:::

สารานุกรมสุขภาพประจำวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566

  • 21 February, 2023
สารานุกรมสุขภาพ
สารานุกรมสุขภาพประจำวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2565

     การขาดธาตุเหล็กนั้นนะครับเป็นสาเหตุของโรคโลหิตจางที่พบได้อยู่บ่อยๆครับ ผู้ป่วยอาจมีอาการเพียงเล็กน้อย อย่างเช่น หน้ามืด เวียนศรีษะ เหนื่อยง่ายกว่าปกติ หรือในบางคนเนี่ยก็ไม่มีอาการใด ๆ เลยนะครับ หลายคนครับจึงอาจมองข้ามสัญญาณเตือนเหล่านี้ไป ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพของเราแน่ๆครับ เพราะโรคโลหิตจางที่มาจากการขาดธาตุเหล็ก หากเราละเลยแล้วไม่ได้รับการรักษา ก็อาจส่งผลให้เกิดอาการรุนแรงอื่นๆตามมาได้ครับ

     ธาตุเหล็กนั้นนะครับเป็นแร่ธาตุที่มีบทบาทสำคัญต่อร่างกาย เป็นทั้งส่วนประกอบของเม็ดเลือดแดง โปรตีน หรือเอนไซม์หลากหลายชนิดที่ช่วยทั้งในการทำงานของเซลล์ ช่วยในกระบวนการย่อยอาหาร กระบวนการลำเลียงออกซิเจน ทั้งยังช่วยสะสมออกซิเจนไว้ในกล้ามเนื้อเพื่อใช้ยามฉุกเฉิน โดยธาตุเหล็กนั้นรวมตัวเข้ากับ วิตามินบี 6 โปรตีนและ ทองแดง เพื่อสร้างเฮโมโกลบินขึ้นมา โดยสารชนิดนี้จะทำหน้าที่ในการส่งออกซิเจนในเลือดจากปอดไปยังอวัยวะต่างๆ เพราะฉะนั้นจึงอาจจะกล่าวได้ว่าธาตุเหล็กเป็นตัวช่วยในการสร้างคุณภาพของเลือดและเพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกาย เพื่อให้ห่างไกลจากโรคต่างๆ ได้นั่นเอง และนอกจากการสร้างเฮโมโกลบินในเลือดแล้ว ประโยชน์ของธาตุเหล็ก ก็ยังช่วยสร้างไมโอโกลบินในกล้ามเนื้ออีกด้วย โดยสารตัวนี้ก็จะช่วยส่งออกซิเจนไปยังกล้ามเนื้อ เพื่อให้กล้ามเนื้อมีการหดตัวตามปกติ และนำเอาคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาเพื่อกำจัดทิ้งเช่นกัน

     คุณหมอหวงหนงอิน (黃農茵) โลหิตแพทย์จากไต้หวันกล่าวว่าภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กมีหลากหลายสาเหตุ และการเสียเลือดเรื้อรังก็เป็นอีกสาเหตุที่พบมากที่สุด อย่างเช่นการมีประจำเดือนออกมากหรือมีเนื้องอกในทางเดินอาหาร ทำให้ร่างกายเสียเลือด และไม่สามารถนำธาตุเหล็กกลับมาใช้ใหม่ได้ อีกสาเหตุหนึ่งคือที่พบมากเช่นกันก็คือในหญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรที่ร่างกายต้องธาตุเหล็กมากขึ้น สาเหตุถัดมาก็ได้แก่ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กลดลง ซึ่งจะพบในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของกระเพาะอาหารและผู้ป่วยที่กินยาที่ส่งผลรบกวนการดูดซึมของธาตุเหล็ก และสาเหตุสุดท้ายได้แก่การได้รับธาตุเหล็กจากอาหารไม่เพียงพอ อย่างเช่นเด็กที่ไม่ได้ดื่มนมมารดา ผู้ที่กินมังสวิรัส ผู้ที่เลือกรับประทานอาหารหรือผู้ป่วยโรคเรื้อรัง หรือรับประทานอาหารเองไม่ได้ ซึ่งวิธีการรักษาที่นิยมมากที่สุดและง่ายที่สุด ก็คือการรับประทานธาตุเหล็กทดแทน โดยอาจจะเป็นการแนะนำในรับประทานอาหารที่อุดมด้วยธาตุเหล็ก หรืออาจะให้รับประทานในรูปของอาหารเสริมก็ได้ ซึ่งร่างกายของคนเราสามารถใช้ประโยชน์จากเหล็กที่อยู่ในรูปของเหล็กเฟอริคและเหล็กเฟอรัส และอาหารที่เป็นแหล่งของธาตุก็มีดังต่อไปนี้           

  1. อาหารทะเลจำพวกหอยและปลาหมึกรวมถึงปลาที่มีไขมันสูง อย่างเช่น แซมมอน ปลาทูน่า ปลาแมคเคอเรลเป็นต้น 

  2. ผลไม้แห้งอย่างเช่นลูกเกด ลูกพรุน แอพปริคอทและลูกพีชอบแห้ง

  3. ธัญพืชทั้งหลายอย่างเช่น ซีเรียล ข้าวโอ๊ต จมูกข้าวสาลี

  4. เนื้อสัตว์และเครื่องในสัตว์

  5. ถั่วต่างๆ

  6. ไข่แดง

  7. พืชผักต่างๆเช่น คะน้า ตำลึง ผักโขม ผักบุ้ง บรอกโคลี หน่อไม้ฝรั่ง บีทรูท ปวยเล้ง เป็นต้น

 

ผู้จัดรายการ

ความคิดเห็นที่เกี่ยวข้อง