close
Rti Thaiดาวน์โหลด Rti App
Open
:::

มองปัจจุบัน ย้อนอดีต วันจันทร์ที่ 18 ก.ค.2565

  • 18 July, 2022
มองปัจจุบัน ย้อนอดีต
ประติมากรรมรูปหล่อเด็กชายกำลังแอ่นตัวยืนปัสสาวะที่สวนสาธารณะเมืองเจียอี้หลังได้รับการบูรณะแล้ว

       วันนี้ขอนำเรื่องราวของรูปหล่อทองแดงของเด็กชายกำลังปัสสาวะ(尿尿小童)ที่ตั้งอยู่ในสวนสาธารณะเมืองเจียอี้มาเล่าสู่กันฟัง เพราะที่ผ่านมา มีการบูรณะรูปหล่อของเด็กชายที่กำลังปัสสาวะด้วยการขูดลอกผิวนอกและปรับปรุงให้เป็นสภาพเดิมคือเป็นรูปหล่อทองแดง พร้อมๆ กับโครงการปรับปรุงทิวทัศน์ของสวนสาธารณะอย่างอื่น และจะเปิดใช้สวนสาธารณะในวันที่ 15 ก.ค.นี้ สำหรับรูปหล่อทองแดงของเด็กชายกำลังปัสสาวะนี้ มีประวัติความเป็นมากว่า 80 ปีแล้ว แต่ละยุคมีการซ่อมแซมและใช้สีต่างกัน แต่ในครั้งนี้ ทางเทศบาลเมืองเจียอี้ได้ว่าจ้างอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีหยุนหลินปรับปรุง โดยใช้เวลากว่า 1 เดือนในการขูดลอกชั้นสีที่เคยทาทิ้งไป หลังปรับปรุงให้เหมือนรูปหล่อทองแดงแล้ว นักวิชาการบอกว่า ให้ความรู้สึกเหมือนศิลปะดั้งเดิม

รูปหล่อเดิมที่ยังไม่บูรณะ

        รูปหล่อทองแดงเด็กชายกำลังปัสสาวะของสวนสาธารณะเมืองเจียอี้หล่อขึ้นในปี 1939 ยุคญี่ปุ่นปกครองไต้หวัน ปัจจุบันมีอายุ 83 ปีแล้ว สีทองแดงที่ปรากฏภายนอกในอดีตค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีสำริด สีขาว สีเขียว จางเทียนจิน(張天津)อดีตผู้อำนวยการวิทยาลัยช่างหยุนหลินบอกว่า ปี 1986 เกิดรอยร้าวของท่อส่งน้ำและผ่านการบูรณะให้อยู่ในสภาพเดิมแล้ว ส่วนอาจารย์จางจื้อเผิง(張志鵬) ผู้รับผิดชอบบูรณะในครั้งนี้บอกว่า หลังบูรณะแล้วแต่สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง มีการใช้สีเคมีที่หลุดลอกยาก ทำให้การบูรณะทำด้วยความยากลำบาก ต้องขูดลอกหลายชั้น ต้องแต่งเติมส่วนที่ขาดหาย มีการทาสีซ้ำเกือบ 10 รอบ ต้องใช้อุปกรณ์มากมายในการบูรณะ ทั้งมีดขูด มีดผ่าตัด เข็มฉีด ขูดเลาะสีออก 7-8 ชั้น รวมๆ แล้วมีน้ำหนักถึง 2 กก.เลยทีเดียว

        สำหรับที่มาของรูปปั้นรูปเด็กชายยืนเปลือยกายกำลังปัสสาวะใส่อ่าง เล่ากันว่า มีการหล่อด้วยหินแกะสลักในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ตั้งอยู่ในกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม โดยในขณะนั้นบรัสเซลส์อยู่ท่ามกลางสงคราม และถูกฝ่ายตรงข้ามนำระเบิดวางไว้กำแพงเมือง มีเด็กชายคนหนึ่งชื่อ ยูลียันสเกอ (Julianske) มาพบสายชนวนระเบิดกำลังติดไฟ จึงปัสสาวะรดเพื่อดับชนวนและป้องกันเมืองไว้ได้ ชาวเมืองจึงทำรูปแกะสลักไว้เพื่อรำลึกถึงความกล้าหาญ ต่อมารูปแกะสลักถูกขโมยและสูญหายหลายครั้ง สุดท้ายถูกแทนที่ด้วยรูปหล่อตัวปัจจุบัน ซึ่งในบางช่วงที่เทศบาลกรุงบรัสเซลส์จัดงานเฉลิมฉลอง จะมีการจัดเครื่องแต่งกายพื้นเมืองต่าง ๆ สวมให้กับรูปปั้นนี้ด้วย

        

ผู้จัดรายการ

ความคิดเห็นที่เกี่ยวข้อง