แพทย์ถอดใจ “หมดหนทางรักษา” คุณแม่วัย 60 ปี กำลังจะไปหาผู้บริจาคตับในจีน ลูกชายบริจาคตับให้ แม่รอด แม้เลือดต่างกรุ๊ป
“ตับ” เป็นอวัยวะภายในร่างกายที่ใหญ่ที่สุด มีหน้าที่สำคัญหลายอย่าง เช่น สร้างน้ำดีเพื่อช่วยย่อยอาหาร ช่วยขจัดของเสียออกจากกระแสเลือด รวมถึงช่วยผลิตโปรตีนหลายชนิดให้ร่างกาย ถ้าตับไม่ดี ชีวิตน่าเศร้า!
“ตับ” เป็นอวัยวะภายในร่างกายที่ใหญ่ที่สุด
หญิงแซ่พันวัย 66 ปี ไม่ใช่ผู้ติดเชื้อโรคตับและไม่มีนิสัยชอบสูบบุหรี่หรือดื่มเหล้า แต่กลับเป็นโรคตับ โชคดีได้รับการปลูกถ่ายตับในปี 2006 นับเป็นผู้รับ "การปลูกถ่ายตับกรุ๊ปเลือดต่างกัน" รายแรกในไต้หวัน เธอเล่าความรู้สึกเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2023 ว่า ระหว่างตรวจสุขภาพเป็นประจำพบว่าค่าตับสูง เหนื่อยง่าย ตรวจพบว่าเป็นโรคตับแข็งจากท่อน้ำดีปฐมภูมิ (primary biliary cirrhosis) แพทย์บอกเธอว่าเป็นโรคที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันและไม่มีทางรักษาได้ เนื่องจากกรุ๊ปเลือดของสมาชิกในครอบครัวแตกต่างกัน เธอจึงเดินเรื่องเตรียมเดินทางไปจีน เพื่อหาโอกาสในการปลูกถ่ายอวัยวะ อย่างไรก็ตาม ลูกชายของเธอซึ่งเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัยขณะนี้ ทนไม่ได้ที่จะให้แม่ผู้อ่อนแอข้ามน้ำข้ามทะเลไปแสวงหาโอกาสเปลี่ยนตับ จึงแสดงความจำนงที่จะลองผ่าตัดบริจาคตับให้แม่แม้หมู่เลือดต่างกัน ทีมแพทย์โรงพยาบาลฉางเกิง สาขาหลินโข่ว เป็นผู้ทำการผ่าตัดจนประสบความสำเร็จ
หลังจากที่โรงพยาบาลฉางเกิง สาขาหลินโข่ว ก่อตั้งทีมปลูกถ่ายตับในปี 2002 และในปี 2003 ภายใต้การนำของศาสตราจารย์ หลี่เวยเจิ้น(李威震)โรงพยาบาลแห่งนี้ได้บุกเบิกการปลูกถ่ายตับเดี่ยวให้กับผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ 2 คน จนถึงปัจจุบัน มีผู้ป่วยมากกว่า 1,400 รายที่ได้รับการปลูกถ่ายตับ รวมทั้งประสบความสำเร็จครั้งแรก 2 กรณีคือ "ตับเดียวปลูกถ่ายให้สองคน" และ "การเปลี่ยนตับในกรุ๊ปเลือดที่ต่างกัน" และเทคโนโลยีอื่น ๆ ได้เปิดหลักไมล์สำคัญในด้านการปลูกถ่ายตับของไต้หวัน ได้กิจกรรมการเริ่มชีวิตใหม่ที่สดใส ในเช้าวันที่ 19 สิงหาคม 2023 ที่ผ่านมา มีผู้ป่วยเกือบ 300 รายที่ได้รับการปลูกถ่ายตับที่โรงพยาบาลฉางเกิง สาขาหลินโข่ว มารวมตัวกัน
ผู้ป่วยเกือบ 300 ราย ได้รับการปลูกถ่ายตับที่ รพ.ฉางเกิง หลินโข่ว มารวมตัวกัน
หลี่เวยเจิ้น (李威震) รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลฉางเกิง สาขาหลินโข่ว เป็นบุคคลผู้ทรงอิทธิพลด้านการปลูกถ่ายตับ กล่าวว่า โรคตับเรื้อรังและโรคตับแข็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิต 10 อันดับแรกในไต้หวัน และมะเร็งตับก็เป็นสาเหตุอันดับที่ 2 ของการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งในไต้หวันด้วย อาจกล่าวได้ว่าโรคตับเป็นโรคประจำชาติของไต้หวัน แม้ว่าวิธีการรักษาจะมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว แต่ผู้ป่วยบางรายยังคงจำเป็นต้องปลูกถ่ายตับเพื่อรักษาภาวะตับวายที่เกิดจากโรคตับอักเสบเฉียบพลันอย่างมีประสิทธิภาพ หรือโรคตับแข็งหรือมะเร็งตับที่เกิดจากโรคตับอักเสบเรื้อรัง
ศ.หลี่ยังกล่าวด้วยว่า สภาพปัจจุบันในไต้หวัน ผู้บริจาคตับสามารถแบ่งออกเป็นผู้ป่วยสมองตายที่บริจาค หรือผู้บริจาคที่ยังมีชีวิตอยู่ซึ่งเป็นญาติในสายเลือด 5 ลำดับ การผ่าตัดตับค่อนข้างซับซ้อน และเป็นการผ่าตัดที่ยากที่สุด อาจใช้เวลานานถึง 10 ชั่วโมง และหากสภาพร่างกายของผู้ป่วยไม่ดี ระดับความยากก็จะเพิ่มขึ้น ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการผ่าตับจากผู้ที่ยังชีวิตจะเหลือตับไว้อย่างน้อย 35% ผู้บริจาคสามารถฟื้นตัวได้เป็น 65% ถึง 70% ภายใน 1 เดือนหลังการผ่าตัด และฟื้นตัวประมาณ 90% หรือถึง 100% หลังจาก 3 เดือน ส่วนตับของผู้รับจะงอกใหม่ได้เร็วกว่าผู้บริจาค และสามารถขยายให้มีขนาดตามที่เพียงพอได้ภายใน 1 เดือน เนื่องจากผู้ป่วยมักจะมีสุขภาพไม่ดีมาเป็นเวลานาน จึงมีปัจจัยการเจริญเติบโตในร่างกายสูง ตับจึงงอกใหม่ได้เร็วมาก
นอกจากนี้ โรงพยาบาลฉางเกิง สาขาหลินโข่ว ดำเนินการปลูกถ่ายตับเสร็จสิ้น 96 กรณีในปีที่แล้ว สำหรับปีนี้ ณ เดือนสิงหาคม ได้ดำเนินการปลูกถ่ายตับเสร็จสิ้นแล้ว 75 กรณี และคาดว่าจะทะลุ 100 กรณีภายในสิ้นปีนี้ เป็นหนึ่งในโรงพยาบาลที่มีกรณีการปลูกถ่ายตับมากที่สุดในไต้หวัน ปริมาณการปลูกถ่ายเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ผู้ป่วยบางรายต้องเลื่อนการผ่าตัด หลังโรคระบาดทุเลาลง มีการเปิดให้เข้าเยี่ยมผู้ป่วยห้อง ICU ได้ นักสังคมสงเคราะห์สามารถไปเยี่ยมและขอรับบริจาคตับได้ ส่งผลให้มีผู้บริจาคอวัยวะเพิ่มขึ้น สำหรับการปลูกถ่ายตับเดียวให้กับผู้ป่วยสองราย เพียงแค่ในช่วงสองสัปดาห์แรกของเดือนสิงหาคม ทางโรงพยาบาลได้ปลูกถ่ายตับ 10 ครั้งแล้ว มีตับของผู้บริจาค 3 ราย ถูกปลูกถ่ายไปยังผู้รับบริจาค 6 ราย ในจำนวนนี้ มีผู้บริจาครายหนึ่งอายุ 67 ปี นับเป็นการหลุดพ้นขีดจำกัดในอดีตที่กำหนดว่าผู้บริจาคอายุต้องไม่เกิน 50 ปี เนื่องจากเชื่อว่าตับผู้อายุน้อยมีความสามารถในการงอกใหม่ได้ดีกว่า
ทีมแพทย์ผ่าตัดปลูกถ่ายตับ รพ.ฉางเกิง หลินโข่ว
ผู้ป่วยแซ่โสง (熊) เป็นหนึ่งในผู้ป่วยกรณีแรก ที่ได้รับตับ แบบการปลูกถ่ายให้ 2 รายในไต้หวัน ในปีนั้น (2003) เขาป่วยเพราะทำงานเผชิญกับโลหะหนักและสภาพแวดล้อมที่เป็นมลภาวะอื่น ๆ ตับของเขาได้รับความเสียหายมาก ในวัย 39 ปี เขาป่วยเป็นโรคตับอักเสบรุนแรง และทำได้เพียงรอการปลูกถ่ายตับเท่านั้น ในขณะเข้าขั้นโคม่า โชคดีที่ได้รับการบริจาคตับ ด้วยความพยายาม 14 ชั่วโมงของทีมแพทย์และศาสตราจารย์หลี่เวยเจิ้น ทำให้เขามีโอกาสได้ชีวิตใหม่ คุณโสงบอกว่า "ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ฉันใช้ชีวิตทุกวันด้วยหัวใจที่สำนึกในบุญคุณ และหวงแหนชีวิตอันมีค่าที่ได้เกิดใหม่!" เขายังขอบคุณภรรยาที่เป็นเพื่อนให้กำลังใจ จึงได้เห็นลูกชายของเขาเติบโตขึ้นมา