:::

ที่นี่ไต้หวัน วันอังคารที่ 15 พ.ย.2565

  • 17 November, 2022
ที่นี่ไต้หวัน
ออนซิเดียมสายพันธุ์ใหม่ “Elena -愛琳娜” ดอกสีเหลืองอ่อน สวย น่ารัก งามตา

     นิทรรศการไม้ดอกไม้ประดับไต้หวัน ประจำปี 2022  ณ อาคารแสดงสินค้าหนานกั่ง ระหว่าง 10-12 พ.ย.ที่ผ่านมา มีการจัดแสดงพันธุ์ไม้ทั้งในและต่างประเทศจำนวนกว่า 1,500 ชนิด มีทั้งไม้ประดับ ดอกไม้ รวมทั้งกล้วยไม้ที่ปรากฏโฉมเป็นครั้งแรก ซึ่งหนึ่งนี้คือกล้วยไม้ออนซิเดียมเอเลนา(愛琳娜-Elena) นั่นเอง แต่ว่ากล้วยไม้สกุลออนซิเดียมตัดดอกขายที่ได้รับความนิยมในไต้หวันปัจจุบันยังคงเป็นออนซิเดียมสายพันธุ์ฮันนี เอนเจิล( Honey Angel) ครองสัดส่วน 90% ของการเพาะปลูก เนื่องจากปลูกง่าย ให้ผลผลิตสูง นำมาปักแจกันรักษาความสดได้นาน และเป็นสายพันธุ์ที่ไต้หวันนำเข้าจากญี่ปุ่นมาปลูกตั้งแต่ปี 2006 มีข้อดีข้อเด่นกว่าสายพันธุ์โกเวอร์ แรมเซย์( gover ramsay )ที่นำเข้ามาจากไทยมาเพาะปลูก

      เฉินฟงเจ๋อ(陳豐澤) เกษตรกรปลูกออนซิเดียมที่ตำบลโฮ่วหลี่ของนครไทจงพบว่า สวนกล้วยไม้ออนซิเดียม honey angel ที่ปลูกมีการเปลี่ยนสีที่จางลง แต่ลักษณะดอกไม่คงที่ จึงทำการเพาะปลูกและบันทึกลักษณะเฉพาะของกล้วยไม้ พบว่าในรุ่นต่อไปกลับกลายเป็นสีเหลืองเข้มอีก จึงใช้วิธีเพาะเลี้ยงด้วยเนื้อเยื่อ ทำการบันทึก คัดพันธุ์รุ่นต่อไป โดยที่คุณเฉินฟงเจ๋อมอบให้ เลี่ยวปิ่งหง(廖秉鋐) ผู้จัดการโรงเรือนกล้วยไม้ปิ่งซินที่มีการร่วมมือกันทำการเพาะพันธุ์ วิจัยพัฒนา ทดลองปลูกจนปรับตัวได้ดี โดยใช้เวลานานถึง 6 ปี จึงได้สายพันธุ์ออนซิเดียมเอเลนา  

ปัจจุบันออนซิเดียม honey angel ครองสัดส่วน 90% ของการเพาะปลูก

     มีคำถามว่า ทำไมจึงตั้งชื่อกล้วยไม้ออนซิเดียมสายพันธุ์ใหม่นี้ว่า “เอเลนา” เลี่ยวปิ่งหง บอกว่า ได้ไอเดียมาจากภาพยนตร์ไต้หวันชื่อ ไอ้หลินน่า(愛琳娜) ออกเสียงในภาษาฮกเกี้ยนของไต้หวันใกล้เคียงกับคำว่า “ไอ้เหริน(愛人)ที่แปลว่าคนรัก” เพราะว่าจำง่าย ความหมายดี ซึ่งกล้วยไม้ออนซิเดียมสายพันธุ์เอเลนาให้ผลผลิตที่สูงกว่าออนซิเดียมสายพันธุ์ฮันนี เอนเจิล 3 เท่า เป็นที่ยอมรับในตลาดสูง ขณะนี้ได้ส่งไปขายที่ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และตะวันออกกลางแล้ว ช่วงกลางเดือน พ.ย.วางแผนส่งขายนิวซีแลนด์ ส่วนอนาคตวางแผนขายไปที่เนเธอร์แลนด์ด้วย

     สำหรับพื้นที่ปลูกออนซิเดียมในโรงเรือนปิ่งซินที่ตั้งอยู่ในเขตซินเซ่อ นครไถจง มีทั้งหมด 2.5 เฮกตาร์(15.6ไร่)  ปริมาณการผลิต 1,800,000 – 2,000,000 ก้านต่อปี แต่ตลาดหลักยังคงเป็นญี่ปุ่นครองสัดส่วน 50% ปัจจุบันคุณเลี่ยวปิ่งซินยังปลูกออนซิเดียมเอเลนาในโรงเรือนของตนในพื้นที่ 1 เฮกตาร์ และยังได้ถ่ายโอนสิทธิ์ให้กับเกษตรกรท่านอื่นในพื้นที่ 4 เฮกตาร์ ซึ่งถือว่าไม่มากเพราะไม่ต้องการปลูกในพื้นที่ขนาดใหญ่ ในอนาคตวางแผนควบคุมพื้นที่เพาะปลูกทั่วไต้หวันประมาณ 10-15 เฮกตาร์

ผู้จัดรายการ

ความคิดเห็นที่เกี่ยวข้อง