close
Rti Thaiดาวน์โหลด Rti App
Open
:::

สารานุกรมสุขภาพประจำวันที่ 20 พฤศจิกายน 2566

  • 20 November, 2023
สารานุกรมสุขภาพ
สารานุกรมสุขภาพประจำวันที่ 20 พฤศจิกายน 2566

“ขอเชิญร่วมตอบแบบสำรวจความคิดเห็นจากการรับฟัง Podcast ของ Rti ลุ้นรับของรางวัลพิเศษ!บนเว็บไซต์:https://2023appsurvey.rti.org.tw/th ”     

     การนอนเป็น 1 ใน 3 ปัจจัยสำคัญต่อสุขภาพ กรมอนามัยโลกแนะนำว่า ในแต่ละวันเราควรนอนหลับประมาณ 7-9 ชั่วโมงต่อวัน แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่ต้องทุกข์ทรมานจากอาการนอนไม่หลับ จากการศึกษาพบว่าภาวะดังกล่าวพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ผู้ที่มีปัญหาเจ็บป่วยไม่ว่าจะทั้งทางร่างกายหรือจิตใจ   โดยผลของการนอนไม่หลับทำให้ร่างกายเกิดความอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ จิตใจเกิดความกังวลหรือมีผลต่อการคิดการตัดสินใจตลอดจนส่งผลต่อการทำงานในช่วงเวลากลางวัน ภาวะนอนไม่หลับนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท 

ประเภทที่ 1 หลับยาก (initial insomnia) : คือภาวะที่ผู้ป่วยมีปัญหานอนหลับยาก ใช้เวลานอนนานมากกว่าจะหลับ ภาวะดังกล่าวนี้อาจสัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวล

ประเภทที่ 2 หลับไม่สนิทหรือตื่นกลางดึกบ่อยๆ (Maintinance insomnia) : คือภาวะที่ผู้ป่วยไม่สามารถนอนหลับได้ยาวมีการตื่นกลางดึกบ่อย รู้สึกคล้ายไม่ได้หลับเลยทั้งคืน เพียงแต่เคลิ้ม ๆ ไปเป็นพัก ๆ เท่านั้น ภาวะดังกล่าวอาจเกี่ยวข้องกับปัญหาทางกาย เช่นภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น

ประเภทที่ 3 ตื่นเร็วและหลับต่อไม่ได้ (terminal insomnia) :  คือภาวะที่ผู้ป่วยตื่นเร็วกว่าเวลาที่ควรจะตื่นและกลับไปหลับต่อไม่ได้ อาจพบได้ในผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้า    

ซึ่งผู้เป็นโรคนอนไม่หลับอาจจะมีอาการเพียงข้อใดข้อหนึ่ง หรือมีหลายข้อรวมกันก็ได้ 

 

     นายแพทย์เฉินเจ้าเหว่ย (陳兆煒) แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยาของโรงพยาบาล Wanfang ในกรุงไทเปเปิดเผยว่า อาการเจ็บป่วยทางร่างกายและจิตใจ หรือพฤติกรรมบางอย่างอาจส่งผลให้เกิดอาการนอนหลับหรือหลับไม่สนิทซึ่งสาเหตุที่พบบ่อยได้แก่ 

1. อาการวิตกกังวลหรือเป็นโรคซึมเศร้า

2. มีนิสัยชอบงีบหลับในเวลากลางวัน

3.ดื่มกาแฟเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน

4.ปัญาหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ หรือมีโรคอ้วน ซึ่งอาจส่งผลให้หยุดหายใจขณะหลับ

5. อาการขาอยู่ไม่สุข (Restless Legs Syndrome) ซึ่งเป็นภาวะที่มีอาการอยากขยับขาขณะตื่น  มีความรู้สึกคล้ายมีอะไรมาไต่ขา ถ้าไม่ขยับจะมีความรู้สึกไม่สะดวกสบายโรคขาอยู่ไม่สุข

6. โรคทางเดินปัสสาวะ เช่น ท่อปัสสาวะอักเสบหรือปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืนเป็นต้น

7. โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร

 

     อันที่จริงปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดอาการนอนไม่หลับมีอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการหลับยากหรือชอบตื่นกลางดึก ปัญหาเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อคุณภาพการนอนของเราทั้งสิ้น และเมื่อไหร่ก็ตามที่ปัญหาเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของเรา คุณหมอเค้าก็แนะนำว่าควรไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา อาจจะเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยาหรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับโดยเฉพาะ ซึ่งคุณหมอก็จะวินิจฉัยด้วยการสอบถามประวัติความเจ็บป่วย อุปนิสัยการนอน ปัญหาที่ทำให้เกิดความกังวลใจ ร่วมกับการตรวจร่างกายอย่างละเอียดเพื่อค้นหาสาเหตุของอาการนอนไม่หลับที่แท้จริง จากนั้นก็จะสามารถรักษาอาการนอนไม่หลับไปตามขั้นตอนได้  ทั้งนี้วิธีการรักษาของคุณหมอก็อาจขึ้นอยู่กับสาเหตุของแต่ละบุคคล หากเกิดจากพฤติกรรมการนอน แพทย์จะให้คำแนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนอนที่ถูกต้อง แต่ถ้าเกิดจากโรคทางจิตใจหรือระบบประสาท เช่น โรคซึมเศร้า โรคไบโพล่าร์ โรคประสาทตื่นตัวผิดปกติ แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาร่วมด้วย

“ขอเชิญร่วมตอบแบบสำรวจความคิดเห็นจากการรับฟัง Podcast ของ Rti ลุ้นรับของรางวัลพิเศษ!บนเว็บไซต์:https://2023appsurvey.rti.org.tw/th ”

ผู้จัดรายการ

ความคิดเห็นที่เกี่ยวข้อง