร็จรูปได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงไม่เฉพาะยาแผนปัจจุบันเท่านั้น ห่วงโซ่อุปทานยาจีนก็จำเป็นต้องทบทวนใหม่ว่า ควรจะต้องให้มีแหล่งผลิตจากหลาย ๆ ประเทศมากขึ้น

          ส่วนรองประธานาธิบดีไล่ฯ ที่เข้าร่วมการสัมนาดังกล่าวก็ระบุว่า ปีที่แล้ว รัฐบาลได้ผลักดัน “แผนส่งเสริมยาแผนจีน” ก็เนื่องจากการที่ยาจีนส่วนใหญ่มาจากจีน ในขณะที่ในไต้หวันมีพื้นที่นาจำนวนไม่น้อยต้องพักการทำนา จึงอาจพิจารณานำมาเพาะปลูกยาจีนเพื่อให้พอเพียงกับความต้องการในประเทศ

           นายเซวียฯ ระบุอีกว่า นอกจากการพิจารณาปลูกยาจีนเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการในไต้หวันเท่านั้นแล้ว ยังอาจส่งออกได้ และอาจจะจับมือกับประเทศมุ่งใต้ใหม่หรือประเทศอื่น ๆ พัฒนาความร่วมมือและเพาะปลูกยาจีน ปลูกยาจีนในต่างประเทศ กระจายความเสี่ยง หากมีปัญหาเรื่องต้นทุน ก็อาจขอให้กระทรวงเศรษฐการไต้หวันให้เงินช่วยเหลือ เขาย้ำว่า ตอนนี้ ทิศทางของรัฐบาลเป็นที่แน่นอนแล้ว แต่สภาพอากาศและคุณภาพดินจะเหมาะสมกับการเพาะปลูกยาจีนหรือไม่ ต้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างคณะกรรมการการเกษตรพิจารณาประเมินความเป็นไปได้อีกครั้ง ซึ่งจะผลักดันแผนการดังกล่าวแบบข้ามกระทรวงภายใต้สภาบริหาร

นายเซวียรุ่ยหยวน (กลาง) รมว. สาธารณสุขไต้หวัน 

ผู้จัดรายการ

ความคิดเห็นที่เกี่ยวข้อง