1. กระทรวงแรงงานไต้หวันประกาศข้อควรปฏิบัติในการบริหารดูแลแรงงานต่างชาติ ห้ามแรงงานต่างโรงงานหรือต่างนายจ้างพักรวมปะปนในชั้นเดียวกันของหอพัก
สืบเนื่องจากเกิดการระบาดของโรคโควิดในคลัสเตอร์โรงงานอิเล็กทรอนิกส์ในเมืองเหมียวลี่ 8 แห่ง มีผู้ติดเชื้อร่วม 500 คน ในจำนวนนี้เป็นแรงงานต่างชาติ ซึ่งทั้งหมดเป็นแรงงานฟิลิปปินส์กว่า 400 คน ครองสัดส่วน 85% เพื่อป้องกันเหตุการณ์ในทำนองเดียวกันเกิดขึ้นอีก นอกจากสั่งให้ตรวจคัดกรองแรงงานกว่า 20,000 คนแล้ว นางสวี่หมิงชุน รมว. กระทรวงแรงงานได้ประกาศมาตรการการป้องกันโรคสำหรับผู้ประกอบการที่ว่าจ้างแรงงานต่างชาติ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ข้อบังคับที่นายจ้างต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด 4 ข้อ และข้อเสนอแนะให้นายจ้างควรปฏิบัติตาม 4 ข้อ หากฝ่าฝืน นายจ้างและบริษัทจัดหางานที่ได้รับมอบหมาย ต้องระวางโทษปรับ 60,000-300,000 เหรียญไต้หวัน โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 21 มิ.ย. 64 เป็นต้นไป
พ่อเมืองเถาหยวนตรวจเยี่ยมหอพักแรงงานต่างชาติในโรงงานอิเล็กทรอนิกส์
สำหรับข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติ 4 ข้อได้แก่
1. นายจ้างต้องแบ่งพื้นที่ แบ่งเวลา แบ่งผลัด เพื่อจำกัดแรงงานต่างชาติในสถานที่ทำงานและที่พัก ทำงานกะเดียวกันหรือสายงานเดียวกัน ต้องพักที่เดียวกัน
2. ห้ามแรงงานต่างชาติต่างโรงงานหรือต่างนายจ้างรวมพักปะปนกันในชั้นเดียวกันของหอพัก และพื้นที่ส่วนรวมในหอพัก ต้องแบ่งผลัดหรือแบ่งเวลาใช้ โดยแยกตามชั้นของหอพัก
3. ต้องตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย บันทึกไทม์ไลน์ ประวัติการสัมผัส และการเข้า-ออกหอพักของแรงงานต่างชาติทุกวัน และตรวจสอบดูว่ามีการรวมกลุ่มกันทำกิจกรรมหรือไม่
4. ต้องมีห้องพักสำรองสำหรับการแยกกักตัว 1 คนต่อ 1 ห้อง เพื่อรองรับแรงงานที่มีผลตรวจโควิดเป็นบวก
กองแรงงานนครเกาสงตรวจเยี่ยมหอพักแรงงานต่างชาติในโรงงาน
รมว. กระทรวงแรงงานกล่าวว่า ผู้ประกอบการใดที่ไม่สอดคล้องกับข้อบังคับทั้ง 4 ข้อข้างต้น จะให้เวลาปรับปรุง 2 สัปดาห์ เมื่อครบกำหนด ยังไม่แก้ไขปรับปรุง นายจ้างและ บจง.ที่ได้รับมอบหมาย จะถูกปรับฝ่ายละ 60,000-300,000 เหรียญไต้หวัน ในกรณีร้ายแรง จะถูกเพิกถอนใบอนุญาตว่าจ้างแรงงานต่างชาติบางส่วนหรือทั้งหมดด้วย
แรงงานฟิลิปปินส์ในโรงงานอิเล็กทรอนิกส์ที่เมืองเหมียวลี่ย้ายหอพัก
ส่วนข้อแนะนำที่นายจ้างควรดำเนินการ มี 4 ข้อดังนี้
1. ควรขยายพื้นที่ทำงาน และเว้นระยะห่างในการทำงานระหว่างพนักงาน
2. แนะนำให้ใช้พื้นที่ว่างของหอพัก ขยายพื้นที่ห้องพัก เพื่อเพิ่มพื้นที่ของแรงงานแต่ละคน ให้เว้นระยะห่างมากขึ้น
3. จัดตัวแทนช่วยเหลือแรงงานต่างชาติในการจัดซื้อข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อลดการออกนอกหอพักของแรงงานต่างชาติให้น้อยลง
4. แรงงานต่างชาติที่มีอาการไม่สบาย ต้องแยกกักตัวในห้องพัก 1 คนต่อ 1 ห้อง ก่อนเข้ารับการตรวจคัดกรองเชื้อโควิดและส่งรักษาที่โรงพยาบาล
กระทรวงแรงงานกล่าวว่า จะช่วยเหลือผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง จนกว่าจะปรับปรุงแก้ไขสถานที่ทำงานและที่พักให้สอดคล้องข้อเสนอข้างต้น
2. ไต้หวันขยายเวลาประกาศใช้มาตรการป้องกันโรคระดับ 3 ปิดประเทศถึงวันที่ 12 ก.ค. 64 หลังจากนั้น...
สถานการณ์โควิด-19 ในไต้หวันมีแนวโน้มเบาบางลง แต่หลายฝ่ายเตือนว่ายังชะล่าใจได้ นายเฉินสือจง ผอ.ศูนย์บัญชาการควบคุมโรคไต้หวันประกาศเมื่อวันที่ 23 มิ.ย. ที่ผ่านมา ขยายเวลาประกาศใช้มาตรการป้องกันโรคระดับ 3 จากเดิมที่กำหนดถึง 28 มิ.ย. ออกไปถึงวันที่ 12 ก.ค. พร้อมกันนี้กล่าวเรียกร้องว่า เนื่องจากสถานการณ์ที่บรรเทาลง ยังไม่ถึงระดับมาตรฐานของศูนย์บัญชาการควบคุมโรค หวังใช้เวลาที่ขยายออกไปอีก 2 สัปดาห์มาแลกกับความปลอดภัยของประชาชน จึงขอให้ทุกฝ่ายอดทน
แรงงานต่างชาติในโรงงานอิเล็กทรอนิกส์ที่เมืองเหมียวลี่เข่ารับการตรวจเชื้อโควิด-19
การขยายเวลาประกาศใช้มาตรการป้องกันโรคระดับ 3 ออกไปถึงวันที่ 12 ก.ค. แสดงว่า การล็อกดาวน์ประเทศและในหลากหลายกิจการ ยังคงขยายเวลาปิดบริการต่อไป รวมถึงสถานบันเทิง โรงภาพยนตร์ ห้องสมุด ฟิตเนสเป็นต้น ร้านอาหาร ยังคงห้ามลูกค้ารับประทานอาหารในร้าน ต้องซื้อกลับบ้านเท่านั้น
สำหรับชาวต่างชาติที่ประสงค์จะเดินทางเข้าไต้หวัน ยังคงต้องรอต่อไป โดยประกาศคำสั่งให้ชาวต่างชาติชะลอการเดินทางเข้าไต้หวันชั่วคราวยังคงมีผลบังคับใช้ต่อไป ชาวต่างชาติที่ไม่มีบัตรถิ่นที่อยู่ (ARC และ APRC ) รวมแรงงานต่างชาติและผู้เชี่ยวชาญชาวต่างชาติด้วย ชะลอการเดินทางเข้าไต้หวันเป็นการชั่วคราว รวมถึงชาวต่างชาติที่ต่อหรือเปลี่ยนเครื่อง ณ ท่าอากาศยานนานาชาติในไต้หวัน จนถึงวันที่ 12 ก.ค. นี้ หรือมีการประกาศต่างหาก ยกเว้นในกรณีที่เกี่ยวกับหลักมนุษยธรรม ซึ่งจะอนุญาตเป็นกรณีพิเศษเป็นรายๆ ไป
ช่วงระหว่างประกาศใช้มาตรการป้องกันโรคระดับ 3 ยังคงล็อกดาวน์ประเทศต่อไป
นับตั้งแต่ไต้หวันเกิดการระบาดโควิดรอบใหม่ เมื่อวันที่ 11 พ.ค. เป็นต้นมา มีการประกาศยกระดับมาตรการป้องกันโรคในเขตพื้นที่ไทเปและนิวไทเปเป็นระดับ 3 ตั้งแต่วันที่ 15 พ.ค. ต่อมา ในวันที่ 19 พ.ค. ยกระดับเป็นทั่วประเทศ และมีการขยายเวลาจากวันที่ 25 พ.ค. เป็น 14 มิ.ย. จากนั้นขยายเวลาถึง 28 มิ.ย. แม้สถานการณ์จะบรรเทาลงไปบ้าง และมีเสียงเรียกร้องให้ผ่อนคลายหรือปลดล็อกบางส่วน บางพื้นที่ดังระงม เพราะมาตรการป้องกันโรคระดับ 3 จำกัดค่อนข้างเข้มงวด ธุรกิจบริการ โรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหารเป็นต้น เดือดร้อนหนัก เนื่องจากห้ามรับประทานอาหารในร้าน ต้องซื้อกลับบ้านเท่านั้น อย่างไรก็ตาม เมื่อคำนึงถึงสถานการณ์ที่มีแนวโน้มดีขึ้น แต่ยังไม่ถึงระดับที่น่าพอใจ นายเฉินสือจง ผอ.ศูนย์บัญชาการควบคุมโรคไต้หวันจึงประกาศในวันที่ 23 มิ.ย. ขยายเวลาประกาศใช้มาตรการป้องกันโรคระดับ 3 จาก 28 มิ.ย. ออกไปถึงวันที่ 12 ก.ค. พร้อมได้เสริมมาตรการป้องกันอีกหลายรายการ
บรรยากาศการต้อนรับแรงงานต่างชาติที่สนามบินเถาหยวนของเจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงานเมื่อปีที่ 2563
หนึ่งในจำนวนนี้คือ เริ่มจากวันที่ 1 ก.ค.เป็นต้นมา ผู้เดินทางเข้าไต้หวันทุกคน ไม่ว่าจะเป็นชาวต่างชาติหรือชาวไต้หวันจะต้องรับการตรวจเชื้อโควิดด้วยวิธี PCR โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย 2 ครั้ง ขณะเข้าไต้หวันและก่อนสิ้นสุดการกักตัว 1 วัน และระหว่างกักตัวตรวจพาพิดเทสต์อีก 1 ครั้ง เพื่อตรวจหาและสกัดเชื้อโควิดสายพันธุ์ต่างๆ แพร่เข้าสู่ไต้หวัน โดยเฉพาะสายพันธุ์เดลตาหรือสายพันธุ์อินเดีย
ที่ผ่านมา ไต้หวันจะตรวจเชื้อโควิดในกลุ่มแรงงานต่างชาติเท่านั้น คือหลังกักตัวครบ 14 วันต้องไปรับการตรวจเชื้อโควิดด้วยวิธี PCR ฟรี โดยรัฐบาลไต้หวันออกค่าตรวจให้ ส่วนชาวต่างชาติและชาวไต้หวันที่เดินทางเข้าไต้หวัน ก่อนหน้านี้ยังไม่มีการตรวจโควิด ยกเว้นผู้มีอาการเป็นไข้ ไอและอาการไม่สบายอื่นๆ
เมื่อถึงกำหนดวันที่ 12 ก.ค. จะมีการขยายหรือลดระดับแต่คงมาตรการป้องกันโรคที่เข้มงวด ยังต้องจับตามองกันต่อไป แต่จากสถานการณ์ในขณะนี้ โอกาสลดระดับมีสูง นั่นแสดงว่า มีโอกาสจะเปิดประเทศอย่างมีเงื่อนไข...
บรรยากาศการต้อนรับแรงงานต่างชาติที่สนามบินเถาหยวนของเจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงานเมื่อปีที่ 2563
3. นักวิชาการแนะ จัดให้แรงงานต่างชาติเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ควรได้รับการฉีดวัคซีนในลำดับแรกๆ ช่วยตัดวงจรการติดเชื้อระลอกใหม่ได้
กรณีที่เกิดการระบาดของโรคโควิดคลัสเตอร์โรงงานอิเล็กทรอนิกส์ที่เมืองเหมียวลี่ เป็นเหตุให้มีผู้ติดเชื้อร่วม 500 คน จาก 8 โรงงาน ในจำนวนนี้ 85% หรือกว่า 400 คนเป็นแรงงานต่างชาติ ซึ่งทั้งหมดเป็นแรงงานฟิลิปปินส์นั้น ศจ.อู๋ต้าเริ่น ผอ.ศูนย์เศรษฐกิจไต้หวัน มหาวิทยาลัยแห่งชาติจงยัง (NCU) กล่าวว่า หากภาคการผลิตได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด จะทำให้การส่งออกที่เป็นเสาหลักค้ำจุนเศรษฐกิจของไต้หวันถึงขั้นพังครืนลง จึงเรียกร้องให้จัดแรงงานต่างชาติอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่ควรได้รับวัคซีนในลำดับต้นๆ ด้านสมาคมแรงงานสากลไต้หวันหรือที่เรียกย่อว่า TIWA กล่าวว่า นอกจากแรงงานต่างชาติในภาคการผลิตแล้ว ภาคสวัสดิการสังคม โดยเฉพาะผู้อนุบาลต่างชาติ ทั้งในครัวเรือและในศูนย์บำบัดและฟื้นฟูผู้ป่วยก็ควรได้รับการจัดอันดับกลุ่มเสี่ยงที่ควรได้รับวัคซีนในอันดับแรกๆ เช่นกัน เพื่อป้องกันผู้อนุบาลเหล่านี้ติดเชื้อและแพร่กระจาย
นักวิชาการแนะ จัดให้แรงงานต่างชาติเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ควรได้รับการฉีดวัคซีนในลำดับแรกๆ ช่วยตัดวงจรการติดเชื้อระลอกใหม่ได้
ศจ.อู๋ต้าเริ่นกล่าวว่า เถาหยวนและซินจู๋ เป็นฐานการผลิตที่สำคัญของไต้หวัน ผู้ประกอบการจำนวนมากต้องอาศัยแรงงานต่างชาติเป็นแรงงานพื้นฐาน หากสถานการณ์โควิดลุกลาม จะส่งผลต่อการผลิตและส่งออกของธุรกิจจำนวนมาก โดยเฉพาะช่วงครึ่งหลังหลังของปีนี้ สถานการณ์ในยุโรปและอเมริการคลี่คลายลง การบริโภคแบบเอาคืนคึกคักมาก เป็นผลดีต่อการส่งออกของไต้หวัน หากว่าช่วงเวลานี้ ภาคการผลิตได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด จะกลายเป็นภัยคุกคามใหญ่หลวงต่อเศรษฐกิจของไต้หวัน
นักวิชาการแนะ จัดให้แรงงานต่างชาติเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ควรได้รับการฉีดวัคซีนในลำดับแรกๆ ช่วยตัดวงจรการติดเชื้อระลอกใหม่ได้
ผอ.ศูนย์เศรษฐกิจไต้หวัน มหาวิทยาลัยแห่งชาติจงยังผู้นี้กล่าวว่า เป็นที่รู้และเข้าใจกันดีว่า ขณะนี้ วัคซีนมีจำนวนไม่เพียงพอ กลุ่มเสี่ยงที่อยู่ด่านหน้าควรได้รับวัคซีนป้องกันโควิดก่อน แต่กลุ่มเสี่ยงในลำดับรองๆ มา ปัจจุบันใช้อายุเป็นเกณฑ์ในการจัดลำดับก่อนหลังของผู้รับวัคซีน เป็นสิ่งที่ควรได้รับการทบทวน อย่างเช่น เทศบาลกรุงไทเปตัดสินใจเปลี่ยนให้คนจรจัดและพนักงานตลาดขายส่งผักผลไม้ไทเปได้รับวัคซีนก่อน ก็เพราะว่าคนเหล่านี้ เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับเชื้อ และจากประสบการณ์ในคลัสเตอร์โรงานอิเล็กทรอนิคส์ที่เมืองเหมียวลี่ ทำให้ทุกฝ่ายทราบว่า แรงงานต่างชาติเป็นกลุ่มเสี่ยงที่อาจกลายเป็นช่องโหว่ของการป้องกันโรคได้ ดังนั้นจึงควรได้รับการฉีดวัคซีนในลำดับแรกๆ พร้อมทั้งต้องเข้มงวดในการแบ่งผลัด แบ่งเวลาการทำงาน รวมทั้งลดความแออัดของหอพัก ให้แต่ละคนมีพื้นที่พักกว้างขึ้น ขณะเดียวกันควรเพิ่มความเข้มงวดในการควบคุมการเข้าออกหอพัก
แรงงานต่างชาติเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ควรได้รับการฉีดวัคซีนในลำดับแรกๆ
ไต้หวันมีนโยบายให้ทุกคนได้รับวัคซีนป้องกันโควิดฟรี แต่เนื่องจากวัคซีนที่สั่งซื้อส่งถึงช้าและมีจำนวนน้อย ยังดีที่มีสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นบริจาค แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ เลยทำให้คนทั่วไป รวมถึงแรงงานต่างชาติถูกจัดอยู่ในช่วงท้ายๆ ของกลุ่มที่จะได้รับวัคซีน ก็หวังว่า วัคซีนจะส่งถึงไต้หวันเร็วและมากขึ้น จะได้รับการฉีดวัคซีนกันถ้วนหน้า
4. มาตรการป้องกันโรคระดับ 3 ทำแรงงานไทยเป็นพันเข้าไต้หวันไม่ได้ บจง. ไต้หวันและไทยเดือดร้อน หลายบริษัทเริ่มให้พนักงานหยุดพักโดยไม่จ่ายเงินเดือน
การประกาศใช้มาตรการป้องกันโรคระดับ 3 ทั่วประเทศ ส่งผลต่อธุรกิจบริการอย่างหนัก สถานบันเทิงต้องปิดหมด ชาวต่างชาติชะลอการเดินทางเข้าสู่ไต้หวัน จากข้อมูลของกระทรวงแรงงานไต้หวัน ณ วันที่ 16 มิ.ย. 64 พบว่า ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด ให้พนักงานหยุดพักโดยไม่จ่ายเงินเดือน ซึ่งต้องรายงานให้กระทรวงแรงงานทราบ จะดำนเนินการโดยพลการไม่ได้ มีจำนวน 625 แห่ง พนักงานที่ได้รับผลกระทบ 6,382 คน เพิ่มขึ้นกว่าสัปดาห์ก่อน 158 แห่ง และพนักงานที่หยุดพักโดยไม่ได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้น 1,318 คน ส่วนใหญ่เป็นโรงแรม ภัตาคาร ร้านอาหาร บริษัททัวร์ ร้านขายส่งและขายปลีกเป็นหลัก แต่ที่น่าสนใจคือ มีบริษัทจัดหางานประมาณ 10 บริษัทอยู่ในรายชื่อบริษัทที่ให้พนักงานหยุดพักโดยไม่จ่ายค่าจ้างด้วย แต่หยุดพักในระยะสั้น คือสัปดาห์ละ 1-2 วัน
บรรยากาศการต้อนรับแรงงานต่างชาติที่สนามบินเถาหยวนของเจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงานเมื่อปีที่ 2563
นอกจากบริษัทจัดหางานไต้หวันแล้ว บริษัทจัดหางานต่างประเทศและแรงงานต่างชาติที่เตรียมตัวเดินทางก็ได้รับความเดือดร้อนเช่นกัน อย่างบริษัทจัดหางานไทยได้เฝ้าสังเกตสถานการณ์ความคืบหน้าในไต้หวันตลอดเวลา นอกจากเป็นเรื่องของธุรกิจแล้ว แรงงานไทยที่เตรียมตัวเดินทางก็เป็นแรงกดดัน สอบถามตลอดเวลาว่าจะได้เดินทางเมื่อไหร่ จากข้อมูลประมาณการของบริษัทจัดหางานไทยทราบว่า แรงงานไทยที่เตรียมตัวเดินทางเข้าไต้หวันแต่ติดการล็อกดาวน์ประเทศ เข้าไต้หวันไม่ได้ ต้อรอประกาศยกเลิกชะลอการเดินทางมีจำนวนเป็นพันคนเลยทีเดียว
บรรยากาศการต้อนรับแรงงานต่างชาติที่สนามบินเถาหยวนของเจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงานเมื่อปีที่ 2563